กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

รู้หรือไม่! วัคซีน HPV ก็จำเป็นสำหรับชาว LGBTQ

LGBTQ ฉีดวัคซีน HPV แบบไหนดี? จำเป็นไหม?​ ทำไมต้องฉีด
เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.ย. 2023 อัปเดตล่าสุด 21 มี.ค. 2024 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
รู้หรือไม่! วัคซีน HPV ก็จำเป็นสำหรับชาว LGBTQ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) เป็นเชื้อที่ได้รับผ่านการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากเชื้อเอชพีวีสามารถติดต่อได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเพศใดกับเพศใดหรือกับช่องทางใด ก็ก่อให้เกิดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศและก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งทวารหนัก และหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ เป็นต้น
  • การตรวจคัดกรองเชื้อไวรัส HPV ในผู้ชายจะตรวจด้วยวิธีเดียวกับผู้หญิง ที่สามารถตรวจด้วยวิธีแป๊ปสเมียร์ (Pap Smear) ลิควิดเบส (Liquid Base) และ HPV DNA Test แต่จะแตกต่างกันที่ผู้ชายจะเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณองคชาตหรือปากทวารหนักแทน
  • การฉีดวัคซีน HPV สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสรวมถึงป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดจากเชื้อ HPV ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันวัคซีน HPV มีให้เลือกอยู่ 3 ชนิด ไดแก่ วัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์, วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ และวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์
    • ฉีดวัคซีน HPV แต่ละชนิดได้ที่ HDmall.co.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับแอดมิน ผ่านไลน์ @hdcoth

วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV หรือที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีในชื่อ “วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก” หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นวัคซีนสำหรับผู้หญิงเท่านั้น ทั้งที่จริงๆ แล้วมีหลายโรคจากเชื้อไวรัสเอชพีวีที่สามารถเกิดขึ้นกับชาว LGBTQ ได้เช่นกัน

เมื่อเชื้อ HPV ไม่เลือกเพศ วัคซีน HPV จึงมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งต่างๆ จากเชื้อ HPV และลดความเสี่ยงการเป็นพาหะนำเชื้อ HPV ไปสู่คู่นอนอีกด้วย

ชาว LGBTQ คนไหนที่ยังไม่รู้ว่าวัคซีน HPV สำคัญกับตนเองอย่างไร? หรือไม่รู้ว่าเชื้อไวรัส HPV สามารถก่อให้เกิดโรคอะไรในกลุ่ม LGBTQ ได้บ้าง? HDmall.co.th ได้สรุปข้อมูลมาให้แล้ว สามารถอ่านได้ที่บทความนี้เลย

ความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส HPV ของ LGBTQ

เชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยจะมีประมาณ 40 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศและก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งองคชาต มะเร็งทวารหนัก รวมถึงมะเร็งช่องปากและลำคอ

การติดเชื้อไวรัส HPV ติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือช่องปาก ก็ล้วนติดเชื้อได้ทั้งหมด

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำไมทุกคนถึงมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส HPV และควรได้รับวัคซีน HPV เพื่อป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ

ราคาฉีดวัคซีน HPV

โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ในกลุ่ม LGBTQ มีอะไรบ้าง?

โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ในกลุ่ม LGBTQ ก็เหมือนกับผู้ชายหรือผู้หญิงทั่วไป เพราะไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็สามารถติดเชื้อไวรัส HPV และนำไปสู่การเป็นโรคเหล่านี้ได้

1. มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ในประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ถึงปีละประมาณ 8,200 คน ครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตภายในเวลา 5 ปี ในแต่ละวันมีหญิงไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกถึงวันละ 12 คน

ไวรัส HPV ชนิดก่อมะเร็ง มี14 สายพันธุ์ ทําให้เป็นโรคร้ายมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด โดยสายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึงประมาณร้อยละ 70 รองลงมาคือ สายพันธุ์ 45, 31 และ 33

2. มะเร็งทวารหนัก

มะเร็งทวารหนัก จัดเป็นมะเร็งที่พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งทวารหนัก ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ 16 และ 18 รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่หนัก มีประวัติเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก เปลี่ยนคู่นอนบ่อย และการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางทวารหนักโดยไม่ป้องกัน

3. มะเร็งช่องปากและลำคอ

มะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นอีกหนึ่งโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ด้วยการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก หรือการทำ Oral Sex

โดยอาการของโรคมะเร็งช่องปากและลำคอ คือ มีอาการเจ็บคอเป็นเวลานาน ปวดหู เสียงแหบ ต่อมน้ำเหลืองบวม และน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

4. โรคหูดที่อวัยวะเพศ

โรคหูดที่อวัยวะเพศหรือที่เรียกว่า “หูดหงอนไก่” (Genital warts) เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งสามารถพบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง

โดยสาเหตุหลักของการเกิดโรคหูดที่อวัยวะเพศก็คือการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งระหว่างอวัยวะเพศชายกับช่องคลอด อวัยวะเพศชายกับทวารหนัก และทางช่องคลอดกับช่องคลอด รวมไปถึงการทำออรัลเซ็กส์จากผู้ที่ติดเชื้อไวรัส HPV ด้วย

การตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส HPV ในกลุ่ม LGBTQ ทำอย่างไร?

การตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส HPV ในกรณีที่เป็นผู้หญิง สามารถตรวจได้ด้วยวิธีแป๊บสเมียร์ (Pap Smear) ลิควิดเบส (Liquid Base) และ HPV DNA Test ทั้งหมดนี้จะเป็นการเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณปากมดลูกไปส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ส่วนกรณีที่เป็นผู้ชาย การตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส HPV จะมีวิธีการตรวจเหมือนกับผู้หญิง เพียงแต่ว่าผู้ชายจะเก็บตัวอย่างเซลล์จากบริเวณองคชาตหรือปากทวารหนักแทน

วิธีการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV

วิธีการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV สามารถทำได้หลายวิธี เช่น งดการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี และฉีดวัคซีน HPV

วัคซีน HPV มีกี่ชนิด?

ปัจจุบันประเทศไทยมีวัคซีน HPV ให้เลือกฉีดทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่

  • วัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ (Human Papillomavirus 2 - Valent Vaccine) ช่วยป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง* 16 และ 18
  • วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ (Human Papillomavirus 4 - Valent Vaccine) ช่วยป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง 16 และ 18 รวมถึงสายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ** 6 และ 11
  • วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ (Human Papillomavirus 9 - Valent Vaccine) ช่วยป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 รวมถึงสายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ 6 และ 11

*เชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง หมายถึง สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปาก และมะเร็งลำคอ

** เชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ หมายถึง สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ หรือโรคหูดที่อวัยวะเพศได้

สรุปเรื่องการฉีดวัคซีน HPV ในกลุ่ม LGBTQ

จะเห็นได้ว่า วัคซีน HPV ไม่ได้สำคัญเฉพาะผู้หญิงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง หรือ LGBTQ ก็ล้วนมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส HPV ได้ทั้งนั้น

อีกทั้งโรคจากเชื้อไวรัส HPV ส่วนใหญ่ยังเป็นโรคในกลุ่มโรคมะเร็งที่สามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้ด้วย การที่เราฉีดวัคซีน HPV ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เช็กราคาฉีดวัคซีน HPV แต่ละแบบผ่านเว็บไซต์​ HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแอดมิน ผ่านไลน์ @hdcoth

บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

TH-GSL-00419 11/2023
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมก่อนรับวัคซีน

ที่มาของข้อมูล


บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)