วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์

แผลคีลอยด์ เกิดได้อย่างไร รักษาได้กี่วิธี

แผลคีลอยด์ ตำแหน่งไหนที่มักเป็น คีลอยด์ที่หู ที่ตา รักษาอย่างไร ทำไมถึงเป็นแผลคีลอยด์ มาดูคำตอบกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ธ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
แผลคีลอยด์ เกิดได้อย่างไร รักษาได้กี่วิธี

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แผลคีลอยด์เป็นแผลที่เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อซ่อมแซมบาดแผลบริเวณดังกล่าว แต่กลับมีการสร้างตัวใหญ่เกินไป ทำให้กลายเป็นก้อนเนื้อนูนใหญ่
  • บริเวณที่ง่ายต่อการเกิดแผลคีลอยด์โดยหลักๆ คือ ใบหน้า ติ่งหู กระดูกอ่อนรอบใบหู แก้ม หัวไหล่ หน้าอก
  • วิธีรักษาคีลอยด์แบ่งออกได้หลายวิธี เช่น การใช้แผ่นซิลิโคนแปะเพื่อรักษาคีลอยด์ การใช้ความเย็นพ่น การฉีดยาสเตียรอยด์ การผ่าตัด
  • คีลอยด์เป็นแผลที่ส่งต่อกันได้ทางพันธุกรรม ผู้ที่มีพ่อแม่ ผู้ใกล้ชิดทางสายเลือดเป็นคีลอยด์จึงมีความเสี่ยงเป็นแผลคีลอยด์ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจจี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์

นอกจากรอยแผลเป็นทั่วไปที่หลายคนเคยมี แผลอีกชนิดที่ลดความมั่นใจในภาพลักษณ์ และยังมีขนาดใหญ่ และนูนกลายเป็นก้อนสะดุดสายตาผู้อื่นก็คือ แผลคีลอยด์

โดยนอกจากแผลคีลอยด์นี้จะขยายขนาดได้แล้ว หากไม่รับการรักษาอย่างถูกวิธี แผลชนิดนี้ก็อาจติดอยู่กับตัวคุณไปตลอด และยากที่จะปกปิดจนส่งผลต่อความมั่นใจ เพราะด้วยขนาด และลักษณะแผลที่นูนใหญ่ออกมา โดยเฉพาะบริเวณที่เห็นได้ชัดอย่างตา และหู

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
จี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 192 บาท ลดสูงสุด 81%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เรามาดูพร้อมกันว่า คีลอยด์คืออะไร แล้วต้องรับการรักษาอย่างไร

ความหมายของแผลคีลอยด์

แผลคีลอยด์ (Keloids) คือ แผลที่เกิดจากความผิดปกติเนื้อเยื่อของร่างกายที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อซ่อมแซมบาดแผลที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นสมานให้กลับมาเป็นเนื้อเดียวกัน เพียงแต่เนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวอาจสร้างตัวในขนาดที่ใหญ่เกินไป ไม่พอดีกับขนาดแผล จึงกลายเป็นก้อนเนื้อนูนใหญ่ออกมา

ลักษณะทั่วไปของแผลคีลอยด์คือ จะเป็นก้อนเนื้อสีชมพู สามารถขยายขนาดใหญ่ขึ้นได้ภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน รอบๆ แผลมักเป็นขอบสีชมพูเข้ม หรือสีแดง

ผู้ที่มีแผลคีลอยด์บางรายอาจมีอาการคันระคายเคืองบริเวณแผลด้วย

แผลคีลอยด์สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย แต่บริเวณที่พบแผลคีลอยด์ได้บ่อยๆ จะได้แก่

  • ใบหน้า
  • ติ่งหู
  • กระดูกอ่อนรอบใบหู
  • แก้ม
  • หัวไหล่
  • ไหปลาร้า
  • หน้าอก
  • แผ่นหลัง

นอกจากนี้ยังเกิดได้กับบริเวณตาด้วย แผลเป็นคีลอยด์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลา ไม่ได้หมายความว่า เมื่อเกิดแผลขึ้นแล้ว ผ่านไป 1-2 เดือนก็จะเกิดแผลคีลอยด์ทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
จี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 192 บาท ลดสูงสุด 81%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่แผลคีลอยด์สามารถเกิดได้ถึงแม้แผลเป็นบริเวณนั้นจะมีระยะเวลานานหลายปีแล้ว หากร่างกายยังคงสร้างเนื้อเยื่อบริเวณนั้นอยู่เรื่อยๆ

สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลคีลอยด์

สาเหตุหลักๆ ที่มักทำให้เกิดแผลคีลอยด์ จะได้แก่

  • การเป็นสิว
  • เป็นแผลจากการถูกไฟไหม้
  • แผลจากโรคอีสุกอีใส
  • การเจาะหูและเจาะจมูก
  • แผลเป็นถลอก
  • แผลสด
  • แผลผ่าตัด

แผลคีลอยด์เป็นลักษณะที่ส่งต่อกันได้ทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่มักทำให้เกิดแผลคีลอยด์ได้ ดังนั้นผู้ที่มีประวัติพ่อแม่เป็นแผลคีลอยด์มาก่อน ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลคีลอยด์ได้ง่ายด้วย

นอกจากนี้ผู้ที่มีเชื้อชาติเอเชีย และลาติน ผู้หญิงที่กำลังอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ซึ่งร่างกายการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ผู้ที่อายุน้อยกว่า 30 ปีซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายมีระบบการซ่อมแซมตนเองสมบูรณ์ที่สุด จะมีโอกาสเป็นแผลคีลอยด์ได้ง่ายกว่า

ตำแหน่งที่พบแผลคีลอยด์ได้บ่อยที่สุด

จากตำแหน่งของร่างกายที่ง่ายต่อการเกิดแผลคีลอยด์ซึ่งกล่าวไปข้างต้น ตำแหน่งที่พบได้บ่อยมากที่สุด ก็ไม่พ้นติ่งหูและกระดูกอ่อนรอบหู โดยมักมีสาเหตุมาจากการเจาะหูนั่นเอง

สำหรับสาเหตุว่า ทำไมบริเวณติ่งหู และกระดูกอ่อนรอบใบหูถึงง่ายต่อการเกิดคีลอยด์ ยังไม่มีผลการวิจัย หรือการศึกษาออกมาให้คำตอบที่ชัดเจนได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
จี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 192 บาท ลดสูงสุด 81%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่มีความเป็นไปได้ว่า อาจเกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อหูซึ่งทำปฏิกิริยากับโลหะของต่างหูที่ใส่หลังเจาะ วัสดุที่ใช้เจาะหู หรือวิธีการเจาะหู และตอบสนองออกมาในรูปแบบของแผลคีลอยด์

ดวงตาก็เป็นบริเวณที่เกิดคีลอยด์ได้บ่อยเช่นเดียวกัน โดยมักมาสาเหตุมาจากการทำศัลยกรรมกรีดตา 2 ชั้น แต่แผลที่เย็บนั้นกลับมีเนื้อเยื่อโตขึ้นจนนูนเป็นแผลคีลอยด์ขึ้นมา

แผลคีลอยด์ที่เกิดบริเวณตาทำให้ไม่สวยงามและสูญเสียความมั่นใจได้ เนื่องจากตาเป็นบริเวณที่มองเห็นได้ชัดเจน และปกปิดได้ยาก

หากเป็นกังวลเกี่ยวกับแผลเป็นที่เกิดขึ้น ไม่แน่ใจว่าเป็นแผลคีลอยด์จริงหรือไม่ หรือหากเป็นแผลคีลอยด์จริงๆ จะเลือกวิธีการรักษาอย่างไรจึงจะเหมาะสมและได้ผลลัพธ์ที่ดี ปัจจุบันมีบริการปรึกษาแพทย์ผิวหนังออนไลน์ให้บริการแล้ว 

ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เพียงเปิดวิดีโอคอล แพทย์ก็สามารถพิจารณาแผลและให้คำแนะนำเบื้องต้นได้ 

วิธีรักษาแผลคีลอยด์

วิธีรักษาแผลคีลอยด์แบ่งออกได้หลายวิธี ซึ่งสามารถแจกแจงได้ดังต่อไปนี้

  • ใช้แผ่นซิลิโคนสำหรับรักษาแผลคีลอยด์ ซึ่งจะช่วยให้แผลไม่นูน หรือขยายขนาดใหญ่ขึ้น สร้างความชุ่มชื้น ลดการอักเสบภายใน 7 วัน ควรใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3-6 เดือน เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเป็นแผลคีลอยด์ หรือแผลไม่มีขนาดใหญ่มาก

  • การใช้ความเย็น (Cryosurgery) ผ่านการพ่นไนโตรเจนเหลวลงไปที่บริเวณแผลคีลอยด์ เพื่อให้เซลล์เนื้อเยื่อของแผลยุบตัว และทำให้แผลคีลอยด์มีขนาดเล็กลง เหมาะสำหรับแผลคีลอยด์ขนาดเล็ก หรือแผลคีลอยด์ที่เพิ่งเริ่มนูนได้ไม่นาน

  • การฉีดยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของแผลคีลอยด์ ทำให้ขนาดแผลคีลอยด์มีขนาดเล็กลง เหมาะกับแผลคีลอยด์ที่ยังเป็นสีแดงนูน ซึ่งหมายถึงเนื้อเยื่อยังมีการเจริญเติบโตซ่อมแซมตนเองอยู่ ยาจึงจะเข้าไปช่วยกระตุ้นทำให้แผลยุบตัวได้

    การฉีดยาสเตียรอยด์จะต้องมาฉีดอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 3-4 สัปดาห์ ระยะเวลาของการฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อรักษาแผลคีลอยด์จะขึ้นอยู่กับขนาดแผลที่เป็น แต่ส่วนมากมักรักษาประมาณ 3 เดือนขึ้นไป ถือเป็นวิธีรักษาแผลคีลอยด์ที่ได้รับความนิยมมาก

  • การผ่าตัด เพื่อตัดก้อนแผลคีลอยด์ออกมา แต่ไม่ได้เหมาะสมกับแผลคีลอยด์ทุกตำแหน่ง โดยบริเวณที่สามารถผ่าตัดได้จะต้องเป็นแผลที่สามารถผ่า และเย็บปิดได้ ไม่ทำให้ผู้เข้ารับการผ่าเสียโครงสร้างอวัยวะเดิมไป

    อวัยวะที่มักสามารถรับการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการผ่าตัดได้คือ ติ่งหู หน้าอก หัวไหล่ แผ่นหลัง ส่วนบริเวณใบหน้า ต้องอยู่ภายใต้การประเมินของแพทย์เกี่ยวกับตำแหน่งและขนาดของแผลคีลอยด์

นอกจากนี้ในผู้ที่เพิ่งมีแผลคีลอยด์ขนาดเล็ก ก็อาจใช้ยาทาสำหรับรักษาแผลเป็นในการทาเพื่อรักษาแผลคีลอยด์ได้ แต่วิธีนี้ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากไม่ทำให้เห็นผลการรักษาชัดเจน ผู้ที่เป็นแผลคีลอยด์ส่วนมากจึงมักไปพบแพทย์เพื่อขอรับการรักษาที่เห็นผลมากกว่า

ยังไม่มีวิธีป้องกันแผลคีลอยด์ได้ นอกจากคุณจะต้องระมัดระวังไม่ให้ตนเองเกิดบาดแผล และสังเกตว่า ผู้ใกล้ชิดทางสายเลือดเป็นแผลคีลอยด์กันหรือไม่ เพราะพันธุกรรมถือเป็นปัจจัยหลักของการเกิดแผลคีลอยด์ได้

อีกทั้งผู้ที่เจาะหู เจาะจมูก ทำศัลยกรรม ไม่ว่าจะดวงตา จมูก หรือริมฝีปาก ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ที่เสี่ยงเป็นแผลคีลอยด์อันดับต้นๆ หากคลำพบว่า ตนเองมีก้อนเนื้อเกิดขึ้นบริเวณที่เจาะ ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัย และจะได้รับการรักษาแผลคีลอยด์ตั้งแต่แผลยังมีขนาดเล็ก

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ผ่าคีลอยด์ที่หู กับ GROW&GLOW Clinic | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจจี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฉีดคีลอยด์ ผลข้างเคียงเป็นยังไง กี่ครั้งหาย?, (https://hdmall.co.th/c/keloid-injection).
Stact Sampson, What are Keloids on the ear? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/keloid-on-ear), 3 December 2020.
Hyung Do Kim, So Min Hwang, Kwang Ryeol Lim, Yong Hui Jung, Sung Min Ahn, and Jennifer Kim Song, Recurrent Auricular Keloids during Pregnancy (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3556539/), 3 December 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รักษาอย่างไรให้ถูกต้องไม่ติดเชื้อ
แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รักษาอย่างไรให้ถูกต้องไม่ติดเชื้อ

ดูแลรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกอย่างถูกวิธี ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกเพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ

อ่านเพิ่ม