คีลอยด์ หรือแผลเป็นคีลอยด์ (Keloid) คือแผลเป็นที่โตนูนมากเกินไป
คีลอยด์เกิดจากการงอกที่ผิดปกติของเนื้อเยื่อผิวหนังส่วนที่เป็นแผล โดยเนื้อเยื่อที่นูนขึ้นเหนือระดับผิวหนังจะทำให้เกิดการขยายตัวกว้างเกินขอบเขตของแผลเดิมไปมาก สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย
จี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 192 บาท ลดสูงสุด 81%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อย่างไรก็ตาม หากแผลเป็นคีลอยด์อยู่บนตำแหน่งของร่างกายที่เห็นได้ชัดเจนก็อาจนำมาซึ่งความอับอาย การสูญเสียความมั่นใจ และความเจ็บปวด (บางกรณี) ได้
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ประสบปัญหาแผลเป็นคีลอยด์ รบกวนคุณภาพชีวิต ก็ควรหาวิธีรักษาอย่างถูกต้อง
ความแตกต่างระหว่างแผลเป็นนูนกับแผลเป็นคีลอยด์
แผลเป็นที่นูนขึ้นมา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รอยแผลเป็นนูนหนา (Hyperthophic scar) และแผลเป็นคีลอยด์ หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า คีลอยด์
แผลเป็นทั้งสองประเภทจะมีลักษณะนูนขึ้นเหนือชั้นผิวหนังเหมือนกัน แต่รอยแผลเป็นนูนหนาจะต่างจากคีลอยด์ตรงที่ไม่ขยายตัวออกสู่เนื้อเยื่อรอบๆ ของแผลตอนแรกเริ่ม
นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างด้านอื่นๆ ที่สังเกตได้ ดังนี้
รอยแผลเป็นนูนหนา
จี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 192 บาท ลดสูงสุด 81%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
แผลเป็นชนิดนี้จะโตขึ้นภายใน 2 เดือนหลังจากการบาดเจ็บที่มีภาวะฟกช้ำ ชํ้าใน และจะโตขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 6 เดือน และฝ่อลง หรือยุบตัวลงอย่างช้าๆ ภายใน 1 ปี จนเป็นแผลเป็นคงที่ (Stablescar)
แผลเป็นชนิดนี้มักจะพบในบริเวณที่มีแรงตึงสูง เช่น กลางหน้าอก บริเวณข้อต่อ
แผลเป็นคีลอยด์
แผลเป็นคีลอยด์ใช้เวลาหลายปีในการเกิดหลังจากอุบัติเหตุเล็กๆ หรือบางครั้งเกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นก่อน คีลอยด์จะคงอยู่นาน และไม่ฝ่อลงตามธรรมชาติ มักเกิดขึ้นบริเวณกลางหน้าอก หัวไหล่ ติ่งหู แขนท่อนบน และแก้ม
นอกจากนี้คีลอยด์มักกลับมาเป็นซํ้าบ่อยๆ หลังจากการผ่าตัด ซึ่งแทบจะไม่เกิดขึ้นกับแผลเป็นนูนหนา
แผลเป็นคีลอยด์ยังพบได้ทั่วไปในผู้มีสีผิวเข้ม กลุ่มคนที่สืบเชื้อสายมากจากแอฟริกัน อเมริกันเอเชีย หรือฮิสแปนิก และบางคนอาจได้รับปัจจัยทางพันธุกรรม ทำให้เสี่ยงเกิดคีลอยด์ได้มากกว่าคนทั่วไป โดย 50% ของคนที่เป็นคีลอยด์นั้นมีคนในครอบครัวมีรอยแผลเป็นด้วยเช่นกัน
จี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 192 บาท ลดสูงสุด 81%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สาเหตุการเกิดแผลเป็นคีลอยด์
ในระหว่างขั้นตอนการสมานแผลแบบปกติ ไฟโบรบลาสต์ (Fibroblast) ซึ่งเป็นเซลล์ประเภทหนึ่งในเนื้อเยื่อประสานจะสังเคราะห์โปรตีนคอลลาเจน ซึ่งมีโครงสร้างการคํ้าจุนแผล และมีบทบาทสำคัญในแต่ละระยะของการสมานแผล
คีลอยด์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไฟโบรบลาสต์ผลิตคอลลาเจน "มากเกินไป" มากกว่าที่จะใช้ในการสมานแผลปกติ
จากรายงานของวารสารวิชาการการผ่าตัดโรคผิวหนัง ปี 2009 อธิบายว่า การสังเคราะห์คอลลาเจนในแผลเป็นคีลอยด์จะสูงกว่าผิวปกติที่ไม่มีแผลเป็นถึง 20 เท่า และสูงกว่าในรอยแผลเป็นนูนหนาถึง 3 เท่า
ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดคีลอยด์
- การผลิตมากเกินความจำเป็นของสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบางชนิด รวมถึงโปรตีนที่มีลักษณะคล้ายกาว
- แผลผ่าตัด
- การเจาะร่างกาย หรือการเจาะหู
- สิว จุดด่างดำ หรือแผลเป็นจากโรคอีสุกอีใส
- รอยไหม้
- การฉีดวัคซีน
คีลอยด์ เกิดขึ้นบริเวณใดได้บ้าง?
แผลเป็นคีลอยด์สามารถเกิดขึ้นทุกจุดทั่วไปของอาการบาดเจ็บ
ลักษณะอาการของแผลเป็นคีลอยด์
แผลเป็นคีลอยด์สามารถเกิดขึ้นทันทีที่แผลหาย หลังจากที่แผลหายดีสักพัก หรืออาจใช้ระยะในก่อตัวนานหลายเดือน หรือเป็นปี โดยแผลเป็นคีลอยด์จะคงอยู่นานหลายปี
ในช่วงแรกนั้นแผลเป็นคีลอยด์อาจมีสีชมพูเข้ม แดงอ่อนๆ หรือแดง จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นสีคลํ้า หรือซีดลง โดยลักษณะของแผลเป็นคีลอยด์ มีทั้งแบบเรียบ ขรุขระ เป็นปุ่มๆ หรือนูนขึ้นมา
ในผู้ป่วยบางราย แผลเป็นคีลอยด์อาจทำให้เกิดอาการกดเจ็บ คัน และปวด ซึ่งอาการเหล่านี้อาจแย่ลง หากเกิดอาการระคายเคืองจากการเสียดสีของเสื้อผ้า หรือวัสดุอื่นๆ
การรักษาคีลอยด์
การรักษาแผลเป็นคีลอยด์จะขึ้นอยู่กับขนาด และลักษณะของคีลอยด์ ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องพบแพทย์เพื่อประเมินและวางแผนการรักษาก่อน ทำได้หลายวิธี ดังนี้
- การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ อาจใช้ร่วมกับการจี้ด้วยความเย็นบริเวณภายนอก จะช่วยลดการอักเสบของแผลเป็นคีลอยด์ได้ แต่ต้องฉีดอย่างต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั่ง โดยมีราคาเริ่มต้นที่ จุดละ 1,000 บาท หรือเป็นคอร์ส 3 ครั้ง ราคา 2,500 บาท
- การรักษาด้วยการกด
- การรักษาด้วยการฉายรังสี แต่การรักษานี้ต้องทำด้วยความระมัดระวังเพราะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งจากการได้รับรังสี
- การรักษาด้วยเลเซอร์แผลเป็นเพื่อทำลายเนื้อเยื่อรอบๆ แผล แพทย์อาจกรอผิวหนังเพื่อปรับสภาพผิวให้เรียบเนียนขึ้นด้วย
- ผลิตภัณฑ์ที่ผสมซิลิโคต ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบเจล หรือแผ่นแปะ
- การผ่าตัด มีทั้งแบบตัดออกไปทั้งหมด และแบบตัดออกบางส่วน เพื่อลดขนาดของแผลเป็นคีลอยด์ลง ทั้งนี้การผ่าตัดจะทำได้ในส่วนของร่างกายที่สามารถเย็บแผลได้ และอาจต้องใช้ร่วมกับการรักษาด้วยการฉีดยา หรือการปิดด้วยแผ่นซิลิโคนด้วยเพื่อให้ได้ผลดี ไม่เกิดแผลเป็นคีลอยด์ขึ้นอีกหลังจากผ่าตัดแล้ว
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังคงค้นหาการรักษาหลากหลายรูปแบบที่ใช้ได้ผลกับแผลเป็นคีลอยด์ เช่น สารสกัดจากหัวหอม การจี้ด้วยความเย็นบริเวณที่เป็นแผลเป็น (การแช่แข็งเนื้อเยื่อแผลเป็นจากด้านในสู่ด้านนอก) และการใช้ยา Fluorouracil (5-FU) ซึ่งเป็นยารักษามะเร็งชนิดหนึ่ง
อย่างไรก็ดี ผลลัพธ์ของการรักษาแผลเป็นคีลอยด์แต่ละวิธีนั้นมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละสภาพของแผลและเนื้อเยื่อของแต่ละบุคคล
ดังนั้นการรักษาแผลเป็นคีลอยด์จึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดเท่านั้น ไม่ควรเลือกวิธีการรักษาด้วยตนเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
รีวิว ผ่าคีลอยด์ที่หู กับ GROW&GLOW Clinic | HDmall
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดยารักษาแผลเป็นคีลอยด์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android