วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

โรค Edward Syndrome เป็นอย่างไร รักษาได้ไหม?

รวมความรู้เกี่ยวกับโรค Edward Syndrome เกิดจากอะไร รักษาหายไหม ป้องกันได้หรือเปล่า
เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 16 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรค Edward Syndrome เป็นอย่างไร รักษาได้ไหม?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม เป็นโรคผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง
  • ทารกที่เป็นโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรมมักเสียชีวิตในช่วงระหว่างอายุครรภ์ได้ 10 สัปดาห์ไปจนถึงกำหนดคลอด
  • อาการหลักๆ ของเด็กที่เป็นโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรมคือ ศีรษะเล็ก ปากแหว่ง เพดานโหว่ พัฒนาการช้า นิ้วมือบิดงอ ปอด ไต กระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ ผนังหน้าท้องมีอวัยวะยื่นออกมา
  • ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรมได้ ทำได้แต่ประคับประคองอาการของเด็กให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ร่วมกับรักษาอวัยวะที่บกพร่อง เช่น การผ่าตัดหัวใจ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจก่อนแต่งงาน

โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมเป็นอีกประเภทของโรคที่ยากจะหลีกเลี่ยง เนื่องจากเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม หรือดีเอ็นเอ ที่ส่งต่อในครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ใช่เชื้อโรค หรือเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะที่จะสามารถรักษาได้ด้วยวิธีทั่วไป

โดยหนึ่งในนั้นก็คือ โรคเอ็ดเวิร์ด ซินโดรม (Edward’s Syndrome)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผ่าตัดปากแหว่ง เพดานโหว่ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 53,350 บาท ลดสูงสุด 3100 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม

โรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Edward’s Syndrome) คือ โรคความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดการแท้ง หรือทารกเสียชีวิตหลังคลอดสูงมาก โดยพบได้ 1 ใน 2,000 ของทารกในประเทศไทย

โดยส่วนมากทารกจะเสียชีวิตระหว่างอายุครรภ์ได้ 10 สัปดาห์จนถึงกำหนดคลอด โดยส่วนมากจะเสียชีวิตในสัปดาห์แรกหลังคลอด

อาการของโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม

ทารกแรกเกิดที่เป็นโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรมจะมีความผิดปกติและอาการต่อไปนี้

  • โครงสร้างสมองผิดปกติ หรือเจริญเติบโตไม่เต็มที่
  • ศีรษะเล็ก
  • ท้ายทอยนูน
  • ตาเข ค่าสายตาผิดปกติ
  • ปากแหว่ง เพดานโหว่
  • ใบหู และคางเล็ก
  • มักมีภาวะหนังหัวใจห้องล่างรั่ว หรือหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • ปอด ไต กระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ
  • ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ การดื่มน้ำ และการกลืนอาหาร
  • ผนังหน้าท้องบริเวณสะดือมีอวัยวะยื่นออกมา (Omphalocele)
  • พัฒนาการช้า
  • ไม่มีกระดูกแขน
  • นิ้วมือบิดงอผิดรูป
  • โครงสร้างเท้าผิดรูป

จากอาการผิดปกติเหล่านี้ทำให้เมื่อเด็กอายุมากขึ้น จะเกิดโรค หรือภาวะแทรกซ้อนตามมาได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นภาวะน้ำคั่งในสมอง (Hydrocephalus) โรคหัวใจ โรคไซนัสอักเสบ โรคไส้เลื่อนที่สะดือ (Umbilical hernia) ไม่มีลูกอัณฑะ (Undescended testicles)

การวินิจฉัยโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม

การตรวจหาความเสี่ยงโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม จะเริ่มต้นเมื่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้มีอายุครรภ์ได้ประมาณ 18-20 สัปดาห์ หรือหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการตรวจหาความเสี่ยงโรคผิดปกติทางพันธุกรรม โดยแพทย์มักวินิจฉัยความเสี่ยงด้วยวิธีต่อไปนี้

  • การอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
  • การเจาะเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำไปตรวจ (Amniocentesis)
  • การดูดรกจากในครรภ์ออกมาตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม (Chorionic Villus Sampling)

หรือหากไม่ได้ตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์ จนเมื่อเด็กคลอดออกมา แพทย์ก็จะวินิจฉัยจากรูปร่างหน้าตาของเด็กว่า มีลักษณะปกติหรือไม่และอาจเจาะเลือดเพื่อไปตรวจดูโครงสร้างของโครโมโซมต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผ่าตัดปากแหว่ง เพดานโหว่ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 53,350 บาท ลดสูงสุด 3100 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การเจาะเลือดไปตรวจนี้จะทำให้รู้ด้วยว่า หากแม่ของเด็กมีลูกคนต่อไป เด็กจะมีความเสี่ยงเป็นโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรมอีกหรือไม่

วิธีรักษาโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรมได้ แต่จะเป็นการรักษาเพื่อประคับประคองอาการ ดูแล และหมั่นตรวจความก้าวหน้าของพัฒนาการ และยังทำให้เด็กสามารถดำเนินชีวิตประจำได้อย่างเป็นปกติที่สุด ได้แก่ การผ่าตัดรักษา หรือเปลี่ยนอวัยวะที่บกพร่อง เช่น หัวใจ

นอกจากนี้แพทย์มักจะแนะนำวิธีรับประทานอาหารที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม เพราะผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการแพ้อาหาร มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก มีปัญหาด้านการขับถ่าย เช่น ท้องผูก

ในส่วนของพัฒนาการที่อาจช้ากว่าเด็กทั่วไป รวมถึงอวัยวะที่มีรูปร่างไม่สมบูรณ์อาจทำให้เด็กไม่สามารถเดิน หรือเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่วอย่างคนปกติ

ดังนั้นแพทย์อาจแนะนำให้เด็กเข้ารับการเรียนแบบพิเศษกับครูผู้เชี่ยวชาญที่สามารถสอนและแก้ไขพัฒนาการบางอย่างของเด็กให้ดีขึ้น สามารถสื่อสารกับคนรอบตัว เพื่อที่เด็กจะได้อยู่ร่วมกับคนในสังคมได้มากที่สุด

การป้องกันโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม

โรคผิดปกติทางพันธุกรรมเป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้และโอกาสที่ลูกของคุณจะเป็นโรคนี้ยังมากขึ้นด้วย หากคุณ หรือคนรักมีคนในครอบครัวเป็นโรคทางพันธุกรรมมาก่อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผ่าตัดปากแหว่ง เพดานโหว่ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 53,350 บาท ลดสูงสุด 3100 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากต้องการมีลูกแต่มีโอกาสสูงที่ลูกคุณจะเป็นโรคนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เสียก่อนว่า จะมีวิธีการลดความเสี่ยงโรคนี้หรือไม่ หรือควรวางแผนมีบุตรอย่างไรที่สามารถหลีกเลี่ยงโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรมได้มากที่สุด

อีกทั้งเมื่อตั้งครรภ์แล้วควรรีบไปฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้ครรภ์อยู่ในการดูแลของแพทย์โดยเร็ว แพทย์จะให้คำแนะนำการดูแลครรภ์ที่เหมาะสม ตรวจสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และพัฒนาการของทารกในครรภ์ไปจนกระทั่งถึงกำหนดคลอด 

โรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรมเป็นโรคผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจพบได้ไม่บ่อยนัก แต่มีกลุ่มบุคคลบางส่วนที่เป็นโรคนี้ หากคุณพบเจอพวกเขา ก็ไม่ควรแสดงท่าทีรังเกียจ แต่ควรเข้าใจว่า นี่คือความผิดปกติของร่างกายอีกรูปแบบหนึ่ง และไม่มีใครอยากเกิดมามีความผิดปกติที่แก้ไขไม่ได้

หรือหากมีคนในครอบครัวเป็นโรคเอ็ดเวิร์ดซินโดรม ก็ควรเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับพวกเขา โดยอาจปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญว่า รวมถึงเรียนรู้วิธีช่วยกันดูแลผู้ป่วยโรคนี้ เพื่อให้ทั้งคุณ และตัวผู้ป่วยสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจก่อนแต่งงาน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Papp C, Ban Z, Szigeti Z, Csaba A, Beke A, Papp Z (2007). "Role of second trimester sonography in detecting trisomy 18: a review of 70 cases". J Clin Ultrasound. 35 (2): 68–72. doi:10.1002/jcu.20290. PMID 17206726.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)