กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

6 ข้อปฏิบัติเมื่อเริ่มตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 ข้อปฏิบัติเมื่อเริ่มตั้งครรภ์

สำหรับใครที่กำลังตั้งครรภ์โดยเฉพาะเป็นลูกคนแรก คุณแม่มือใหม่มักจะทำอะไรไม่ถูก ไม่รู้ว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้ หรือควรทำตัวอย่างไรบ้างเพื่อให้ลูกน้อยของคุณเกิดมาสมบูรณ์และแข็งแรงที่สุด เช่นออกกำลังกายได้มั้ย มีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ทำงานแล้วจะแท้งลูกมั้ย วันนี้เรามีวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องมาให้ค่ะ

1. หมั่นออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์

การออกกำลังกายเบาๆ และสม่ำเสมอ อาจจะเดินหรือวิ่งเหยาะๆ ขณะที่ครรภ์ยังเล็กๆ อยู่จะช่วยให้กล้ามเนื้อขาและหน้าท้องแข็งแรง แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ท้องเริ่มใหญ่ขึ้น ควรเปลี่ยนมาออกกำลังกายในน้ำแทนค่ะ เพราะว่าน้ำจะช่วยพยุงท้องขณะว่ายน้ำและยังช่วยให้ปอดใหญ่ขึ้น กล้ามเนื้อขาและหน้าท้องแข็งแรงทำให้คลอดได้ง่ายขึ้นอีกด้วยค่ะ แต่ในการออกกำลังกายในน้ำ ควรจะมีผู้ช่วยที่มีความรู้ด้านนี้โดยเฉพาะคอยดูแลตลอดเวลานะคะ และออกกำลังกายแค่พอเหนื่อยอย่าหักโหมเกินไป นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมว่า หากมีการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์จะช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านมอีกด้วยค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. ฝึกกล้ามเนื้อช่วงอุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมตัวเบ่งคลอด

ควรฝึก 2-3 เดือนก่อนคลอดนะคะ คุณแม่สามารถฝึกได้ง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

  • ท่าที่ 1
    ให้นั่งลงช้าๆ จากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนท่าเป็นท่านั่งคลาน โดยให้หัวเข่าและฝ่ามือทั้ง 2 ขัางยันพื้นไว้ (ท่าจะเหมือนเด็กที่กำลังจะคลานค่ะ) ให้หายใจออกช้าๆ แล้วเคลื่อนก้นและอุ้งเชิงกรานมาข้างหน้าอย่างช้าๆ พร้อมกับบังคับให้กล้ามเนื้อท้องบริเวณกระเพาะหดลง หลังของคุณจะโค้งนูนขึ้น (ท่าจะคล้ายๆ กับแมวที่กำลังขู่ หลังจะโก้งโค้งสูงขึ้นมาค่ะ) ค้างอยู่ในท่านี้ 10 วินาที แล้วคลายท่า ทำซ้ำ 10 ครั้ง ควรฝึกทำวันละ 2 ครั้ง จะช่วยให้มีแรงเบ่งคลอดได้ดีค่ะ
  • ท่าที่ 2
    ฝึกขมิบกล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอดค่ะ คล้ายกับการอั้นปัสสาวะ ทำครั้งละ 5-10 ครั้ง โดยทำวันละ 3 เวลาค่ะ
  • ท่าที่ 3
    ฝึกนั่งยองๆ เมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้น มักจะมีอาการปวดท้อง ไม่แนะนำให้นวดหรือแอ่นหลัง แต่ควรฝึกนั่งยองๆ โดยที่หลังตรงตลอดเวลา มือควรจับที่ราวหรือเกาะยึดให้มั่นคง ลุกนั่งให้ช้าๆ ค่ะ เมื่อนั่งยองๆ ลงมา พยายามอย่าให้หัวเข่าทั้งสองข้างเลยปลายเท่าของเรา ควรค้างไว้ประมาณ 10 วินาทีแล้วจึงค่อยๆ ยืนขึ้นช้าๆ ค่ะ ท่านี้จะช่วยลดอาการปวดหลังได้ค่ะ

3. ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้มากๆ

ในระยะครรภ์อ่อนๆ มีอาการแพ้ท้อง ควรหลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนผสมของเหล็กเพราะจะไปรบกวนกระเพาะอาหาร ควรทานกรดโฟลิกและวิตามินบี 1 บี 5 และ บี 12 เมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้นควรทานยาบำรุงที่มีเหล็กและแคลเซียมเพิ่มขึ้นค่ะ สำหรับการทานยาบำรุงต่างๆ ขอให้ปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอนะค่ะ

4. การร่วมเพศขณะตั้งครรภ์

หากมีประวัติแท้งลูกได้ง่ายในการตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกควรงดการร่วมเพศโดยเด็ดขาด เพราะจะกระทบกระเทือนต่อมดลูกทำให้แท้งได้ และช่วงอายุครรภ์ 7-8 เดือน ควรระมัดระวังการร่วมเพศอีกครั้งหนึ่งเพื่อไม่ให้คลอดก่อนกำหนด ส่วนเดือนสุดท้าย มักไม่ค่อยจะมีปัญหาอะไรค่ะ ท่าที่ใช้ในการร่วมเพศควรเป็นท่าที่ไม่กระทบกระเทือนต่อท้อง หรือต้องเกร็งหลังมาก ท่าที่แนะนำคือให้ใช้การนอนตะแคงข้างเท่านั้นค่ะ เพราะว่าจะไม่กระทบกับท้องเลย

5. ควรระวังไม่ให้ติดเชื้อเริมระหว่างตั้งครรภ์

โรคเริมเกิดจากเชื้อไวรัส Herpes Simplex หากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่เกิดติดเชื้อไวรัสเริมที่ช่องคลอด ลูกอาจมีโอกาสได้รับเชื้อระหว่างคลอดได้และจะเป็นอันตรายถึงชีวิตลูก ซึ่งหากคุณแม่ติดเชื้อเริมหมอจะให้คลอดด้วยการผ่าตัดแทนการคลอดเองค่ะ

6. ควบคุมการขับถ่ายให้เป็นประจำ

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป มักจะมีอาการท้องผูก ดังนั้นควรทานผักผลไม้มากๆ เพื่อช่วยให้ถ่ายได้ง่าย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
50 Tips for a Healthy Pregnancy. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/tips-for-a-healthy-pregnancy-2753102)
7 Tips to Eating Healthy During Pregnancy. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=155877)
Planning your pregnancy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/planning-pregnancy/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม