กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

9 ข้อปฏิบัติปกป้องทารกในครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
9 ข้อปฏิบัติปกป้องทารกในครรภ์

ในปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่คงพอจะเคยได้ยินข่าวว่า คุณแม่บางท่านต้องแท้งลูก หรือเด็กทารกในครรภ์เกิดอาการผิดปกติ สาเหตุมาจากความผิดพลาดจากข้อมูลของคุณแม่เองที่ไม่บอกกับคุณหมอตอนฝากครรภ์ หรือบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากความผิดพลาดของคุณหมอผู้ดูแลการตั้งครรภ์เอง วันนี้เรามี 9 ข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดความผิดพลาดระหว่างตั้งครรภ์มาฝากค่ะ

  1. บอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดของตัวเราให้สูตินารีแพทย์ทราบข้อเท็จจริง เช่น ประวัติการทำแท้ง การใช้สิ่งเสพติด การแพ้ยา โรคประจำตัว ฯลฯ เป็นต้น เพื่อให้แพทย์ได้วินิจฉัยย่างถูกต้อง และป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กทารกในครรภ์ได้
  2. ควรหาข้อมูลการตรวจครรภ์ การดูแลครรภ์ต่างๆ ด้วยตนเองบ้าง หากแพทย์เสนอให้ตรวจอะไรพิเศษจะได้มีข้อมูลพิจารณาว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำบ้าง อาจจะถามความเห็นจากคนที่เคยตรวจมาแล้วหรือบุคลากรทางการแพทย์คนอื่นๆ ก่อน
  3. ในการตรวจหรือทดสอบต่างๆ ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่าเคร่งครัด เพื่อป้องกันความผิดพลาด
  4. ต้องไปพบสูติแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตามคำแนะนำต่างๆ สม่ำเสมอ เช่น การคุมน้ำหนัก การพักผ่อน หรือการกินวิตามินเสริม
  5. ไม่ใช้ยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยด้วยตนเองโดยไม่ปรึษาแพทย์ที่ดูแลครรภ์ เนื่องจากยาบางชนิดมีผลต่อเด็กทารกในครรภ์ ดังนั้นหากป่วยจะต้องพบแพทย์ทุกครั้ง และต้องแจ้งว่ากำลังตั้งครรภ์หากครรภ์อ่อนๆ จนยังเห็นไม่ชัดเจน
  6. แจ้งให้แพทย์ที่ดูแลครรภ์ทราบทันทีที่เกิดอาการผิดปกติแม้ว่าจะเป็นเพียงอาการเล็กน้อย
  7. ดูแลสุขภาพของตนเองโดยการปฏิบัติตามคู่มือ หรือคำแนะนำของแพทย์
  8. ถ้าสงสัยว่าแพทย์ทำอะไรผิดพลาด ควรรีบถามเพื่อตรวจสอบ เพราะบางครั้งแพทย์อาจลืมอ่านรายละเอียดในแฟ้มประวัติของเรา
  9. ควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสูติแพทย์ที่ดูแลเรา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสะดวกในการดูแล หากเกิดสัมพันธภาพที่ไม่ดี ควรเปลี่ยนแพทยืใหม่แต่เนิ่นๆ ค่ะ

เพียงเท่านี้คุณแม่ก็สามารถลดความเสี่ยงที่อาจะเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ได้แล้วค่ะ ฝากไว้นะค่ะว่า ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นนั้นจะมาจากตัวคุณแม่เองและจากแพทย์ผู้ดูแลระหว่าตั้งครรภ์ ดังนั้นหากเรามีข้อมูลและดูแลตัวเองได้ดี โอกาสการเกิดความผิดพลาก็น้อยลงแล้วค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
9 Tips to Help Kids Overcome Their Fear of Doctors. Parents. (https://www.parents.com/health/doctors/kids-overcome-fear-doctors/)
9 Things to Make Shots Less Stressful for You and Your Baby. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/vaccines/parents/visit/less-stressful.html)
Good Posture: 9 Tips to Straighten Up. WebMD. (https://www.webmd.com/osteoporosis/ss/slideshow-posture-tips)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม