กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การตั้งครรภ์เกิดขึ้นเมื่อไหร่?

การศึกษาพบว่ามีวันที่ปลอดภัยเพียงไม่กี่วันในรอบเดือน
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การตั้งครรภ์เกิดขึ้นเมื่อไหร่?

นักวิจัยจากสถาบัน National Institute of Environmental Health Sciences ได้พบว่า มีผู้หญิงเพียง 30% เท่านั้นที่มีช่วงมีพร้อมมีบุตรอยู่ระหว่างวันที่ 10-17 ของรอบเดือน การค้นพบนี้จึงเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับคำถามที่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจหลายคนสงสัยมาตลอด

นักวิจัยพบว่า ช่วงเวลาที่สามารถมีบุตรได้นั้นเกิดขึ้นเกือบทุกวันในรอบเดือน ผู้หญิงส่วนมากในการศึกษามีอายุระหว่าง 25-35 ปี ซึ่งมักเป็นช่วงที่มีประจำเดือนสม่ำเสมอแล้ว ช่วงเวลาที่ร่างกายพร้อมสำหรับการปฏิสนธินั้นไม่สามารถคาดการณ์ได้มากขึ้นในกลุ่มเด็กวัยรุ่นและผู้หญิงที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ข้อมูลทางสถิติ

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร British Medical Journal ซึ่งทำการวิจัยในผู้หญิง 213 คนระหว่าง 700 รอบเดือนพบว่า ในผู้หญิงทุกคนแม้ว่าจะมีประจำเดือนมาสม่ำเสมอก็พบว่าช่วงเวลาที่สามารถพร้อมปฏิสนธินั้นอาจไม่สามารถคาดการณ์ได้ ผู้หญิงที่ใช้การนับรอบเดือนในการคุมกำเนิดอาจพบว่าทำได้ยากขึ้น เพราะข้อมูลจากงานวิจัยได้ระบุว่ามีเพียงไม่กี่วันเท่านั้นในรอบเดือนที่ผู้หญิงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ซึ่งรวมถึงช่วงที่คาดว่าจะมีประจำเดือน

นักวิจัยยังระบุว่า ในคู่แต่งงานที่แข็งแรงปกติที่ต้องการตั้งครรภ์นั้น ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงช่วงเวลาที่ร่างกายพร้อมต่อการปฏิสนธิ แต่สามารถใช้การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเพื่อพยายามมีบุตรได้

นักวิจัยยังแสดงว่า มีผู้หญิงประมาณ 2% ที่เข้าสู่ช่วงพร้อมต่อการปฏิสนธิตั้งแต่ช่วงวันที่ 4 ของรอบเดือน และอีก 17% ที่เริ่มในวันที่ 7 มีผู้หญิงมากกว่า 70% ที่พร้อมต่อการปฏิสนธิก่อนวันที่ 10 หรือหลังจากวันที่ 17 ของรอบเดือน และในผู้หญิงที่คิดว่าตนเองมีประจำเดือนสม่ำเสมนั้นก็พบว่ามีโอกาสที่จะปฏิสนธิได้ในวันที่เริ่มมีประจำเดือนถึง 1-6%

จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้มีวันที่ปลอดภัยในการคุมกำเนิดโดยการนับวันน้อยมาก แน่นอนว่าการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่พร้อมต่อการปฏิสนธิก็ไม่ได้รับประกันว่าคุณจะตั้งครรภ์ ยังมีปัจจัยอื่น เช่น สเปิร์มและไข่ ความพร้อมของมดลูก และปัจจัยส่วนบุคคลระหว่างคู่ที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้ แต่หากคุณมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอและไม่ต้องการมีบุตร ผลจากงานวิจัยนี้อาจแสดงให้คุณเห็นว่า ควรพิจารณาการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น

อ่านเพิ่มเติม : ฉันควรเลือกใช้การคุมกำเนิดวิธีไหนแทน?

  • การคุมกำเนิด : มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกว่าวิธีคุมกำเนิดแบบไหนที่เหมาะกับคุณ เช่น สุขภาพทั่วไป อายุ ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ จำนวนคู่นอน และความต้องการมีบุตรในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการตัดสินใจเลือกวิธีการคุมกำเนิด
  • ความเชื่อเกี่ยวกับการคุมกำเนิดและการมีเพศสัมพันธ์ : มีความเชื่อและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเมื่อไหร่ที่คุณจะสามารถตั้งครรภ์ได้ อะไรคือสิ่งที่ทำให้ไม่ตั้งครรภ์และอื่นๆ
  • 10 อย่างที่ควรหยุดทำหากต้องการให้คุมกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ : หากคุณมีเพศสัมพันธ์ คุณก็ยังคงมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ได้ตลอดเวลา ไม่มีการคุมกำเนิดวิธีใดที่ป้องกันได้ทั้งหมด แต่มีบางอย่างที่คุณสามารถทำให้เพื่อลดโอกาสในการตั้งครรภ์

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nhs.uk, Your pregnancy and baby guide (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/) 4 October 2019
Holly Ernst, What Do You Want to Know About Pregnancy? (https://www.healthline.com/health/pregnancy) 27 February 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)