กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ภาวะยิ้มเห็นเหงือกมากผิดปกติ (Gummy Smile) แก้ได้ด้วยการตกแต่งเหงือก

ภาวะยิ้มเห็นเหงือกมากผิดปกติอาจทำให้หลายคนสูญเสียความมั่นใจ แต่ภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยการตกแต่งเหงือก
เผยแพร่ครั้งแรก 16 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะยิ้มเห็นเหงือกมากผิดปกติ (Gummy Smile) แก้ได้ด้วยการตกแต่งเหงือก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สาเหตุของภาวะยิ้มเห็นเหงือกมากผิดปกติ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ขอบเหงือนไม่สมมาตร กระดูกกรามเจริญผิดปกติ ฟันสั้น เหงือกเจริญมากไป ซึ่งอาการเหล่านี้จะต้องให้ทันตแพทย์เป็นผู้วินิจฉัย
  • การรักษาภาวะยิ้มเห็นเหงือกมากผิดปกติทำได้ 2 วิธี วิธีแรกคือการตัดแต่งเหงือกด้วยเลเซอร์ สามารถตัดเหงือกได้อย่างรวดเร็วใน 2 นาทีต่อฟัน 1 ซี่ประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เพื่อให้เห็นฟันเต็มซี่ และเพิ่มความยาวของฟัน
  • อีกวิธีคือการตัดแต่งเหงือกร่วมกับการกรอแต่งกระดูกหุ้มฟัน วิธีนี้ใช้เวลานานกว่าวิธีแรกเพราะต้องมีการเย็บแผลและกรอแต่งกระดูกด้านหน้าของรากฟันโดยผ่าตัดยกเหงือกทั้งหมดขึ้น
  • หากไม่สามารถรักษาภาวะนี้ได้ด้วยการตัดเหงือก เนื่องจากผู้ป่วยมีขากรรไกรบนยาวหรือมีฟันซี่เล็กอยู่แล้ว อาจต้องแก้ไขด้วยวิธีผ่าตัดขากรรไกร แต่ถ้าขอบเหงือกของผู้ป่วยไม่เท่ากันอาจต้องรักษาด้วยการจัดฟันแทน
  • ดูแพ็กเกจตัดแต่งเหงือกได้ที่นี่

ภาวะยิ้มเห็นเหงือกมากผิดปกติ (Gummy smile) อาจทำให้หลายคนรู้สึกไม่มั่นใจเมื่อต้องยิ้ม หัวเราะ รวมถึงการสนทนากับฝ่ายตรงข้าม แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น จึงสามารถรักษา หรือแก้ไขภาวะนี้ด้วยการตัดแต่งเหงือก

สาเหตุของภาวะยิ้มเห็นเหงือกมากผิดปกติ

  • ขอบเหงือกไม่สมมาตร หรือไม่กลมกลืนกัน เมื่อยิ้มแล้วเห็นเหงือกมากผิดปกติ
  • ฟัน เหงือก และกระดูกกรามบนเจริญผิดปกติ
  • กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยกริมฝีปากบนและยกมุมปากทำงานเกินปกติ (ยกตัวมากเกินไป)
  • ตัวฟันสั้น หรือเล็กเกินไป
  • เหงือกเจริญลงมาคลุมคอฟันมากเกินไป
  • ขากรรไกรมีความผิดปกติ
  • ริมฝีปากบนสั้น มีลักษณะอยุ่กึ่งกลางปากสูงขึ้นไปกว่าบริเวณมุมปาก
  • บางรายอาจเกิดจากการจัดฟันแล้วเหงือกร่น หรือทำศัลยกรรม เช่น ตัดปากกระจับ ทำให้ยิ้มแล้วเห็นเหงือกเยอะ
  • บางรายอาจรับประทานยาบางชนิดแล้วส่งผลให้เหงือกบวมโต หรือเหงือกร่นได้

การประเมินภาวะยิ้มเห็นเหงือกมากผิดปกติจะต้องทำโดยทันตแพทย์เท่านั้น โดยทันตแพทย์จะทำการตรวจช่องปากอย่างละเอียด พร้อมกับถ่ายภาพรังสี และตรวจสุขภาพเหงือก หากไม่พบความผิดปกติที่เหงือกก็สามารถรักษาภาวะดังกล่าวได้ทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตัดเหงือกวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 485 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีรักษาภาวะยิ้มเห็นเหงือกมากผิดปกติ

การรักษาภาวะนี้ด้วยการตัดแต่งเหงือก สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ได้แก่

1. การตัดแต่งเหงือกเพียงอย่างเดียวด้วยเลเซอร์ (Gingivectomy) 

