การสแกนอัลตราซาวด์ หรือบางที่ก็ใช้ชื่อว่าโซโนแกรม เป็นกระบวนการที่ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อสร้างภาพภายในร่างกายออกมา
อัลตราซาวด์ยังสามารถใช้เพื่อดูการเติบโตของทารกในครรภ์ การวินิจฉัยโรค หรือเพื่อวางแผนการผ่าตัดได้อีกด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อัลตราซาวด์ทำงานอย่างไร?
จะมีการใช้อุปกรณ์หัวตรวจขนาดเล็กที่ปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูงออกมา
คุณไม่สามารถได้ยินเสียงคลื่นความถี่ได้ แต่เมื่อคลื่นเสียงนั้นแผ่ไปโดนส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย มันจะสร้าง “เสียงสะท้อน” กลับมา ซึ่งหัวตรวจดังกล่าวจะจับคลื่นสะท้อนที่ส่งมาและเปลี่ยนสัญญาณสะท้อนให้กลายเป็นภาพเคลื่อนไหวบนจอ
การเตรียมตัวเข้ารับการตรวจด้วยอัลตราซาวด์
- ก่อนเข้ารับการตรวจอัลตราซาวด์ทุกประเภท คุณต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ภาพที่ได้ออกมาคุณภาพดี ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องปฏิบัติดังนี้:
- ดื่มน้ำและไม่เข้าห้องน้ำทำธุระจนกว่าจะเสร็จสิ้นการสแกน: ซึ่งมักต้องทำเช่นนี้ก่อนการสแกนดูทารกในครรภ์หรือพื้นที่กระดูกเชิงกราน
- ไม่รับประทานอาหารก่อนการสแกนหลายชั่วโมง: เป็นแนวปฏิบัติเพื่อการเข้าสแกนระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงการสแกนตับและถุงน้ำดี
- ทางโรงพยาบาลอาจให้คุณถอดเสื้อผ้าและสวมเสื้อคลุมยาวที่จัดไว้ให้ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ต้องทำการสแกน
- การใช้ยาระงับประสาทเพื่อความผ่อนคลายนั้นจะใช้กับกรณีที่ต้องสอดท่อเข้าไปยังหลังมือหรือแขนของคุณ ในบางกรณีคุณต้องทำการฉีดสารทึบรังสีเข้าร่างกายก่อนการสแกน ซึ่งจะช่วยทำให้ภาพที่ได้ออกมาชัดเจนขึ้น
เกิดอะไรขึ้นระหว่างการสแกนอัลตราซาวด์?
- การสแกนอัลตราซาวด์ส่วนมากใช้เวลาประมาณ 15 ถึง 45 นาที โดยมักทำกันตามแผนกฉายรังสีของโรงพยาบาล และจะทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีวิทยา
- กรรมวิธีนี้ยังสามารถดำเนินการตามสถานที่ชุมชนทั่วไปได้อย่างที่คลินิกเฉพาะทาง และถูกดำเนินการโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอย่างแพทย์ผดุงครรภ์ หรือนักกายภาพบำบัดเอง
- การสแกนอัลตราซาวด์มีอยู่ 3 ประเภทซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามส่วนของร่างกายและเหตุผลที่ต้องการสแกน ดังนี้:
- การสแกนอัลตราซาวด์ภายนอก: จะใช้งานหัวตรวจบนผิวหนัง
- การสแกนอัลตราซาวด์ภายใน: จะสอดหัวตรวจเข้าไปในร่างกาย
- การสแกนอัลตราซาวด์ด้วยการสอดกล้อง: หัวตรวจจะติดอยู่กับท่อยาวบางและมีความยืดหยุ่นมาก ซึ่งถูกใช้สอดเข้าร่างกายในระดับที่ลึกกว่าข้างต้น
รายละเอียดเทคนิคเหล่านี้จะถูกอธิบายไว้ในหัวข้อข้างล่าง
การสแกนอัลตราซาวด์ภายนอก
การสแกนอัลตราซาวด์ภายนอกมักใช้เพื่อตรวจหัวใจหรือทารกในครรภ์ และยังสามารถใช้สำรวจตับ ไต กับอวัยวะอื่น ๆ ในช่องท้องและกระดูกเชิงกรานได้อีก เช่นเดียวกับอวัยวะหรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ ที่สามารถทำการประเมินผ่านผิวหนังได้อย่างกล้ามเนื้อและข้อต่อ
จะมีการใช้หัวตรวจขนาดเล็กที่จะสามารถวางแนบและขยับบนผิวหนังเหนือพื้นที่ที่ต้องการตรวจ
จะมีการใช้เจลหล่อลื่นบนผิวหนังส่วนที่สัมผัสกับหัวตรวจเพื่อให้หัวตรวจขยับได้ลื่นไหลมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดแรงเสียดระหว่างหัวตรวจกับผิวหนังลง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณไม่ควรรู้สึกอะไรนอกจากความเย็นของเจลบนผิวหนัง หากคุณต้องทำการตรวจอัลตราซาวด์ที่มดลูกหรือเหนือเชิงกราน ซึ่งต้องให้คุณกลั้นปัสสาวะไว้จนคุณอาจรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวเล็กน้อย โดยคุณสามารถทำการถ่ายเบาได้หลังจากเสร็จสิ้นการตรวจแล้ว
การตรวจเข้าช่องคลอด หรือการสแกนอัลตราซาวด์ภายใน
