กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การเดินทางระหว่างตั้งครรภ์-ภาพรวม

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การเดินทางระหว่างตั้งครรภ์-ภาพรวม

การเดินทางระหว่างตั้งครรภ์-ภาพรวม

ในระหว่างการตั้งครรภ์ หากคุณไม่ได้ประสบปัญหาหรืออาการแทรกซ้อนใดๆ ระหว่างตั้งครรภ์ คุณก็สามารถเดินทางได้ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของการตั้งครรภ์ เพียงแค่ต้องแน่ใจว่าได้ปรึกษาแพทย์แล้วว่าสามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้ และต้องมีการเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ รวมถึงเวลาที่ควรงดเว้นการเดินทางคือเมื่อไร  ที่สำคัญระหว่างการเดินทางคุณควรพกข้อมูลประจำตัวของคุณติดตัวไว้ด้วย เช่น กำหนดการคลอดและภาวะทางสุขภาพใดๆ ที่คุณเป็นอยู่

การเดินทางด้วยรถยนต์

ระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวด้วยรถยนต์ โปรดจำไว้ว่า:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • คาดเข็มขัดนิรภัยเสมอ แม้ว่ารถยนต์จะมีถุงลมนิรภัย (air bag) ก็ตาม โดยคาดสายคาดด้านล่างไว้ที่ด้านล่างของท้อง (บนต้นขาด้านบน) ส่วนสายคาดด้านบนให้พาดผ่านเต้านมทั้งสองข้างและอยู่บนหัวไหล่ของคุณ โดยไม่ให้เข็มขัดคาดพาดผ่านหน้าท้องคุณ และปรับสายรัดให้พอดี ไม่หย่อนเกินไป

  • ใช้ถุงลมนิรภัยอย่างเหมาะสม ไม่ว่าคุณจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม ถ้าหากคุณต้องนั่งอยู่ด้านหน้าตำแหน่งของถุงลมนิรภัย ให้ปรับเลื่อนเก้าอี้ถอยหลังมาให้ไกลที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และปรับเบาะให้เอนลงเล็กน้อย เพื่อเพิ่มระยะห่างระหว่างหน้าอกกับถุงลมนิรภัย (10 นิ้ว (25 เซนติเมตร) ขึ้นไป)
  • แวะพักเข้าห้องน้ำและเดินเป็นระยะสั้นๆ อย่างน้อยทุกๆ 2 ชั่วโมงหากต้องเดินทางไกล เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาและลดกดดันที่กระเพาะปัสสาวะ

การโดยสารเครื่องบิน

เมื่อคุณกำลังตั้งครรภ์ ช่วงเวลาที่ปลอดภัยที่สุดในการเดินทางคือ ระหว่างไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ (18-24 สัปดาห์) เพราะเป็นช่วงเวลาที่ความเสี่ยงต่อการแท้งและการคลอดก่อนกำหนดต่ำ สำหรับช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ควรจำกัดระยะทางในการเดินทางไม่เกิน 300 ไมล์จากบ้าน (หรือประมาณ 483 กิโลเมตร) เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์เร่งด่วนที่ต้องพบแพทย์ทันที

คำแนะนำในการโดยสารเครื่องบิน มีดังนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ตรวจสอบกับสายการบินก่อนว่าต้องเตรียมตัวหรือเตรียมเอกสารใดบ้างก่อนการจองตั๋วเครื่องบิน บางสายการบินไม่อนุญาตให้หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์มากกว่า 35 สัปดาห์ขึ้นเครื่องบิน
  • พกเอกสารที่ระบุวันครบกำหนดคลอดระหว่างการเดินทาง เพราะบางสายการบินจะขอดูเอกสารดังกล่าว
  • คาดเข็มขัดนิรภัยบนเครื่องบินไว้ที่ด้านล่างของท้อง (เหนือต้นขา) และให้คาดเข็มขัดนิรภัยไว้ตลอดเวลาที่โดยสารบนเครื่องบินให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะอาจเกิดเหตุการณ์เครื่องบินตกหลุมอากาศเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้

  • ลุกขึ้นเดินไปมาบ้างหากต้องโดยสารเครื่องบินเป็นระยะเวลานาน เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปที่ขา
  • เลือกที่นั่งริมทางเดินหากเป็นไปได้ เพราะจำช่วยให้คุณลุกขึ้นเดินไปรอบๆ เครื่องบินได้ง่ายขึ้น

เมื่อไรที่ไม่ให้โดยสารเครื่องบิน

หลีกเลี่ยงการโดยสารเครื่องบินเมื่อ:

  • อายุครรภ์ถึง 36 สัปดาห์แล้ว
  • หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับรก หรือมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
  • แพทย์แนะนำให้งดโดยสารเครื่องบิน ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากประวัติทางการแพทย์ร่วมกับสภาวะอื่นๆ ที่คุณกำลังเป็นอยู่

ถ้าคุณต้องโดยสารเครื่องบินบ่อยครั้ง เช่น เป็นนักบิน, พนักงานตอนรับบนเครื่องบิน หรืออื่นๆ มีความเป็นไปได้ที่คุณจะได้รับรังสีคอสมิกมากกว่าปกติ โดยค่ารังสีคอสมิกที่ปลอดภัยสำหรับการตั้งครรภ์คือ 1 millisievert การโดยสารเที่ยวบินเป็นครั้งคราวไม่ทำให้เกิดความเสี่ยง แต่ถ้าต้องโดยสารเครื่องบินบ่อยครั้งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในวัยเด็กได้

https://www.webmd.com/baby/tc/travel-during-pregnancy-topic-overview#1


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pregnant Travelers | Travelers' Health. Centers for Disease Control and Prevention. (https://wwwnc.cdc.gov/travel/page/pregnant-travelers)
Air travel during pregnancy. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5997026/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)