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีระดับเหงือกสูงผิดปกติ ทันตแพทย์จะผ่าตัดตกแต่งเฉพาะขอบเหงือกส่วนเกินออก โดยการตัดเหงือกออกไปประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เพื่อให้เห็นฟันเต็มซี่ และทำให้ความยาวของฟันเพิ่มขึ้น

วิธีนี้จะดำเนินการโดยใช้เครื่องเลเซอร์ที่เรียกว่า อิเล็กโทรซูเจอรี (Electrosurgery) ที่สามารถตัดเหงือกออกได้อย่างรวดเร็วภายในเวลา 2 นาทีต่อฟัน 1 ซี่ และสามารถห้ามเลือดได้ในตัว มักนิยมนำมาใช้ตัดแต่งเหงือกบริเวณฟันบนด้านหน้า หลังการรักษาอาจรู้สึกเจ็บและบวมเพียงเล็กน้อย  

2. การตัดแต่งเหงือกร่วมกับการกรอแต่งกระดูกหุ้มฟัน (Esthetic Crown Lengthening) 

กรณีที่ผู้ป่วยมีระดับของกระดูกหุ้มฟันสูง ต้องลดความสูงของกระดูกด้วยการผ่าตัดเหงือกออกประมาณ 1-2 มิลลิเมตร และกรอแต่งกระดูกด้านหน้าของรากฟันโดยผ่าตัดยกเหงือกทั้งหมดขึ้น เริ่มจากฟันกรามน้อยอีกด้านไปถึงอีกด้านโดยให้เหลือกระดูกปกคลุมรากฟันให้เพียงพอ วิธีนี้ใช้เวลานานกว่าวิธีแรกและต้องมีการเย็บแผล หลังการรักษาอาจพบอาการบวม หรือเจ็บปวดได้บ้าง

หากทันตแพทย์ไม่สามารถรักษาภาวะยิ้มเห็นเหงือกมากผิดปกติด้วยการตัดเหงือก เนื่องจากผู้ป่วยมีขากรรไกรบนยาว หรือมีฟันซี่เล็กอยู่แล้ว อาจต้องแก้ไขด้วยวิธีผ่าตัดขากรรไกร แต่ถ้าขอบเหงือกของผู้ป่วยไม่เท่ากัน คือ มีเหงือกเยอะแค่บางซี่เพราะปลายฟันไม่สม่ำเสมอกันก็อาจต้องรักษาด้วยการจัดฟันแทน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ค่าใช้จ่าย

การตัดแต่งเหงือกทั้งสองวิธี มีค่าใช้จ่ายในการรักษาประมาณ 5,000 - 20,000 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการรักษา

วิธีดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดเหงือก

การรักษาภาวะยิ้มเห็นเหงือกมากผิดปกติด้วยการตัดแต่งเหงือกร่วมกับการกรอแต่งกระดูกหุ้มฟัน บางกรณีอาจต้องมีการเย็บแผล หลังจากนั้นทันตแพทย์จะดูอาการและนัดตัดไหมประมาณ 7-10 วันหลังการรักษา 

ในระหว่างนี้คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเพียงแต่ต้องรับประทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่งเพราะจะช่วยให้แผลหายบวมเร็วขึ้น

สำหรับการดูแลความสะอาดในช่องปากสามารถทำได้ตามปกติเช่นกัน แต่ในช่วง 3 วันแรก ให้ใช้สำลีก้านชุบน้ำยาบ้วนปากที่ทันตแพทย์ให้มา เช็ดบริเวณแผล 

หลังจากนั้นจึงสามารถแปรงฟันเบาๆ ได้ แต่หลีกเลี่ยงการแปรงฟันบริเวณที่ตัดแต่งเหงือกมา แต่บริเวณอื่นสามารถแปรงได้ตามปกติ หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาบ้วนปากเพราะอาจทำให้ช่องปากระคายเคือง ให้ใช้น้ำเกลืออุ่นๆ แทน 

นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัดจนกว่าแผลจะหายดี และหากพบว่า แผลมีเลือดไหล มีหนอง หรือมีอาการอักเสบ ควรรีบมาพบทันตแพทย์ทันที

ดูแพ็กเกจตัดแต่งเหงือก เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
เลเซอร์เหงือกคืออะไร? ช่วยอะไรบ้าง? มีข้อควรรู้อะไรบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/laser-gingivectomy).
Dayanne M, et al.The treatment of gummy smile: integrative review of literature. Rev. Clin. Periodoncia Implantol. Rehabil. Oral [online]. 2017, vol.10, n.1, pp.26-28.
Kao R, Dault S, Frangadakis K, Salehieh JJ. Esthetic crown lengthening: appropriate diagnosis for achieving gingival balance. J Calif Dent Assoc. 2008;Mar; 36(3):187-91.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)