โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ชื่อผู้สนับสนุน
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

4 ความผิดปกติยอดฮิตที่ผู้หญิงทุกคนยากจะเลี่ยง

ผู้หญิงหลายคนมักเข้าใจว่า ตรวจสุขภาพประจำปีโปรแกรมพื้นฐานคงเพียงพอ แต่รู้ไหมว่า มีบางโรคที่ค่อนข้างรุนแรงและจำเป็นต้องตรวจเฉพาะทาง HD.co.th รวม 4 โรคและภาวะที่ผู้หญิงมักเผชิญมาให้แล้ว
เผยแพร่ครั้งแรก 14 ธ.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 14 ธ.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
4 ความผิดปกติยอดฮิตที่ผู้หญิงทุกคนยากจะเลี่ยง

เพราะร่างกายของผู้หญิงมีความซับซ้อน หากดูแลไม่เหมาะสมก็มีโอกาสเกิดความผิดปกติหรือเจ็บป่วยได้ง่าย โดยส่วนมากความผิดปกติที่เกิดขึ้น มักไม่ส่งผลกระทบเพียงระบบเดียวเท่านั้น แต่ยังลุกลามไปยังระบบการทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย และบางครั้งยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ภายนอกจนทำให้เสียความมั่นใจได้

ทั้งนี้โรคที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงส่วนใหญ่มักเป็นโรคเฉพาะทางที่การตรวจสุขภาพพื้นฐานโดยทั่วไปอาจไม่เพียงพอ จึงต้องมีการตรวจที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น แต่จะมีโรคหรือภาวะใดบ้าง HD.co.th รวม 4 โรคยิดฮิตที่มักเกิดกับผู้หญิงมาให้แล้ว

4 โรคยอดฮิตที่ผู้หญิงทุกคนล้วนเสี่ยง

โรคและภาวะที่ผู้หญิงแทบทุกคนมักต้องเผชิญ จนต้องมีการตรวจแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อหาความเสี่ยงกัน ได้แก่

1. โรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer) เป็นโรคมะเร็งอันดับหนึ่งที่พรากชีวิตผู้หญิงทั่วโลกไปมากมาย และยังมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี โดยอาการแรกเริ่มที่มักตรวจพบในผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่

  • มีก้อนอยู่ในเนื้อเต้านมหรือข้างเต้านมบริเวณใต้แขน
  • มีอาการปวดเจ็บข้างในเต้านม
  • เต้านมมีผื่นแดงหรือรู้สึกแสบร้อน
  • หัวนมมีน้ำเหลืองไหลออกมาหรือเกิดแผล

ทั้งนี้ผู้หญิงทุกคนล้วนมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะผู้ที่มีญาติใกล้ชิดทางสายเลือดเป็นโรคมะเร็งเต้านมมาก่อน จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นประมาณ 2-5 เท่า ดังนั้นผู้หญิงทุกคนจึงควรเข้ารับการตรวจมะเร็งเต้านมเป็นประจำ โดยมีวิธีการตรวจหลายรูปแบบ ดังนี้

  • การตรวจภาพถ่ายรังสีวิทยาหรือการทำแมมโมแกรม (Mammogram)
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
  • การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่หรือการอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
  • การเจาะชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)
  • การตรวจเลือด

2. โรคมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับ 3 ของโรคมะเร็งในผู้หญิง โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกก็คือ เชื้อ HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ผู้ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือไม่รักษาสุขอนามัยบริเวณช่องคลอด จัดเป็นกลุ่มผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกค่อนข้างสูง นอกจากนี้ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ หรืออยู่ในช่วงอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป ก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน

ทั้งนี้ผู้หญิงทุกคนควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุ 21 ปีขึ้นไป หรือหากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่อไร ในอีก 3 ปีถัดไป ก็ควรเริ่มตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกครั้งแรก และตรวจอย่างต่อเนื่องปีละ 1 ครั้ง

วิธีตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบ่งออกได้ 2 วิธีหลักๆ ได้แก่

  1. การตรวจตินแพร็พ (ThinPrep) เป็นการใช้วัตถุหรือแปรงขนอ่อนขนาดเล็กสอดเข้าไปเก็บเซลล์จากปากมดลูก แล้วนำไปใส่ในขวดที่บรรจุน้ำยารักษาสภาพเซลล์เอาไว้ จากนั้นนำส่งทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจวิเคราะห์เซลล์ต่อไป
  2. การตรวจแปปเสมียร์ (Pap Smear) เป็นการใช้เครื่องมือสอดเข้าไปในช่องปากมดลูก เพื่อป้ายเก็บเซลล์แล้วนำไปส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

3. อาการปวดประจำเดือน

ผู้หญิงส่วนใหญ่มักคิดว่าอาการปวดประจำเดือนเป็นอาการปกติที่ไม่อันตราย แต่จริงๆ แล้ว สามารถสะท้อนสัญญาณความผิดปกติได้หลายอย่าง เช่น ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ภาวะปากมดลูกตีบ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือเนื้องอกที่มดลูก เป็นต้น

ทั้งนี้หลักเกณฑ์ที่บ่งบอกว่า อาการปวดท้องประจำเดือนเป็นอาการที่ปวดผิดปกติ ได้แก่

  • ปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน แต่กินยาแก้ปวดไปแล้วก็ไม่หาย
  • อาการปวดรุนแรงขึ้นทุกเดือน
  • มีไข้สูงพร้อมกับปวดท้องระหว่างมีประจำเดือนด้วย
  • ปวดท้องและมีเลือดประจำเดือนไหลออกมามากกว่าปกติ
  • ประจำเดือนหมดรอบไปแล้ว แต่อาการปวดท้องยังคงอยู่
  • มีตกขาวหรืออาการคันช่องคลอดร่วมด้วย

4. ภาวะหมดประจำเดือน

วัยหมดประจำเดือน (Menopause) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า “วัยทอง” เป็นช่วงวัยที่ส่งผลกระทบกับร่างกายค่อนข้างมากเพราะระดับฮอร์โมนและการทำงานของระบบสืบพันธุ์ลดลง จนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทั้งทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และภาพลักษณ์ เช่น

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หรือซึมเศร้าง่าย
  • มีอาการร้อนวูบวายข้างในร่างกาย
  • อ่อนเพลียง่าย ไม่สดชื่น ไม่มีแรง หากออกกำลังกายก็ต้องใช้เวลาพักนาน
  • สุขภาพผิวเริ่มอ่อนแอ ทำให้ผิวหยาบกร้านง่าย มีริ้วรอย หย่อนยาน ไม่กระชับ
  • เกิดฝ้า กระ หรือบางรายอาจเป็นสิวง่ายขึ้น
  • มีปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึก หรือนอนหลับยาก
  • น้ำหนักตัวไม่คงที่ โดยอาจน้ำหนักตัวลดหรือเพิ่มง่ายกว่าปกติ
  • ช่องคลอดแห้ง มีอารมณ์ความรู้สึกทางเพศน้อยลง

นอกจากนี้วัยหมดประจำเดือนยังอาจทำให้เกิดโรคร้ายอื่นๆ ตามมา เช่น โรคกระดูกพรุน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ดังนั้นหากเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อจะได้รู้แนวทางการดูแลสุขภาพและรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม

ตรวจสุขภาพหาความเสี่ยงด้วยโปรแกรมตรวจสตรี ที่ โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์

เพราะร่างกายของผู้หญิง ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ หลายโรงพยาบาลจึงมีบริการตรวจสุขภาพผู้หญิงแบบเฉพาะเจาะจง รวมไปถึงที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ก็มีโปรแกรมตรวจสตรี ที่ออกแบบเพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ เพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยง ติดตามโรคและภาวะผิดปกติต่างๆ ได้ทันเวลา โปรแกรมที่น่าสนใจ ได้แก่

นอกจากนี้โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ยังตระหนักถึงปริมาณผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในผู้ดูแล ป้องกัน พร้อมออกแบบแนวทางการรักษา เพื่อให้ผู้หญิงทุกคนที่กำลังเผชิญกับโรคร้ายชนิดนี้ได้พบกับทางเลือกในการรักษาที่แม่นยำ และเห็นผล ผ่านโปรแกรมตรวจสุขภาพเต้านม ซึ่งได้แก่

หากคุณเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยง หรือกังวลกับปัญหาสุขภาพ ควรเข้ารับบริการตรวจสุขภาพสตรีกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เพื่อรับการดูแลและป้องกันจากแพทย์เฉพาะทางด้านสุขภาพของสตรี หรือหากตรวจพบความผิดปกติใดๆ ก็จะได้วางแผนการรักษาที่เหมาะสมและทันเวลา

เพราะสุขภาพที่ดีคือปัจจัยขับเคลื่อนพลังบวกและความรู้สึกมั่นใจของผู้หญิงทุกคน คุณจึงไม่ควรมองข้ามทุกสัญญาณความผิดปกติ หรือรอจนกว่าจะมีอาการใดๆ เกิดขึ้นก่อน แล้วจึงค่อยมาตรวจสุขภาพในภายหลัง จึงควรตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ผ่านบริการโปรแกรมตรวจสุขภาพสตรีจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, ทะเบียนมะเร็ง 2563 (https://www.nci.go.th/e_book/hosbased_2563/index.html), 10 ธันวาคม 2564.
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, ปวดท้องประจำเดือน อาจเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คุณคิด (https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/july-2019/dysmenorrhea#Causes), 10 ธันวาคม 2564.
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, การตรวจแปบเสมียร์ (https://www.bumrungrad.com/th/treatments/pap-smear), 10 ธันวาคม 2564.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)