วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์

การเคลือบฟันคืออะไร วัสดุมีกี่แบบ

รวมข้อมูลการเคลือบฟัน ทำให้ฟันขาวขึ้นอย่างไร วัสดุที่นิยมมีอะไรบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 25 ธ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 25 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การเคลือบฟันคืออะไร วัสดุมีกี่แบบ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การเคลือบฟัน คือ การเคลือบผิวหน้าฟันด้วยวัสดุที่มีสีใกล้เคียงกับเนื้อฟัน แต่มีความขาวสว่าง และมีรูปร่างสวยกว่าฟันเดิมที่เคลือบ
  •  ฟันที่เหมาะสำหรับการเคลือบ ได้แก่ ฟันบิ่น หัก แตก มีขนาดกว้างยาวไม่เท่ากัน ฟันมีสีเหลือง ฟันที่เรียงตัวมีช่องว่างระหว่างซี่อย่างเห็นได้ชัด
  • วัสดุที่นิยมใช้ในการเคลือบฟัน ได้แก่ วัสดุพอร์ซเลย วัสดุเซอร์โคเนีย และวัสดุเรซินคอมโพสิต 
  • หลังจากเคลือบฟัน ผู้เข้ารับบริการจะต้องดูแลฟันอย่างเหมาะสมด้วย เช่น หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม และอาหารที่มีสีเข้มในระยะแรกที่เคลือบฟัน ไม่ใช้ฟันแทะ หรือกัด หรือเปิดของ งดเคี้ยวอาหารเนื้อแข็ง และเหนียว
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทำวีเนียร์

เมื่อพูดถึงปัญหาเกี่ยวกับฟัน หลายคนมักจะนึกถึงปัญหาฟันผุ ฟันคุด รากฟันอักเสบ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพภายในตัวฟัน รวมไปถึงโครงสร้างภายในของฟัน

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกปัญหาเกี่ยวกับฟันที่หลายคนกำลังเผชิญ โดยเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ และความมั่นใจเป็นหลัก นั่นก็คือ ซี่ฟันหัก บิ่น ร้าว หรือสีฟันเหลือง สีฟันไม่ขาวสะอาด ทำให้ขาดมั่นใจ ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ได้ด้วยการเคลือบฟัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
เคลือบฟันและทำวีเนียร์วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,164 บาท ลดสูงสุด 72%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของการเคลือบฟัน

การเคลือบฟัน (Dental Veneer) คือ การเคลือบผิวหน้าฟันด้วยวัสดุที่มีสีใกล้เคียงกับเนื้อฟัน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อให้ลักษณะฟันที่มีความบกพร่องดูสวยงาม มีรูปร่างที่สมบูรณ์มากขึ้น มีคำเรียกที่นิยมว่า “การทำวีเนียร์”

ลักษณะฟันที่ควรเข้ารับการเคลือบ

ลักษณะฟันที่การเคลือบฟันสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้ โดยหลักๆ ได้แก่

  • ฟันที่หัก บิ่น แตก
  • ฟันที่มีขนาดความกว้าง และยาวไม่เท่ากัน
  • ฟันที่มีสีเหลืองไม่สวยงาม หรือสีฟันแต่ละซี่ไม่เท่ากัน
  • ฟันซี่ที่มีการเรียงตัวไม่สวยงาม หรือ
  • ฟันที่มีช่องว่างระหว่างซี่ฟันกว้างอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้ “การเคลือบฟัน” ยังรวมได้ถึงการเคลือบฟลูออไรด์ ซึ่งเป็นการเคลือบสารป้องกันฟันผุที่หลายคนต้องเคยได้รับมาก่อนในระหว่างเข้ารับการตรวจฟัน

วัสดุในการเคลือบฟัน และราคาโดยประมาณ

วัสดุที่นิยมใช้ในการเคลือบฟันมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

  • วัสดุพอร์ซเลน (Porcelain) เป็นวัสดุประเภทเซรามิก มีจุดเด่นที่ความคงทนแข็งแรง ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ หรือเนื้อเยื่อในร่างกาย (Biocompatible) มีลักษณะสีเหมือนฟันธรรมชาติ ราคาการเคลือบจะอยู่ที่ประมาณซี่ละ 11,000-20,000 บาท

  • วัสดุเซอร์โคเนีย (Zirconia) เป็นวัสดุประเภทเซรามิกอีกชนิดที่ยังไม่เป็นที่รู้จักนัก แต่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น โดยมีจุดเด่นด้านความสวยงามมากที่สุด นอกจากนี้ยังแข็งแรง ทนทานพอๆ กับวัสดุพอร์ซเลน ทั้งยังสามารถปรับแต่งรูปร่างได้รวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องส่งเข้าห้องแลปเสมอไป

