กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ทำไมถึงแท้งลูก

ปัจจัยเสี่ยงต่อการแท้งลูก ป้องกันก่อนสายเกินไป
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำไมถึงแท้งลูก

ว่าที่คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะวิตกกังวลถึงความปลอดภัยของเด็กทารกในครรภ์รวมถึงกลัวว่าจะเกิดการแท้ง ซึ่งบ่อยครั้งการกังวลในเรื่องเหล่านี้จะทำให้เกิดความเครียดโดยไม่จำเป็น ซึ่งอัตราการแท้งลูกจะพบเพียงร้อยละ 10 ของการตั้งครรภ์เท่านั้น ซึ่งสาเหตุของการแท้งนั้นมีมากมาย แต่ทั้งหมดนั้นเราสามารถควบคุมและป้องกันการแท้งได้ค่ะ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแท้งลูกได้แก่

  • เคยมีประวัติการใส่ห่วงอนามัยที่มีภาวะแทรกซ้อน
  • เคยแท้งลูกมาแล้วหลายครั้ง
  • มีความผิดหวัง เศร้าโศก อย่างรุนแรงจากปัญหาการงาน หรือชีวิตส่วนตัว
  • ได้รับอุบัติเหตุโดยตรงและได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง
  • ทำงานหนัก การยกของหนัก หรือการเล่นกีฬาที่ต้องใช้แรงมาก รวมถึงการอุ้มเด็กก็อาจจะส่งผลได้เช่นกัน
  • มีเพศสัมพันธ์ในช่วงตั้งครรภ์ และคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มีประวัติเคยแท้งบ่อย

อาการที่บ่งบอกว่าเกิดภาวะการแท้งลูก

  • มีอาการปวดท้องน้อย มีเลือดสดออกทางช่องคลอด ไม่ว่าเลือดจะออกมาหรือน้อยเพียงใดก้ตาม ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
  • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง หรือปวดติดต่อกันหลาวัน
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดเหมือนมีประจำเดือน หรือมีเลือดออกเล็กน้อยติดต่อกันนานเกิน 3 วัน
  • มีสิ่งขับออกทางช่องคลอดเป็นก้อนเลือด หรือชิ้นเนื้อสีชมพู แสดงว่าเริ่มมีอาการแท้งลูก ควรเก็บชิ้นส่วนนั้นแล้วรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะบางครั้งชิ้นส่วนนั้นอาจเป็นตัวอ่อนที่ถูกขับออกมาก็ได้

การดูแลและป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการแท้งลูก

  • หากมีประวัติหรือมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดการแท้งลูก ควรบอกกับคุณหมอตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์ เพื่อให้คุณหมอช่วยดูแลอย่างใกล้ชิด
  • พยายามอย่าเครียด หรือหาวิธีคลายเครียดอย่างเหมาะสม อาจจะใช้การฟังเพลง, การนวดเพื่อผ่อนคลาย รวมถึงการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากต้องเจอกับปัญหาต่างๆ ทั้งจากที่ทำงาน หรือจากที่บ้าน ควรที่จะหาเวลาพักผ่อน หรือผ่อนคลายให้มาก โดยอาจจะพักการคิดถึงปัญหาเหล่านั้นก่อน หลังจากหายเครียดแล้วค่อยมาจัดการกับปัญหาใหม่ หรืออาจจะใช้การปรึกษากับคนใกล้ชิด เพื่อขอคำแนะนำหรือคอยช่วยแก้ปัญหาก็ได้
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน เพื่อให้มีพละกำลังและได้รับสารอาหารที่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของทารก
  • หลบปัญหาเป็นครั้งคราว อย่าจมปลักอยู่กับปัญหา อาจมีการระบายความเครียดด้วยการพูดคุยกับเพื่อนหรือสามีถึงปัญหาต่างๆ ก็จะช่วยให้ระบายและลดความเครียด รวมถึงอาจจะช่วยกันแก้ไขปัญหาได้อีกด้วย
  • ไม่ควรอุ้มเด็กขณะตั้งครรภ์ เพราะนอกจากเป็นอันตายต่อเด็กในครรภ์แล้ว ยังมีผลต่อกระดูกสันหลังของคุณแม่ด้วย
  • ไปตามตารางนัดของคุณหมออย่างเคร่งครัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Elizabeth E. P., Early Pregnancy Loss (https://reference.medscape.com...), 8 June 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เมื่อไหร่จึงสามารถมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยหลังภาวะแท้งบุตร?
เมื่อไหร่จึงสามารถมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยหลังภาวะแท้งบุตร?

ต้องรอนานแค่ไหน และทำไมคุณอาจจะไม่รู้สึกอยากกอดจูบลูบคลำมากนัก?

อ่านเพิ่ม
หลังภาวะแท้งบุตร ทำไมฉันยังมีอาการเหมือนคนท้อง?
หลังภาวะแท้งบุตร ทำไมฉันยังมีอาการเหมือนคนท้อง?

หลังภาวะแท้งบุตร ร่างกายอาจใช้เวลาฟื้นคืนสภาพค่อนข้างนาน ทีเดียวจนเกือบอารมณ์เสียได้

อ่านเพิ่ม