การสแกนอัลตราซาวด์ภายในทำให้แพทย์สามารถมองเข้าไปใกล้กับอวัยวะภายในร่างกายของคุณได้อย่างต่อมลูกหมาก รังไข่ หรือช่องคลอด
ระหว่างกระบวนการประเภทนี้ คุณต้องรอบคว่ำลงบนเตียง หรือนอนหันข้างโดยงอเข่าขึ้นบรรจบกับหน้าอกของคุณ
แพทย์จะค่อย ๆ สอดหัวตรวจขนาดเล็กที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วเข้าไปผ่านช่องคลอด หรือทวาร เพื่อตรวจสอบพื้นที่ภายใน ซึ่งภาพจะแสดงออกมาบนหน้าจอ
การตรวจภายในอาจทำสร้างความรู้สึกไม่สบายบ้าง แต่มักไม่สร้างความเจ็บปวดแก่ผู้เข้ารับการตรวจ และมักใช้เวลาตรวจไม่นาน
การสแกนอัลตราซาวด์ด้วยการสอดกล้อง
ระหว่างการสแกนอัลตราซาวด์ประเภทนี้ จะมีการสอดกล้องขนาดเล็กเข้าไปในร่างกายของคุณ ซึ่งมักเข้าไปทางช่องปาก มักใช้เพื่อการตรวจสอบพื้นที่ภายในอย่างกระเพาะ หรือหลอดอาหาร
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณต้องนอนหันข้างในขณะที่กล้องค่อย ๆ ถูกดันเข้าไปในกระเพาะ
กล้องที่ใช้จะมีไฟฉายและอุปกรณ์ปล่อยอัลตราซาวด์ที่ปลาย เมื่อกล้องดังกล่าวถูกดันไปถึงจุดที่ต้องการ กล้องจะสามารถปล่อยคลื่นเสียงออกมาเพื่อสร้างภาพแบบเดียวกับการตรวจแบบภายนอก
วิธีการนี้มักใช้ยาระงับประสาทหรือสเปรย์ยาชาเพื่อทำให้ลำคอของคุณไม่ระคายเคือง แต่กระนั้นการที่กล้องเคลื่อนผ่านลำคอก็ยังอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ได้ คุณจะต้องสวมใส่ที่กั้นปากเพื่อให้ปากของคุณอ้าออกตลอดการตรวจ และเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันของคุณกัดโดนสายกล้อง
หลังการสแกนอัลตราซาวด์
ในกรณีส่วนมากจะไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ และคุณสามารถกลับบ้านได้หลังจากการสแกนเสร็จสิ้น หากไม่มีการใช้ยาระงับประสาท คุณก็สามารถขับรถ รับประทาน ดื่มน้ำ และกลับไปใช้ชีวิตตามปรกติได้ทันที
หากเป็นการสแกนด้วยการสอดกล้องที่มีการใช้ยาระงับประสาท แพทย์จะแนะนำให้คุณพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการเป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือจนกว่ายาจะผ่อนฤทธิ์ลง โดยคุณต้องมีคนรับคุณกลับจากโรงพยาบาลและคอยดูแลคุณเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งระหว่างนี้คุณไม่ควรขับรถ ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ หรือทำงานกับเครื่องจักรใด ๆ
คุณจะได้รับฟังผลการสแกนทันทีที่เสร็จสิ้นกระบวนการ แต่สำหรับกรณีส่วนมาก ต้องมีการวิเคราะห์ภาพที่ได้ก่อนรายงานกลับไปยังแพทย์เจ้าของไข้ของคุณ ซึ่งจะเป็นผู้ชี้แจงผลการสแกนของคุณเอง ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็มักกินเวลาไม่กี่วันเพื่อฟังผล
การสแกนอัลตราซาวด์มีความเสี่ยงหรือมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?
ณ ปัจจุบันไม่พบว่าการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงมีความเสี่ยงต่อร่างกาย ซึ่งแตกต่างจากการสแกนร่างกายที่ผ่าน ๆ มาอย่างซีทีสแกน เนื่องจากการทำอัลตราซาวด์ไม่มีการใช้รังสีใด ๆ
การสแกนอัลตราซาวด์ทั้งภายในและภายนอกไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ และไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด คุณอาจมีความรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัวจากการที่หัวตรวจไถลไปตามผิวหนังหรือสอดเข้าร่างกายของคุณเท่านั้น
สำหรับการสแกนด้วยการสอดกล้องอาจก่อให้เกิดความไม่สบายเนื้อตัวมากกว่าเล็กน้อย และอาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อยอีกเช่นกัน อย่างเช่นมีอาการปวดเมื่อยลำคอ หรือมีอาการท้องอืด และวิธีการนี้ยังมีความเสี่ยงน้อยที่ก่อให้เกิดภาวะเลือดออกภายในอีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง
รีวิว อัลตราซาวด์ช่องคลอด ตรวจภาวะมีบุตรยาก สำหรับผู้หญิง ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall
รีวิว ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบนและส่วนล่าง ที่ รพ.พญาไท 2 | HDmall