    วัสดุเซอร์โคเนียมีราคาการเคลือบอยู่ที่ประมาณซี่ละ 15,000-18,000 บาท

  • วัสดุเรซินคอมโพสิต (Resin composite) เป็นวัสดุเรซินที่มีสีใกล้เคียงกับเนื้อฟัน จุดเด่นอยู่ที่สีของวัสดุที่มีให้เลือกหลายแบบ แต่ก็มีจุดด้อย คือ ไม่คงทนแข็งแรงเท่ากับวัสดุพอร์ซเลน และเซอร์โคเนีย ทำให้อายุการใช้งานค่อนข้างสั้น

    นอกจากนี้วัสดุเรซินคอมโพสิตยังติดสีจากอาหาร และน้ำที่รับประทานง่ายกว่าวัสดุแบบอื่นด้วย โดยราคาการเคลือบอยู่ที่ประมาณซี่ละ 1,000-5,000 บาท

นอกจากวัสดุ 3 แบบที่ได้กล่าวไปข้างต้น ยังมีการเคลือบฟันด้วยวัสดุเงิน โลหะ และทอง ซึ่งเป็นวัสดุอุดฟันที่คงทนแข็งแรงมากเช่นกัน

แต่ปัจจุบันวัสดุเหล่านี้ไม่ได้รับความนิยมมากนักในการเคลือบฟัน เพราะสีของวัสดุไม่ได้ทำให้ช่วยด้านความสวยงามของผู้เข้ารับบริการ แต่อาจใช้ในการครอบฟัน หรือเคลือบฟันกรามที่อยู่ด้านใน ซึ่งเป็นฟันที่มองเห็นได้ยากจากภายนอก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
เคลือบฟันและทำวีเนียร์วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,164 บาท ลดสูงสุด 72%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การดูแลตนเองหลังจากเคลือบฟัน

การดูแลตนเองโดยหลักๆ หลังจากเคลือบฟันแล้ว ได้แก่

  • ดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาด แปรงฟันให้สะอาด และใช้ไหมขัดฟันทุกครั้งหลังแปรงฟัน 
  • หมั่นไปตรวจสุขภาพช่องปากทุกๆ 6 เดือน เพื่อที่หากมีปัญหาฟันผุ มีหินปูนมาก ก็จะได้เข้ารับการอุดฟัน ขูดหินปูน รวมถึงรักษาความผิดปกติของฟันอื่นๆ ให้เป็นปกติ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่ทำให้วัสดุเคลือบฟันมีสีเปลี่ยนไป เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ไวน์ โดยระยะเวลาที่ควรงด ควรสอบถามกับทันตแพทย์ ซึ่งอาจต้องหลีกเลี่ยงแค่ในช่วงแรกหลังจากเคลือบฟันเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่ม และรับประทานอาหารร้อนจัด เย็นจัด เพราะอาจทำให้รู้สึกเสียวฟันได้
  • งดการเคี้ยวอาหารเนื้อแข็ง และเหนียวชั่วคราว แต่หากจำเป็นต้องรับประทานอาหารประเภทนี้ให้ใช้ฟันด้านใน หรือซี่ที่ไม่ได้เคลือบในการเคี้ยวแทน
  • หากจะเล่นกีฬา ควรหาฟันยางมาใส่เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุกระแทก หรือกระทบกระเทือนจนหลุดออก
  • อย่าใช้ฟันกัด แทะ หรือเปิดของ เช่น กระป๋องน้ำอัดลม
  • หากเป็นคนนอนกัดฟัน สบฟัน หรือขบฟันระหว่างหลับ ให้หารีเทนเนอร์ หรือเฝือกสบฟันมาใส่ก่อนนอน

การเคลือบฟันเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการให้สี และลักษณะฟันดูสวยงามยิ่งขึ้น แต่ก็มีจุดด้อยตรงที่ผู้เข้ารับบริการบางรายอาจต้องกรอเอาเนื้อฟันบางส่วนออก เพื่อจะได้ติดตั้งวัสดุลงที่เนื้อฟันด้านหน้าได้ง่าย และยังต้องมีการดูแลฟันอย่างเหมาะสม เพื่อให้วัสดุติดแน่นคงทนกับเนื้อฟัน

หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับสี และรูปฟันที่ทำให้ขาดความมั่นใจ อย่าลังเลที่จะไปพบทันตแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการเคลือบฟัน เพราะคุณอาจได้พบทางออกในการมีฟันทุกซี่ที่สวยงามยิ่งขึ้น

แต่ก่อนไปพบทันตแพทย์ คุณจะต้องมีการหาข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐาน และความเชี่ยวชาญของคลินิกทันตกรรม หรือโรงพยาบาลนั้นๆ เพื่อความมั่นใจในการเคลือบฟันที่ปลอดภัย และเหมาะสมกับลักษณะฟัน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทำวีเนียร์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD, Dental Veneers (https://www.webmd.com/oral-health/guide/veneers#3-9), 22 December 2020.
Christine Frank, What to Know Before You Get Dental Veneers (https://www.healthline.com/health/dental-veneers), 22 December 2020.
cean Breeze Prosthodontics, Type Of Dental Crowns And Cost: A Complete Guide (2020) (https://delraydentalwellness.com/blog/types-dental-crowns-cost/), 22 December 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)