กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

น้ำหนักกับโรคเบาหวาน

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
น้ำหนักกับโรคเบาหวาน

คุณอาจจะพบกับข้อมูลมากมายในเรื่องของคำแนะนำเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก ความจริงก็คือการเคลื่อนไหวและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์นั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมน้ำหนัก

นี่เป็นความจริงในทุกคน แต่อาจจะช่วยมากเป็นพิเศษในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากน้ำหนักนั้นสามารถส่งผลต่อโรค และโรคก็สามารถส่งผลต่อน้ำหนักได้เช่นกัน แม้ว่าความสัมพันธ์นี้อาจจะแตกต่างกันระหว่างผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 แต่ทั้ง 2 กลุ่มก็ยังคงได้รับคำแนะนำเหมือนกันก็คือการควบคุมน้ำหนักนั้นสามารถทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

น้ำหนักกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ยังไม่ได้รับการรักษา มักจะมีน้ำหนักลด ในโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นั้นร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสไปใช้ได้จากการที่ตับอ่อนนั้นไม่หลั่งอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะช่วยให้น้ำตาลกลูโคสนั้นเข้าสู่กล้ามเนื้อเพื่อสร้างพลังงาน

เมื่อไม่มีอินซูลิน น้ำตาลกลูโคสก็จะสะสมอยู่ในเลือด และทำให้ไตขับน้ำตาลกลูโคส (และพลังงาน) ออกมาในปัสสาวะ ทำให้น้ำหนักลดได้ แต่เมื่อได้รับการรักษาแล้ว ผู้ป่วยมักจะกลับมามีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ในบางครั้งผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ก็อาจจะมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ได้ โดยอาจจะมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ตั้งแต่ก่อนที่จะเป็นโรคเบาหวานหรือหลังจากที่เริ่มการรักษาก็ได้ การที่มีน้ำหนักเกินนั้นจะทำให้ผู้ป่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยากขึ้น

น้ำหนักกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีน้ำหนักเกินเกณฑ์เมื่อพวกเขาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการมีน้ำหนักเกินนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เช่นเดียวกับการมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นจะมีภาวะที่เรียกว่าดื้อต่ออินซูลินซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายสามารถสร้างอินซูลินได้แต่ไม่สามารถนำไปใช้ให้น้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กล้ามเนื้อได้ ดังนั้นระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้น ตับอ่อนก็จะพยายามสร้างอินซูลินออกมาเพิ่มขึ้นเพื่อพยายามลดระดับน้ำตาลในเลือด

ทำให้ในเวลาต่อมา ตับอ่อนอาจจะไม่สามารถผลิตอินซูลินออกมาได้มากพอที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งก็จะเรียกว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เราสามารถมีภาวะดื้อต่ออินซูลินแต่ยังไม่เป็นโรคเบาหวานได้ แต่ก็จะจัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การลดน้ำหนัก รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และในสัดส่วนที่เหมาะสม และการออกกำลังกายนั้นจะช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลินและอาจจะทำให้หายจากภาวะดังกล่าวได้

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การลดภาวะดื้อต่ออินซูลินนั้นจะทำให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ง่ายขึ้น ในผู้ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินแต่ยังไม่เป็นโรคเบาหวาน การลดภาวะดื้อต่ออินซูลินจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้

การควบคุมน้ำหนัก

การมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมนั้นจะช่วยทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นและมีพลังงานมากขึ้น และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ ลดอาการของโรคเบาหวานและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ง่ายขึ้น

แพทย์จะเป็นผู้แนะนำว่าคุณควรลดน้ำหนักหรือไม่ ส่วนมากมักจะอ้างอิงจากค่าดัชนีมวลกายว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่

ก่อนจะแนะนำว่าควรมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เท่าไหร่ และช่วยคุณวางแผนการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายเพื่อให้มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ แพทย์อาจจะมีการแนะนำให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้พบกับนักโภชนาการซึ่งจะช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และถึงแม้ว่าคุณจะมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ การรับประทานอาหารที่เหมาะสมและออกกำลังกายสม่ำเสมอก็จะช่วยให้สามารถควบคุมโรคเบาหวานและป้องกันปัญหาที่ตามมาได้

หากคุณมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ อย่าเพิ่งรู้สึกแย่กับการเป็นโรค (เพราะมีหลายคนที่ไม่ได้เป็นโรคแต่ก็ต้องลดน้ำหนักเช่นกัน) ในทางกลับกันคุณควรจะเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการวางแผนการทานอาหาร ออกกำลังกายและทานยาตามที่แพทย์สั่ง การลดน้ำหนักต้องใช้เวลา ซึ่งทำให้มันอาจจะเป็นเรื่องยากในผู้ป่วยส่วนใหญ่และการเป็นโรคเบาหวานนั้นก็อาจจะทำให้การลดน้ำหนักนั้นยากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับในการลดน้ำหนัก

ลืมเรื่องการทานอาหารสูตรต่างๆ ไป เพราะการใช้สูตรอาหารต่างๆ ในการลดน้ำหนักไม่ว่าจะเป็นการอดอาหารหรือใช้ยา จะส่งผลรุนแรงต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่ให้รับประทานอาหารตามแผนที่วางไว้ เพราะเป็นแผนที่เหมาะสำหรับคุณโดยเฉพาะ

ฉีดยาอินซูลินตามเวลา ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรลืมฉีดยาเพื่อพยายามลดน้ำหนักเนื่องจากหากไม่ได้ฉีดยานั้นจะทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและเกิดภาวะที่เรียกว่า diabetic ketoacidosis ซึ่งอาจทำให้หมดสติได้

ระวังเรื่องการทานขนม หลายคนทานขนมมากกว่าที่ควรจะเป็นเพราะกลัวว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำ ซึ่งในทางกลับกันมันจะทำให้น้ำหนักของคุณเพิ่ม ให้รับประทานอาหารตามแผนที่วางไว้และทานยาสม่ำเสมอเพื่อลดปัญหาเหล่านี้

ลดความอยากขนม เวลาที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานอยากทานขนมหรือลูกอมเพิ่มเติมจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ซึ่งจะยิ่งทำให้คุณอยากอาหารที่มีน้ำตาลมากขึ้นไปอีกเนื่องจากกล้ามเนื้อของคุณต้องการน้ำตาล ทำให้เกิดเป็นวงจร และการทานใช้ยาอินซูลินในปริมาณเพิ่มขึ้นเพื่อลดระดับน้ำตาลก็สามารถทำให้ร่างกายมีไขมันส่วนเกินเพิ่มขึ้นได้ ให้ลองหาวิธีลดความอยากเช่นการออกไปเดิน การดื่มน้ำหรือเคี้ยวหมากฝรั่ง

เคลื่อนไหวร่างกาย พยายามออกกำลังกายวันละ 30-60 นาที โดยคุณสามารถออกกำลังกายแบบใดก็ได้

หากคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวานเพิ่มเติมหรือมีข้อสงสัย อย่าลืมว่าคุณสามารถสอบถามทีมแพทย์ได้ตลอด พวกเขาจะช่วยให้คุณเข้าใจกับวิธีที่สามารถลดน้ำหนักแบบที่ดีต่อสุขภาพ เมื่อคุณมีน้ำหนักอยู่ในระดับที่เหมาะสม คุณจะรู้สึกว่าสามารถคุมโรคเบาหวาน ร่างกายและสุขภาพของตัวเองได้ดีขึ้น


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Type 2 Diabetes: 8 Steps to Weight-Loss Success. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/type-2-diabetes/diet/secrets-of-weight-control/)
What's your healthy weight when you have diabetes?. Diabetes UK. (https://www.diabetes.org.uk/guide-to-diabetes/enjoy-food/eating-with-diabetes/whats-your-healthy-weight)
Weight and Diabetes (for Parents). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/weight-diabetes.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)