กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

5 วิธีลดปัญหาไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำในระหว่างตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 5 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
5 วิธีลดปัญหาไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำในระหว่างตั้งครรภ์

ไทรอยด์เป็นต่อมที่ทำหน้าที่หลายอย่างในร่างกายทั้งตอนที่ร่างกายอยู่ในภาวะปกติและในระหว่างตั้งครรภ์ ด้วยความที่ไทรอยด์เป็นต่อมที่สำคัญมาก ดังนั้นคุณควรรู้ว่ามีปัญหาใดที่สามารถเกิดขึ้นได้บ้าง และหนึ่งในปัญหาที่เราจะพูดถึงวันนี้ก็คือ ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ทั้งนี้ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำเป็นภาวะที่ทำให้เกิดปัญหา และสามารถทำให้การตั้งครรภ์มีความเสี่ยง โดยไปเปลี่ยนแปลงพัฒนาการของทารกและการคลอดลูก อย่างไรก็ตาม การรักษาโดยการทานยาอาจไม่ได้เป็นทางออกเดียวเสมอไป มีหลายกลยุทธ์ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำในระหว่างตั้งครรภ์ มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1.ทานไอโอดีนจากธรรมชาติ

ไอโอดีนเป็นสารประกอบหลักในต่อมไทรอยด์ ดังนั้นมันจึงมีส่วนในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ทั้งนี้การทานอาหารที่มีเกลือเสริมไอโอดีนจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารดังกล่าว และบรรเทาปัญหาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม คุณสามารถรับสารไอโอดีนจากธรรมชาติโดยทานสัตว์น้ำเปลือกแข็งหรืออาหารทะเลชนิดอื่นๆ ที่มีไอโอดีนสูง ซึ่งร่างกายของผู้หญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องได้รับไอโอดีนมากกว่าคนทั่วไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2.หลีกเลี่ยงการทานผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วเหลือง

อาหารที่มีถั่วเหลืองมีสารประกอบที่เรียกว่า Goitrogen ซึ่งสามารถส่งผลต่อระดับของไทรอยด์ในร่างกายโดยตรง และมันจะยิ่งมีผลกับผู้หญิงที่เผชิญกับภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำที่กำลังตั้งครรภ์ อาหารที่มีถั่วเหลืองจะป้องกันการกระตุ้นไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งสามารถทำให้ฮอร์โมนเสียสมดุล และกระตุ้นให้เกิดโรคคอพอก ดังนั้นคนท้องที่มีภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำควรหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนี้

3.ทานอาหารให้สมดุล

การทานอาหารให้สมดุลถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยลดผลกระทบด้านลบที่เกิดจากภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำในช่วงตั้งครรภ์ อาหารที่คุณทานควรมีสารอาหารที่จำเป็นต่อแม่และตัวอ่อนอย่างครบถ้วน อย่างไรก็ดี การทานอาหารออร์แกนิกจะทำให้อาการของภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำมีความรุนแรงน้อยลงในเวลาไม่นาน

4.ทานน้ำมันที่มาจากธรรมชาติ

น้ำมันหอมระเหยมีความสำคัญพอๆ กับน้ำมันจากธรรมชาติและกรดไขมัน นอกจากดีต่อสุขภาพของตัวอ่อนแล้ว มันก็ยังช่วยควบคุมไทรอยด์ ซึ่งน้ำมันธรรมชาติและกรดไขมันจะช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ปริมาณมาก อีกทั้งยังช่วยปรับปรุงการทำงานของต่อมไทรอยด์ และช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ดี คุณสามารถพบกรดไขมันและน้ำมันจากธรรมชาติในถั่ววอลนัท เมล็ดแฟล็กซ์ อะโวคาโด ฯลฯ

5.เพิ่มการทานโปรตีน

โปรตีนประกอบไปด้วยสารอาหารที่ช่วยให้การลำเลียงไทรอยด์ฮอร์โมนดีขึ้น การทานอาหารที่มีโปรตีนอย่างเพียงพอจะช่วยให้ไทรอยด์ฮอร์โมนทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม คุณสามารถได้รับโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพที่สุดในถั่วทุกชนิด ผักใบเขียว และเนื้อ ซึ่งโปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อทั้งแม่และเด็กในท้อง

เมื่อฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่เริ่มกลับมาเป็นปกติ ปัญหาที่เกิดจากไทรอยด์จะเริ่มบรรเทาลง ซึ่งทำให้คุณรู้สึกสงบในระหว่างตั้งครรภ์มากขึ้น และทำให้ความเครียดที่เกิดจากภาวะดังกล่าวบรรเทาลง

ที่มา: https://steptohealth.com/5-tips-to-reduce-hypothyroidism...


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How does an underactive thyroid affect conceiving and pregnancy?. BabyCenter Australia. (https://www.babycenter.com.au/x552788/how-does-an-underactive-thyroid-affect-conceiving-and-pregnancy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม