วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์

สารกันบูดคืออะไร ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

สารกันบูดมีกี่ประเภท มีโทษต่อสุขภาพอย่างไร มักอยู่ในอาหารประเภทใด
เผยแพร่ครั้งแรก 15 ม.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 15 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
สารกันบูดคืออะไร ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สารกันบูด หรือวัตถุกันเสีย มีคุณสมบัติช่วยถนอมอาหาร ชะลอการเน่าเสีย ยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์ หรือเชื้อราได้ 
  • อาหารที่นิยมใส่สารกันบูด จะได้แก่ น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ขนมปัง เบเกอรี เครื่องแกง ซอสปรุงรส อาหารกระป๋อง อาหารแช่อิ่ม เนื้อสัตว์ ผักดอง แยมผลไม้ เส้นก๋วยเตี๋ยว ไส้กรอก แฮม กุนเชียง
  • อาการหลักๆ เมื่อรับประทานอาหารที่มีสารกันบูดเข้าไปสะสมมากๆ จะได้แก่ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระเป็นเลือด ท้องร่วง ความดันโลหิตต่ำลง และอาจลุกลามกลายเป็นโรคมะเร็งปอด มะเร็งตับ หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • วิธีเลือกรับประทานอาหารที่มีสารกันบูด ให้เลือกซื้ออาหารที่มีฉลากบนห่อ หรือผลิตภัณฑ์เขียนว่า "ไม่ใช้วัตถุกันเสีย" และหลีกเลี่ยงอาหารที่มักใส่สารกันบูดอย่างอาหารกระป๋อง อาหารหมักดอง แหนม หมูยอ ไส้กรอก
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งทั่วไป

เมื่อพูดถึงสารกันบูด หลายคนคงรู้จักมันในฐานะสารอันตรายที่ไม่ควรรับประทาน ถึงแม้สารกันบูดจะมีข้อดีในการช่วยยืดอายุของอาหารให้เก็บไว้ได้นานมากขึ้นก็ตาม

เรามาดูกันว่า สารกันบูดคืออะไร อยู่ในอาหารชนิดใดบ้าง เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วมันส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของสารกันบูด

สารกันบูด (Preservatives) หรือเรียกอีกชื่อว่า “วัตถุกันเสีย” เป็นสารช่วยถนอมอาหาร ชะลอการเน่าเสียโดยป้องกันการเติบโตของเชื้อรา หรือยีสต์ และยืดอายุของอาหารให้เก็บได้นานยิ่งขึ้น เช่น

  • น้ำผลไม้ หากไม่ใส่สารกันบูด และแช่ตู้เย็นไว้ก็จะอยู่ได้ประมาณ 3-5 วัน แต่หากใส่สารกันบูดก็จะเก็บไว้ได้นานถึงประมาณ 1-2 สัปดาห์
  • เนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก กุนเชียง เบคอน ปูอัด หากไม่ใส่สารกันบูด เพียงเก็บไว้ 1-2 คืน อาหารก็จะเสีย เริ่มมีรสชาติเปรี้ยว แต่หากใส่สารกันบูด และเก็บไว้ในตู้เย็น ก็สามารถเก็บไว้ได้นานขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์

อาหารที่มักใส่สารกันบูดเพื่อยืดอายุอาหารให้เก็บรักษาไว้ได้นาน ได้แก่

  • น้ำผลไม้
  • น้ำอัดลม
  • เส้นก๋วยเตี๋ยว
  • ผลไม้แช่อิ่ม
  • อาหารกระป๋อง
  • ขนมปัง
  • เบเกอรี
  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
  • เครื่องแกง
  • ซอสปรุงรส
  • น้ำสลัด
  • ผลิตภัณฑ์แยมผลไม้ ผลิตภัณฑ์เนยถั่ว เยลลี่
  • ผักดอง
  • เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น แฮม เบคอน ไส้กรอก ลูกชิ้น ปูอัด กุนเชียง

ประเภทของสารกันบูด

สารกันบูดสามารถแจกแจงออกได้ 4 ประเภทใหญ่ๆ ตามประกาศของกองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งได้แก่

1. สารกันบูดประเภทกรดอ่อน และเกลือของกรดอ่อน (Acid and its salts)

จัดเป็นประเภทของสารกันบูดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะละลายน้ำได้ดี ไม่ทำให้รสชาติอาหารเปลี่ยนไป ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อรา หรือยีสต์ได้ดี และเป็นพิษต่อร่างกายน้อยที่สุด

สารเคมีที่จัดเป็นสารกันบูดประเภทกรดอ่อน ได้แก่

  • กรดเบนโซอิก (Benzene carboxylic acid) มีสูตรทางเคมี คือ C6H5COOH
  • กรดซอร์บิก (Sorbic acid) มีสูตรทางเคมี คือ C6H8O2
  • กรดโพรพิโอนิก (Propionic acid) มีสูตรทางเคมี คือ C3H6O2
  • กรดอะซิติก (Acetic acid) มีสูตรทางเคมี คือ CH3COOH

ส่วนสารเคมีที่จัดเป็นสารกันบูดประเภทเกลือของกรดอ่อน ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • โซเดียมซอร์เบต (Sodium sorbate) มีสูตรทางเคมี คือ C6H7NaO2
  • โพแทสเซียมซอร์เบต (Potasium sorbate) มีสูตรทางเคมี คือ C6H7KO2
  • โซเดียมเบนโซเอต (Sodium benzoate) มีสูตรทางเคมี คือ NaC7H5O2
  • โพแทสเซียมเบนโซเอต (Potassium benzoate) มีสูตรทางเคมี คือ C7H5KO2
  • โซเดียมอะซิเตท (Sodium Acetate) มีสูตรทางเคมี คือ CH3COONa

ประเภทของอาหารที่ได้รับอนุญาตให้ใส่สารกันบูดประเภทกรดอ่อน และเกลือกรดอ่อน ได้แก่

  • เครื่องดื่มประเภทน้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำอัดลม
  • อาหารรสหวาน เช่น ไอศกรีม โยเกิร์ตปรุงแต่งรส พุดดิ้ง
  • อาหารประเภทขนมปัง เบเกอรี
  • เครื่องแกง
  • เครื่องปรุงรสสำเร็จรูป
  • ผลิตภัณฑ์แยม ผลิตภัณฑ์เนยถั่ว ผลไม้กวน
  • ผักผลไม้ดอง

เพราะสารกันบูดประเภทนี้ได้รับความนิยมในการใส่ลงไปในอาหารที่หลากหลาย โดยเฉพาะกรดเบนโซอิก ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดให้ผู้ประกอบการใส่สารกันบูดชนิดกรดเบนโซอิกในอาหารแต่ละประเภทได้ไม่เท่ากัน ดังนี้

  • อาหารประเภทแยม เยลลี่ ผลไม้กวน ผักผลไม้ดอง ใส่ได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
  • อาหารประเภทขนมหวานที่ทำจากนม เช่น ไอศกรีม โยเกิร์ต ใส่ได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
  • อาหารประเภทเส้นก๋วยเตี๋ยว ใส่ได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม เช่น น้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ใส่ได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

ถึงแม้สารกันบูดประเภทกรดอ่อน และเกลือกรดอ่อนจะเป็นพิษต่อร่างกายน้อย และโดยปกติสารกันบูดประเภทนี้ก็จะขับออกมาจากร่างกายในรูปของปัสสาวะ แต่หากรับประทานมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ทำให้ตับกับไตทำงานหนัก จนพิการ หรือไตวายได้

2. สารกันบูดประเภทสารไนเตรท และสารไนไตรท์ (Nitrate and Nitrite)

หรืออีกชื่อที่คุ้นหูกว่าก็คือ “ดินประสิว” หรือชื่อทางเคมี คือ “สารโพแทสเซียมไนเตรท (Potassium nitrate) สูตรทางเคมี คือ KNO3 เป็นอีกสารกันบูดที่ได้รับความนิยมในอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูป ไม่ว่าจะเป็นเบคอน กุนเชียง แฮม ไส้กรอก ปลารมควัน อาหารกระป๋อง

นอกจากนี้สารกันบูดประเภทไนเตรทยังสามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติด้วย ผ่านอาหารที่มีสารเอมีน (Amines) เช่น ปลาหมึก หอย เมื่อนำไปปิ้งย่าง สารเอมีนในอาหารชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนในอากาศ และทำให้เกิดสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) ซึ่งเป็นสารกันบูดอีกชนิดนั่นเอง

ด้วยประเภทของอาหารที่มีดินประสิวเจือปนอยู่มักเป็นที่นิยมในคนไทย และยังเป็นอาหารที่เรามักรับประทานอยู่เรื่อยๆ ในชีวิตประจำวัน จึงมีความเสี่ยงที่ร่างกายอาจได้รับสารกันบูดชนิดนี้เข้าไปมากเกินขนาด จนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้

โดยทางกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้อาหาร หรือผลิตภัณฑ์เนื้อหมักสามารถใช้สารกันบูดประเภทสารไนเตรทได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัมอาหาร ส่วนสารไนไตรท์กำหนดให้ใช้ได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัมอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผลกระทบของร่างกายเมื่อรับประทานสารกันบูดประเภทสารไนเตท และสารไนไตรท์มากเกินไป จะมีอาการแสดงต่อไปนี้

  • ปวดศีรษะ
  • มีอาการเซื่องซึม
  • อ่อนเพลีย ง่วงนอนง่าย
  • กล้ามเนื้อหดเกร็ง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องร่วง
  • อุจจาระเป็นเลือด

นอกจากอาการเจ็บป่วยที่กล่าวไปข้างต้น การสะสมของสารกันบูดประเภทนี้อยู่ในร่างกายเป็นปริมาณมาก จะเพิ่มความเสี่ยงทำให้เป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งตับ หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

หากคุณเป็นผู้ที่ชื่นชอบการรับประทานอาหารที่มักมีส่วนผสมของสารกันบูด เมื่อได้ทราบผลข้างเคียงจากสารอันตรายเหล่านี้แล้ว ก็อย่าลืมรีบหาเวลาไปตรวจสุขภาพ ตรวจตับ หรือตรวจไต ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งกันด้วย 

เพราะเป็นไปได้ว่า สารกันบูดที่รับประทานไปก่อนหน้านี้อาจเข้าไปสะสมจนเริ่มสร้างความเสียหายให้กับอวัยวะหลายส่วนแล้ว

3. สารกันบูดประเภทสารซัลไฟต์ และสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfites and sulfur dioxide)

เรียกได้อีกชื่อว่า “กรดกำมะถัน” มีสูตรทางเคมี คือ SO2 เป็นสารกันบูดที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ยีสต์ และแบคทีเรีย

สารเคมีที่อยู่ในกลุ่มสารกันบูดประเภทนี้ จะได้แก่

  • โซเดียมซัลไฟต์ (Sodium sulfite) มีสูตรทางเคมี คือ Na2SO3
  • โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ (Sodium metabisulfite) มีสูตรทางเคมี คือ Na2S2O5
  • แคลเซียมไบซัลไฟต์ (Calcium bisulfite) มีสูตรทางเคมี คือ CaH2O6S2

สารกันบูดประเภทซัลไฟต์ และสารซัลเฟอร์ไดออกไซต์นิยมใช้ในอาหารประเภทหมักดอง และอาหารกระป๋อง เช่น

  • ผลไม้ดอง
  • ผลไม้แช่อิ่ม
  • ผลไม้กวน
  • ผลไม้แห้ง
  • น้ำเชื่อม
  • อาหารแช่แข็ง
  • เส้นก๋วยเตี๋ยว

การรับประทานอาหารที่มีสารกันบูดประเภทซัลไฟต์มากเกินไป ก็ย่อมส่งผลเสียต่อร่างกายไม่ต่างจากสารกันบูดอีก 2 ประเภทที่ได้กล่าวไปข้างต้น โดยอาการหลักๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อรับประทานอาหารที่มีสารกันบูดมากเกินไป ได้แก่

  • วิงเวียนศีษะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • หายใจไม่สะดวก
  • ความดันโลหิตต่ำลง
  • ปวดท้อง
  • ท้องเสีย ท้องร่วง

ความรุนแรงของสารกันบูดประเภทซัลไฟต์นั้นร้ายแรงมากถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ก่อนรับประทานอาหารทุกชนิด คุณจึงควรตรวจสอบฉลากอาหารให้แน่ใจเสียก่อนว่า มีสารกันบูดชนิดนี้หรือไม่ หากมี ก็ไม่ควรรับประทานอาหารดังกล่าวบ่อยๆ หรือทางที่ดี ก็ควรหลีกเลี่ยงไม่รับประทานเลยจะดีที่สุด

4. สารกันบูดประเภทพาราเบน

เป็นอีกชนิดของสารกันบูดที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักนัก โดยมีฤทธิ์ช่วยกำจัดแบคทีเรียในอาหารได้ดี ลดโอกาสการเกิดเชื้อราในอาหารด้วย โดยสารเคมีที่อยู่ในประเภทสารกันบูดพาราเบน ได้แก่

  • สารโพรพิลพาราเบน (Propylparaben) มีสูตรทางเคมี คือ C10H12O3
  • สารเมทิลพาราเบน (Methylparaben) มีสูตรทางเคมี คือ C8H8O3

สารกันบูดประเภทพาราเบนมักใช้ในอาหารรสหวานอย่างแยม เยลลี่ เครื่องดื่มรสหวาน น้ำผลไม้

การรับประทานอาหารที่มีสารกันบูดประเภทพาราเบนมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยไม่ต่างจากสารกันบูดประเภทอื่นนัก นั่นคือ คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ปวดท้อง และท้องเสีย

วิธีรับประทานอาหารที่มีสารกันบูดอย่างปลอดภัย

เพราะอาหารหลายชนิดรอบตัวเรามีสารกันบูดเป็นส่วนประกอบ ทำให้หลายครั้งก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ได้ แต่คุณสามารถทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารกันบูดเข้าไปน้อยที่สุด

  • ปรุงอาหารรับประทานเอง โดยใช้วัตถุดิบที่สด สะอาด มาจากแหล่งธรรมชาติ หรือซื้อจากแหล่งที่ไม่มีการเติมสารเคมี หรือสารกันบูดลงไป
  • ก่อนซื้ออาหารทุกชนิด ให้อ่านฉลากเพื่อดูปริมาณ และชนิดของสารกันบูดเสียก่อน ทางที่ดีให้เลือกซื้ออาหารที่มีฉลากเขียนไว้ว่า “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย”
  • หากจำเป็นต้องซื้ออาหารที่มีฉลากเขียนว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” ก็ควรรับประทานให้น้อยที่สุด
  • เลือกผลิตภัณฑ์อาหารมีเครื่องหมายขององค์การอาหาร และยากำกับอยู่ด้วย เช่น อาหารกระป๋อง
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่เสี่ยงมีสารกันบูดมากเป็นพิเศษ เช่น ไส้กรอก แฮม กุนเชียง หมูยอ แหนม อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง

อาหารที่มีสารกันบูดอาจให้รสชาติอร่อย หรือทำให้คุณสามารถกักเก็บอาหารได้นานขึ้น แต่ก็แลกมาด้วยผลกระทบด้านสุขภาพที่ไม่คุ้มค่ากัน 

ทางที่ดีคุณควรรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยวัตถุดิบที่ปรุงสด ใหม่ หรือที่มีวางจำหน่ายตามฤดูกาล ยิ่งหากไร้สารเคมีได้ยิ่งดี เพื่อผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว และยังทำให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์มากกว่าด้วย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, คำถาม : ทำไมในอาหารจึงต้องมีการใส่สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (http://lib1.dss.go.th/newbsti3/index.php/en/single-article/118-inhouse-databases/q-a/1886-2020-01-21-07-30-37), 5 มกราคม 2564.
สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, อาหารแถมสารกันบูด...กินอย่างไรให้ปลอดภัย (https://km.mhesi.go.th/content/อาหารแถมสารกันบูดกินอย่างไรให้ปลอดภัย), 5 มกราคม 2564.
เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, เว็บไซต์สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, มหาวิทยาลัยมหิดล, มารู้จักอันตรายในสารกันบูดกันเถอะ (https://www.arda.or.th/ebook/file/16food.pdf), 5 มกราคม 2564.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)