กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อาการเจ็บซี่โครง

ถ้าเป็นแค่อาการขัดยอกก็โชคดีไปเพราะสามารถหายได้เอง แต่ถ้าไม่ใช่ อาการเจ็บซี่โครงบ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 7 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการเจ็บซี่โครง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการเจ็บซี่โครงมีได้ทั้งแบบเ้บแปลบ เจ็บตื้อๆ หรือปวด พบได้ทั้งการปวดบนหน้าอก หรือเหนือสะดือก็ได้ อาการเหล่านี้สามารถเกิดได้กับซี่โครงทั้ง 2 ข้าง และอาจเกิดตามหลังการได้รับบาดเจ็บ หรืออาจเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • สาเหตุที่ทำให้เจ็บซี่โครง ได้แก่ กระดูกซี่โครงหัก ได้รับบาดเจ็บที่หน้าอก มีโรคที่ส่งผลต่อกระดูก การอักเสบที่เยื่อบุด้านในปอด กล้ามเนื้อหดตัว กระดูกอ่อนที่ซีโครงอักเสบ 
  • หากมีอาการเจ็บซี่โครงร่วมกับอาการต่อไปนี้ เช่น เจ็บซี่โครงอย่างรุนแรง มีปัญหาในการหายใจ รุ้สึกแน่นหน้าอกเหมือนมีสิ่งของมาทับ ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจได้
  • การรักษาอาการเจ็บซี่โครงขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด อาจรักษาด้วยการประคบเย็น ประคบร้อน การ compression wrap ซึ่งเป็นการใช้ผ้ายืดขนาดใหญ่พันรอบหน้าอก รวมถึงการใช้ยา 
  • วิธีที่ดีที่สุดคือ การป้องกันอาการเจ็บซี่โครง เช่น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้ถูกวิธีก่อนและหลังออกกำลังกาย ใช้งานอุปกรณ์ออกกำลังกายให้เหมาะสม และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อป้องกันความผิดปกติที่มองไม่เห็น 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจกระดูก

กระดูกซี่โครง (Ribe) หรือเรียกสั้นว่าๆ "ซี่โครง" มีลักษณะเป็นซี่ๆ มีด้วยกัน 12 คู่ หรือ 24 ชิ้น ทำหน้าที่ช่วยปกป้องอวัยวะภายในทรวงอก 

ระหว่างกระดูกซี่โครงแต่ละซี่จะมีกล้ามเนื้อยึดทั้งด้านนอกและด้านใน เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้หดตัวและคลายตัว จะเกิดการเคลื่อนที่เข้าออกของอากาศทำให้กระดูกซี่โครงเคลื่อนที่ขึ้นและลงได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการเจ็บซี่โครง 

อาจมีได้ทั้งแบบเจ็บแปลบ เจ็บตื้อๆ หรือปวด 

ตำแหน่งการเกิดอาการ

พบได้ทั้งบนหน้าอก หรือใต้หน้าอก หรือเหนือสะดือก็ได้  อาการเหล่านี้สามารถเกิดได้กับซี่โครงทั้ง  2 ข้าง และอาจเกิดตามหลังการได้รับบาดเจ็บ หรืออาจเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้เจ็บซี่โครง

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานหนักมากเกินไป หรือซี่โครงที่มีรอยช้ำ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น

  • กระดูกซี่โครงหัก
  • การได้รับบาดเจ็บที่หน้าอก
  • โรคที่ส่งผลต่อกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน
  • การอักเสบที่เยื่อบุด้านในปอด
  • กล้ามเนื้อหดตัว
  • กระดูกอ่อนที่ซี่โครงอักเสบ

อาการปวดนั้นอาจเกิดขึ้นทันทีหลังจากได้รับบาดเจ็บ หรือค่อยๆ มีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นยังอาจเป็นอาการที่บ่งบอกถึงโรคทางกายได้ ดังนั้นหากมีอาการเจ็บซี่โครงที่ไม่สามารถบอกสาเหตุได้ควรไปพบแพทย์

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

อาการเจ็บซี่โครงนั้นอาจจะเกิดขึ้นได้เองในขณะที่ไม่ขยับตัวก็ได้ หรืออาจจะมีอาการเจ็บขึ้นมาทันทีเวลาหายใจเข้า หรือเมื่อขยับตัวในบางท่า บางอิริยาบถ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังนี้

  • เจ็บซี่โครงอย่างรุนแรง 
  • มีปัญหาในการหายใจ 
  • รู้สึกแน่นหน้าอกเหมือนมีสิ่งของมาทับ

เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจล้มเหลว หรือหัวใจวายได้ 

การวินิจฉัยอาการเจ็บซี่โครง

  • แพทย์จะเริ่มซักประวัติเกี่ยวกับอาการปวด ท่า หรืออิริยาบถที่ทำให้อาการปวดนั้นแย่ลง ลักษณะอาการปวดที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับตำแหน่งที่มีอาการจะช่วยให้แพทย์สามารถเลือกการตรวจเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัยได้ดียิ่งขึ้น 
  • ส่วนมากถ้าเจ็บแปล๊บขณะหายใจเข้า หรือหายใจออก มักจะเป็นอาการจากกล้ามเนื้อ
  • หากอาการปวดนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับบาดเจ็บ แพทย์อาจจะส่งตรวจทางรังสีวินิจฉัย เช่น เอกซเรย์ ซึ่งจะทำให้เห็นว่า มีกระดูกหัก หรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับกระดูกหรือไม่ 
  • หากตรวจพบความผิดปกติจากการเอกซเรย์ เช่น มีการเจริญผิดปกติ แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อดูเนื้อเยื่อเพิ่มเติมด้วยการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ วิธีนี้จะทำให้เห็นรายละเอียดของกระดูกซี่โครงและเนื้อเยื่อโดยรอบรวมถึงอวัยวะภายในได้
  • หากมีอาการปวดเรื้อรัง สงสัยว่า อาจจะเกิดจากมะเร็งกระดูก แพทย์อาจจะสั่งตรวจสแกนกระดูก (bone scan) ซึ่งเป็นการตรวจหาตำแหน่งและขอบเขตของกระดูกที่มีความผิดปกติ วิธีนี้สามารถมองเห็นบริเวณที่ผิดปกติได้อย่างชัดเจนมากกว่าการเอกซเรย์และสามารถตรวจได้ตั้งแต่กะโหลกศีรษะจรดปลายเท้า หากพบว่า มีกระดูกผิดปกติหลายตำแหน่ง จะต้องตรวจเลือดเพื่อหาว่า สาเหตุนั้นมาจากที่ใดเพื่อรักษาที่ต้นเหตุได้

การรักษาอาการเจ็บซี่โครง

วิธีการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด 

  • หากเกิดจากการได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น กล้ามเนื้อใช้งานมาก  หรือมีรอยช้ำ อาจใช้การประคบเย็นที่บริเวณดังกล่าวเพื่อลดอาการบวมภายใน 24 ชั่วโมงแรก 
  • หากมีอาการปวดอาจเรื่อรัง อาจใช้การประคบร้อน หรือจะใช้ยาแก้ปวด  เช่น  พาราเซตามอล หรือยาคลายกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการได้
  • หากการใช้ยาทั่วไปยังไม่สามารถบรรเทาอาการปวดได้ แพทย์อาจจะสั่งยาตัวอื่นในการรักษา หรืออาจจะมีการใช้วิธี compression wrap ซึ่งเป็นการใช้ผ้ายืดขนาดใหญ่พันรอบหน้าอก วิธีนี้จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติมรวมถึงป้องกันอาการปวดที่มากขึ้นได้  อย่างไรก็ตาม วิธีนี้นิยมใช้น้อยมากเพราะมักจะทำให้หายใจลำบากและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดอักเสบได้
  • หากอาการปวดนั้นเกิดจากมะเร็งกระดูก แพทย์จะอธิบายถึงแนวทางการรักษาซึ่งขึ้นกับตำแหน่งของมะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง หรือมีความผิดปกติอื่นๆ หรือไม่ และแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไปตามแต่ละบุคคล เช่น ผ่าตัดความผิดปกติเหล่านั้นออก ใช้ยาเคมีบำบัด  หรือการฉายแสง 

วิธีการป้องกันอาการเจ็บซี่โครง

  • สามารถป้องกันอาการที่เกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบได้โดยการยืดกล้ามเนื้อ 
  • ใช้งานอุปกรณ์ออกกำลังกายให้เหมาะสม
  • ปรับอิริยาบถการเคลื่อนไหวให้เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงอิริยาบถและท่าทางที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและซี่โครง
  • อย่าหยุดนิ่งในอิริยาบถใด อิริยาบถนานๆ 
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ 
  • หากมีอาการเจ็บป่วยที่ทำให้เกิดอาการเจ็บซี่โครง ให้พักผ่อนให้เพียงพอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด  

อาการเจ็บซี่โครงอาจเกิดได้จากสาเหตุที่ไม่ร้ายแรงและร้ายแรง คุณจึงควรหมั่นสังเกตตนเอง ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น แต่หากมีความเจ็บปวดมาก หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจกระดูก จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอปiOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Costochondritis (https://www.webmd.com/pain-man...)
What's Causing My Chest Pain? (https://www.webmd.com/pain-man...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)