วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์

โซดาไฟคืออะไร? ประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน และข้อควรระวังในการใช้

รวมข้อมูลของสารโซดาไฟ ประโยชน์ วิธีใช้อย่างปลอดภัย อุตสาหกรรมที่นิยมใช้ และข้อควรระวัง
เผยแพร่ครั้งแรก 8 ม.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 11 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
โซดาไฟคืออะไร? ประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน และข้อควรระวังในการใช้

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โซดาไฟมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "สารโซเดียมไฮดรอกไซด์" เป็นสารตั้งต้นของสารประกอบที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น สารแอมโมเนีย สารฟีนอล สารโพลีคาร์บอเนต
  • ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่ต้องใช้โซดาไฟเป็นส่วนประกอบในการผลิต ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตสบู่ ผงซักฟอก อุตสาหกรรมผลิตสิ่งทอ อุตสาหกรรมผลิตอะลูมิเนียม อุตสาหกรรมผลิตกระดาษ
  • โซดาไฟมีฤทธิ์อันตรายรุนแรงมากต่อร่างกาย เมื่อสัมผัสเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เช่น หายใจไม่ออก คลื่นไส้อาเจียนอย่างหนัก ตาบอด และอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งผิวหนังในภายหลังได้ด้วย
  • ผู้ที่ทำงานอยู่กับสารโซดาไฟจะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันตนเองให้พร้อม ทั้งแว่นครอบตา ผ้าปิดจมูก ถุงมือยาง ถุงเท้า ชุดป้องกันสารเคมี 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งทั่วไป

หลายคนคงรู้จักสารที่ชื่อว่า “โซดาไฟ” กันมาบ้าง แต่อาจไม่รู้ถึงลักษณะ ประโยชน์ และอันตรายของสารชนิดนี้ รวมถึงไม่รู้ว่า รูปร่าง ลักษณะของโซดาไฟเป็นอย่างไร เรามาดูพร้อมๆ กันว่า โซดาไฟคืออะไร เป็นประโยชน์ และมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง

ความหมายของโซดาไฟ

โซดาไฟ หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) มีสูตรทางเคมีคือ NaOH เป็นสารประกอบทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณสมบัติเป็นเบสแก่ มีฤทธิ์กัดกร่อน ดูดความชื้น และละลายน้ำได้ดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โซดาไฟจะแบ่งชนิดออกตามลักษณะของสาร โดยสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่

  • โซดาไฟชนิดสารละลาย จะมีความเข้มข้นของสารอยู่ที่ประมาณ 32% หรือ 50%
  • โซดาไฟชนิดแข็ง อาจเป็นรูปแบบผง เม็ด หรือเกล็ด มีความเข้มข้นของสารอยู่ที่ประมาณ 50-98%

ขั้นตอนการผลิตโซดาไฟ 

กระบวนการผลิตโซดาไฟอธิบายโดยง่ายๆ คือ นำเกลือโซเดียมคลอไรด์ไปละลายน้ำให้มีความเข้มข้นสูงประมาณ 300 กรัมต่อลิตร แล้วนำไปตกตะกอน หรือกรอง และแลกเปลี่ยนไออนจนน้ำเกลือมีความบริสุทธิ์สูง

จากนั้นนำน้ำเกลือบริสุทธิ์ไปใส่เครื่องแยกน้ำเกลือด้วยไฟฟ้ากระแสตรง จนทำให้เกิดการแตกตัวกลายเป็นก๊าซคลอรีน และโซเดียมไอออน ซึ่งสารโซเดียมไออนเมื่อไปผสมกับสารน้ำในเซลล์ ก็จะกลายเป็นสารโซดาไฟออกมานั่นเอง

นอกจากนี้วิธีการผลิตโซดาไฟยังผลิตได้จากปูนขาว ผ่านการละลายสารโซดาในปูนขาวในอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดสารโซดาไฟ รวมถึงสารแคลเซียมคาร์บอเนตออกมา

โซดาไฟเป็นสารตั้งต้นที่สามารถนำไปผลิตเป็นสารประกอบอื่นๆ ได้อีก

ตัวอย่างสารประกอบที่ต้องใช้โซดาไฟเป็นสารตั้งต้น

  • สารแอมโมเนีย (Ammonia)
  • สารฟีนอล (Phenol)
  • สารเอทิลีนเอมีน (Ethylene amines)
  • สารกลีเซอรีน (Glycerine)
  • สารโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonates)
  • กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid)
  • โซเดียมฟอสเฟต (Sodium phosphates)

อุตสาหกรรมที่ต้องใช้โซดาไฟเป็นส่วนประกอบในการผลิต

โซดาไฟมีประโยชน์ในการใช้เป็นสารประกอบของอุตสาหกรรมหลายประเภท ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • อุตสาหกรรมผลิตสบู่
  • อุตสาหกรรมผลิตผงซักฟอก
  • อุตสาหกรรมสิ่งทอ หรือผลิตเส้นใยสังเคราะห์ เช่น ผ้าไนลอน ผ้าโพลีเอสเตอร์
  • อุตสาหกรรมผลิตอะลูมิเนียม
  • อุตสาหกรรมผลิตกระดาษ
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น น้ำยาทำความสะอาดตู้อบ น้ำยาทำความสะอาดท่อ น้ำยาทำความสะอาดบรรจุภัณฑ์ น้ำยาขัดโลหะ

ข้อควรระวังในการใช้สารโซดาไฟ

ผู้ที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมที่ต้องใช้สารโซดาไฟ จะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันตนเองให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัสสารนี้ซึ่งมีความร้ายแรงสูง เช่น

  • แว่นครอบตากันสารเคมี
  • ผ้าปิดจมูก หรืออุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจแบบมีไส้กรอง
  • ถุงมือยาง
  • ถุงเท้า
  • ชุดป้องกันสารเคมี

โรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้สารโซดาไฟควรอยู่ในพื้นที่ที่โล่ง มีอากาศถ่ายเท และไม่ปิดทึบ เพื่อลดความเสี่ยงในการสูดเอาละอองสารโซดาไฟเข้าร่างกาย รวมทั้งเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้ขอความช่วยเหลือ รับการปฐมพยาบาลได้ทันเวลา

สารโซดาไฟยังควรเก็บอยู่ในภาชนะที่มิดชิด แห้ง อุณหภูมิไม่สูง อากาศถ่ายเท และต้องอยู่ห่างจากมือเด็ก อีกทั้งเมื่อต้องเปิดภาชนะใช้สาร ภายในภาชนะอาจมีแรงดันเกิดขึ้นจึงต้องระมัดระวังให้ดีก่อนเปิดด้วย

ผู้ที่ต้องใช้สารโซดาไฟในการผสมสารต่างๆ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของโซดาไฟ เวลาจะทิ้งสารโซดาไฟ ไม่ควรทิ้งรวมกับขยะทั่วไป แต่ควรทิ้งแยกใส่ถุงพลาสติกที่ปิดรัดมิดชิด ใช้เทปพันปิดถุงอีกชั้น พร้อมติดป้ายว่า “สารเคมีปนเปื้อน” และอย่าเททิ้งลงพื้นดิน หรือแหล่งน้ำโดยตรงเด็ดขาด

หากเป็นโซดาไฟที่เป็นสารละลาย หรือเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของเหลว ให้เทลงอ่างน้ำได้ แต่ให้เปิดน้ำตามในปริมาณมากๆ เพื่อให้สารเจือจางลงมากที่สุด

นอกจากนี้โซดาไฟเมื่อไปสัมผัสกับโลหะอย่างสังกะสี ดีบุก หรืออะลูมิเนียม ก็จะเกิดก๊าซไฮโดรเจนซึ่งเป็นสารไวไฟ ทำให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ได้หากไม่ระมัดระวัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ที่ทำงานอยู่กับสารโซดาไฟจึงต้องปฏิบัติงานอย่างรอบคอบ มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้สารโซดาไฟอย่างละเอียด ไม่หยอกล้อกันระหว่างทำงาน ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ที่ใช้สารโซดาไฟ และมีการติดตั้งอุปกรณ์ดับไฟไว้ในสถานที่ปฏิบัติงานด้วย

นอกจากนี้ผู้ที่ทำงานอยู่สารโซดาไฟยังควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ เช่น ตรวจตา ตรวจปอด หรือตรวจสุขภาพองค์รวม เพื่อให้แน่ใจว่า ร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ดี สามารถทำงานได้เป็นปกติ 

ผลกระทบในการใช้สารโซดาไฟ

โดยผลกระทบของสารโซดาไฟที่มีต่อร่างกายจะมีดังต่อไปนี้

  • ระบบทางเดินหายใจ ทำให้ระคายเคืองทางเดินหายใจ เยื่อบุจมูก ทำให้หายใจไม่สะดวก หรือหายใจถี่ และเสี่ยงเกิดการอักเสบที่เยื่อบุระบบทางเดินหายใจ รวมถึงปอด
  • ระบบทางเดินอาหาร สารจะเข้าไปกัดกร่อนเนื้อเยื่อทางเดินอาหาร ทำให้มีแผลในช่องปาก รวมถึงหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างหนัก ท้องเสีย ท้องร่วง ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • ดวงตา และการมองเห็น เกิดความระคายเคืองที่เยื่อบุตา เป็นแผลพุพอง ตาแดง ทำให้เป็นโรคต้อหิน หรือตาบอดในภายหลังได้
  • ผิวหนัง รู้สึกเจ็บแสบผิวหนัง เกิดแผลพุพอง ผิวหนังแห้งแตกเป็นสะเก็ด หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังตาย หรือเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ในภายหลัง

วิธีปฐมพยาบาลเพื่อสัมผัสสารโซดาไฟ

เมื่อร่างกายสัมผัสโซดาไฟจนเกิดผลข้างเคียง ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารโซดาไฟออก และให้ล้างผิวหนังที่สัมผัสถูกโซดาไฟด้วยน้ำสะอาดทันทีอย่างน้อย 15 นาที จากนั้นให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาล

  • หากสารปนเปื้อนสัมผัสที่ดวงตา ให้ล้างน้ำด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลืออย่างน้อย 30 นาที หากผู้สัมผัสสารใส่คอนแทคเลนส์ ให้รีบถอดออกทันที แต่หากแสบตามาก และการถอดอาจทำให้กระจกตาได้รับบาดเจ็บจึงอย่าถอดคอนแทคเลนส์ด้วยตนเอง แต่ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

  • พาผู้ที่สัมผัสสารโซดาไฟออกไปที่ที่อากาศถ่ายเทได้ และบริสุทธิ์ หากไม่สามารถหายใจได้ด้วยตนเอง ให้รีบใส่หน้ากาก หรือท่อออกซิเจน หรือหากไม่มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ให้รีบนำตัวผู้ที่สัมผัสสารส่งโรงพยาบาลเพื่อให้ได้รับออกซิเจนเพียงพอทันที

  • อย่าเพิ่งให้ผู้ที่สัมผัสสารโซดาไฟรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ท้องเสีย ยาแก้อาเจียน จนกว่าจะได้รับการประเมิน และวินิจฉัยจากแพทย์

  • หากกลืนกินโซดาไฟเข้าไป อย่าทำให้อาเจียน แต่ให้ดื่มน้ำเปล่าประมาณ 100-300 มิลลิลิตรแทน แล้วรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

  • หากผู้ที่สัมผัสสารมีอาการตัวเย็นผิดปกติ (Hypothermia) ให้หาผ้าห่ม หรือเสื้อผ้าตัวใหม่ที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นมาสวมใส่ให้

หากลองปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วผู้ที่สัมผัสโซดาไฟมีอาการดีขึ้น ก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจ แต่ให้รีบนำตัวผู้ที่สัมผัสสารโซดาไฟไปส่งโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์วินิจฉัย รักษา และล้างพิษออกจากร่างกายโดยทันที

โดยแพทย์อาจมีการเอกซเรย์ปอด ทดสอบสมรรถภาพของปอด รวมถึงสมรรถภาพการมองเห็น การบาดเจ็บ หรือระคายเคืองของเนื้อเยื่อ และอวัยวะภายในที่สัมผัสสารโซดาไฟว่า มีความเสีหาย หรือได้รับบาดเจ็บใดๆ หรือไม่ 

ราคาของสารโซดาไฟ

ราคาของสารโซดาไฟจะขึ้นอยู่กับปริมาณที่ขาย ประเภทของสารโซดาไฟ และเพราะสารนี้มักถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ปริมาณการขายจึงมีตั้งแต่ไม่ถึง 1 กิโลกรัมไปจนถึง 6,000 กิโลกรัมขึ้นไปเลยทีเดียว โดยราคาจะอยู่ที่ประมาณ 200- 250,000 บาท

ส่วนโซดาไฟที่อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือนจะมีราคาแตกต่างกันไปตามผลิตภัณฑ์ เช่น ผงซักฟอกมีราคาตั้งแต่ 10-200 บาท (ราคาตามน้ำปริมาณ) ผลล้างท่ออุดตันมีราคาตั้งแต่ 20-150 บาท (ราคาตามน้ำปริมาณ)

สารโซดาไฟจัดเป็นสารอันตรายที่ผู้ใช้จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับสารนี้ และเข้าใจวิธีระมัดระวังไม่ให้โซดาไฟทำอันตรายกับร่างกายได้ แม้จะเป็นสารโซดาไฟที่นำมาใช้ในครัวเรือนก็ตาม เช่น ผงล้างท่ออุดตัน

คุณสามารถระมัดระวังไม่ให้สารโซดาไฟทำอันตรายกับตัวคุณได้ ผ่านการอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ของใช้เสียก่อนว่า มีสารโซดาไฟเป็นส่วนประกอบหรือไม่ 

หากมีโซดาไฟเป้นส่วนประกอบก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ทำตามคำแนะนำ และข้อควรระวังที่ระบุไว้บนฉลาก เพื่อจะได้ใช้โซดาไฟให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน และไม่ทำอันตรายต่อสุขภาพ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Canadian Centre for Occupational Health and Safety, Sodium Hydroxide (https://www.ccohs.ca/oshanswers/chemicals/chem_profiles/sodium_hydroxide.html), 4 January 2020.
Agency for Toxic Substances & Disease Registry, Medical Management Guidelines for Sodium Hydroxide (NaOH) (https://www.atsdr.cdc.gov/MMG/MMG.asp?id=246&tid=45), 4 January 2020.
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย, กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กลุ่มบริษัท Catemag, คณะกรรมการดูแลด้วยความรับผิดชอบ, หลักการและมาตรการความปลอดภัย โซเดียมไฮดรอกไซด์ (http://reg3.diw.go.th/safety/wp-content/uploads/2019/11/Sodium%20hydroxide.pdf), 4 มกราคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)