พรูเดนเชียล ประกันชีวิต
ชื่อผู้สนับสนุน
พรูเดนเชียล ประกันชีวิต

5 ชนิดมะเร็งที่เสี่ยงจะเป็นได้มากในช่วงวัยทำงาน

ชนิดมะเร็งที่เสี่ยงจะเป็นได้มากในช่วงวัยทำงาน อาการ ค่ารักษา และแนวทางปิดความเสี่ยง
เผยแพร่ครั้งแรก 19 ม.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
5 ชนิดมะเร็งที่เสี่ยงจะเป็นได้มากในช่วงวัยทำงาน

วัยทำงานหรือช่วงอายุประมาณ 23-60 ปี เป็นช่วงวัยเก็บเกี่ยวประสบการณ์ หลายคนทุ่มเทพลังกายใจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายชีวิตในช่วงวัยนี้ จนถึงกับอาจละเลยการดูแลสุขภาพไป

เมื่อพูดถึงปัญหาสุขภาพ โรคร้ายอย่าง “มะเร็ง” ถือว่ามีคนเป็นกันเยอะ โดยจากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พบว่า ช่วงอายุ 30 จะเริ่มมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จำนวนมาก และเพิ่มจำนวนขึ้นตามช่วงอายุที่มากขึ้น ช่วงอายุที่มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่มากที่สุดอยู่ที่อายุ 55 ปี

ทั้งหมดเป็นผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และในบรรดาผู้ป่วยที่สามารถระบุระยะของโรคได้ พบว่าเป็นมะเร็งระยะที่ 4 มากที่สุด รองลงมาเป็นระยะที่ 3, 2 และ 1 ตามลำดับ

ตัวเลขเหล่านี้แสดงได้เห็นว่า โรคมะเร็งเป็นโรคหนึ่งที่คนวัยทำงานต้องเฝ้าระวัง อาการ และหลายคน กว่าจะพบว่าเป็นโรคนี้ ก็เมื่อเข้าสู่ระยะรุนแรงแล้ว

5 ชนิดมะเร็งที่เสี่ยงจะเป็นได้มากในช่วงวัยทำงาน

มาดู 5 ชนิดมะเร็งที่เสี่ยงจะเป็นได้มากในช่วงวัยทำงาน อาการแสดง รวมถึงค่าใช้จ่ายโดยประมาณในการรักษา

1. มะเร็งตับ

มะเร็งตับมีความเสี่ยงจะพบได้บ่อยในช่วง 30-35 ปี พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

มักพัฒนาจากภาวะตับแข็ง ซึ่งมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือรับประทานอาหารปนเปื้อนอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) จากราในอาหารแห้งจำพวกถั่ว พริกป่น หรือบางคนอาจตับแข็งเนื่องจากรับสารกำจัดศัตรูพืช

ระยะแรกของมะเร็งตับมักไม่มีอาการใดๆ เลย กระทั่งก้อนมะเร็งพัฒนาไปมากแล้วจึงค่อยแสดงความผิดปกติ เช่น

  • น้ำหนักลดโดยไม่รู้สาเหตุ
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • เจ็บช่องท้องส่วนบนบริเวณด้านขวา หรืออาจมีอาการบวมบริเวณดังกล่าว
  • มีอาการดีซ่าน ผิวหนังและตาเหลือง
  • อุจจาระสีซีด
  • อ่อนแรง
  • ไม่สบายตัว
  • มีไข้

การรักษามะเร็งตับมักใช้วิธีผ่าตัด เคมีบำบัด หรือปลูกถ่ายตับใหม่ ขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่เป็นและบริเวณที่เกิดก้อนเนื้อร้าย

ค่าใช้จ่ายสำหรับรักษามะเร็งตับด้วยวิธีทำคีโม อยู่ที่ประมาณ 180,000-220,000 บาท

ส่วนการปลูกถ่ายตับ ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ราวๆ 400,000-500,000 บาท ไม่รวมค่ายากดภูมิเดือนละประมาณ 10,000 บาท

2. มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกพบมากในผู้หญิงช่วงอายุ 35-50 ปี กลุ่มเสี่ยงได้แก่ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน ผู้ที่มีลูก 3 คนขึ้นไป หรือมีลูกตั้งแต่อายุยังน้อย

มะเร็งปากมดลูกระยะแรกเริ่มอาจไม่มีอาการแสดงใดๆ เลย จนกระทั่งเข้าสู่ระยะลุกลามแล้วจึงจะมีอาการที่ผู้ป่วยสังเกตได้เอง เช่น

  • รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีตกขาวหรือเลือดออกทางช่องคลอดหลังมีเพศสัมพันธ์ใหม่ๆ
  • มีเลือดที่ไม่ใช่เลือดประจำเดือนออกมาจากช่องคลอด

การรักษามะเร็งปากมดลูกมักใช้หลายวิธีผสมกัน ได้แก่ ผ่าตัด ฝังแร่ และฉายแสง ขึ้นอยู่กับระยะของโรค

ค่าผ่าตัดขึ้นอยู่กับบริเวณที่ต้องผ่าตัดออกไป เทคนิคการผ่า รวมถึงสถานที่ให้บริการ อยู่ที่ราว 70,000-120,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายในการฝังแร่และฉายแสงหรือฉายรังสีรักษามะเร็งปากมดลูกอยู่ที่ประมาณ 150,000 บาท

3. มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมพบมากในผู้หญิงช่วงอายุ 35-55 ปี ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นผลมาจากการสัมผัสฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นเวลานาน พบว่าผู้ที่เคยมีประวัติเป็นมะเร็งรังไข่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรคมะเร็งรังไข่ก็เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมนเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ ผู้ที่มีภาวะอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้รับรังสีปริมาณสูง ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนอื่นๆ เช่นกัน

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมักเข้าพบแพทย์เนื่องจากอาการต่อไปนี้

  • คลำพบก้อนที่เต้านม ใต้แขน หรือรักแร้
  • ลักษณะผิว ขนาด สี ของเต้านมมีความเปลี่ยนแปลง เช่น มีผื่น แดง มีผื่นคล้ายผิวส้ม
  • หัวนมบุ๋ม มีแผล มีเลือดไหลหรือน้ำเหลืองไหลออกมา
  • มีอาการปวดบริเวณเต้านม

การรักษามะเร็งเต้านมอาจใช้หลายวิธีร่วมกัน ได้แก่ การผ่าตัด ทำคีโม ใช้ยา ฉายแสงหรือฉายรังสีรักษา

ค่าผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม อยู่ที่ประมาณ 130,000-160,000 บาท ค่าทำคีโมขึ้นอยู่กับจำนวนเข็มที่ต้องใช้และสถานที่ให้บริการ รวมแล้วอาจอยู่ในหลักแสนถึงล้าน ค่าใช้จ่ายในการฉายรังสีรักษา แบบ 3 มิติ อยู่ที่ประมาณ 85,000 บาท ส่วนแบบ 2 มิติ อยู่ที่ราวๆ 70,000 บาท

4. มะเร็งปอด

บางคนอาจคิดว่า มะเร็งปอดเป็นได้เฉพาะในผู้ที่สูบบุหรี่จัด เนื่องจากผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดได้มากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ราว 10-30 เท่า แต่ความจริงแล้ว แม้ตัวคุณเองไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ก็สามารถรับสารพิษจากบุหรี่ได้จากควันที่คนอื่นสูบ รวมไปถึงมลภาวะ สารพิษ และสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานได้เช่นกัน

โดยส่วนใหญ่มักพบมะเร็งปอดพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

มะเร็งปอดมักมีอาการแสดงเมื่อโรคเป็นมากแล้ว เช่นอาการต่อไปนี้

  • ไอเรื้อรัง โดยอาจเป็นลักษณะไอแห้งๆ หรือไอมีเสมหะ บางครั้งมีเลือดปน
  • มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจสั้นๆ หรือหายใจมีเสียงหวีด
  • เจ็บหน้าอก
  • เสียงแหบ
  • ติดเชื้อในปอดบ่อย
  • เหนื่อยง่ายหรือรู้สึกเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา
  • น้ำหนักลดมากในช่วงเวลาสั้นๆ
  • อาจมีอาการทางระบบประสาท เช่น แขน ขา อ่อนแรง ชา กลั้นปัสสาวะ อุจจาระ ไม่ได้ ถ้าเซลล์มะเร็งปอดลามไปที่สมองหรือไขกระดูกสันหลัง
  • อาจมีอาการปวดกระดูกมาก หากเซลล์มะเร็งลามสู่กระดูกแล้ว

การรักษามะเร็งปอดขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็น ขนาดเซลล์มะเร็ง ความรุนแรงของโรค และสภาพร่างกายผู้ป่วย อาจใช้วิธีผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออก ทำคีโม ฉายแสง หรือใช้วิธีรักษาแบบตรงจุดหรือแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy)

ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดรักษามะเร็งปอดประมาณ 20,000 บาท ค่าทำคีโมขึ้นอยู่กับสูตรยา ราคาต่อ 1 เข็มอยู่ที่หลักหมื่นปลายๆ หรืออาจเกิน 100,000 บาท และต้องทำหลายครั้ง ค่าใช้จ่ายสำหรับการฉายแสงรักษามะเร็งปอด ด้วยเทคนิค IMRT/VMAT อยู่ที่ประมาณ 200,000 บาท เทคนิค 3 มิติ อยู่ที่ 150,000 บาท

ส่วนการรักษาแบบตรงจุดหรือแบบมุ่งเป้าซึ่งให้ผลค่อนข้างดี และมีผลข้างเคียงต่อเซลล์ดีบริเวณใกล้ๆ น้อย ราคาค่อนข้างสูงมาก คืออยู่ที่ประมาณ 170,000-2,000,000 บาท

5. มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนังมักพบในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เพศชายเป็นมากกว่าเพศหญิง บริเวณผิวนอกร่มผ้ามีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนังมากกว่าบริเวณในร่มผ้า เนื่องจากปัจจัยที่ทำให้เป็นมะเร็งชนิดนี้ได้มากคือรังสีอัลตราไวโอเลต

คนวัยทำงานที่ต้องอยู่กลางแจ้งหรือออกแดดเป็นประจำ ซึ่งผิวหนังต้องสัมผัสกับรังสี UVA และ UVB บ่อยๆ จึงจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง

เนื่องจากเป็นอวัยวะที่อยู่ภายนอกจึงเห็นความผิดปกติได้ค่อนข้างง่าย โดยเฉพาะบริเวณแขน ขา มือ ใบหน้า อาการที่ควรสังเกตเพราะอาจบ่งชี้ถึงมะเร็งผิวหนัง ได้แก่

  • ไฝที่มีอยู่เดิมมีลักษณะเปลี่ยนไป เช่น ไม่สมมาตร ขอบไฝไม่เรียบ สีไม่สม่ำเสมอ
  • ไฝหรือปานที่มีอยู่โตเร็วขึ้น
  • มีผื่นหรือก้อนเกิดใหม่ โดยไม่หายไปแม้ผ่านไปแล้ว 4-6 สัปดาห์
  • เป็นแผลเรื้อรัง ไม่หายใน 4 สัปดาห์

วิธีรักษามะเร็งผิวหนังมักใช้วิธีขูดออกและจี้ด้วยไฟฟ้า จี้เย็น หรือผ่าตัดผิวหนังและเนื้อเยื่อโดยรอบออก ซึ่งอาจต้องทำหลายครั้ง

ตัวอย่างค่ารักษามะเร็งผิวหนังด้วยวิธีจี้เย็น ผ่าตัด จากสถาบันโรคผิวหนัง อยู่ที่หลักร้อยถึง 2,000 บาทต่อจุดต่อครั้งครั้ง

อย่างไรก็ตาม การรักษามะเร็งมักไม่ใช่แค่จ่ายค่าผ่าตัด ฉายแสง ทำคีโม ดังข้างต้นแล้วจบ ยังมักมีค่าห้องสำหรับผู้ป่วย ค่าเดินทาง หรืออาจต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย

นอกจากนี้โรคมะเร็งยังเป็นโรคที่ต้องมีการติดตามผลการรักษาต่อเนื่อง ต้องคอยระมัดระวังเซลล์มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะอื่น อาจต้องรับประทานยาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น แนวทางการรับประทานอาหาร

เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ยังไม่นับว่าในช่วงเป็นมะเร็ง ผู้ป่วยย่อมมีคุณภาพชีวิตแตกต่างไปจากเดิม บางคนอาจไม่สามารถทำงานในตามปกติ ทำให้ขาดรายได้

ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคมะเร็ง

การดูแลสุขภาพ หรือป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็น 5 ชนิดมะเร็งที่เสี่ยงจะเป็นได้มากในช่วงวัยทำงาน หรือมะเร็งชนิดอื่นๆ อย่างแรกคือต้องรู้เท่าทันมะเร็งแต่ละชนิด เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้อย่างเหมาะสม เช่น

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือสวมแมสก์ป้องกันฝุ่นในช่วงที่ฝุ่น PM 2.5 มีความหนาแน่นสูง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอด
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ เพื่อลดความเสี่ยงของมะเร็งตับ
  • ฉีดวัคซีน HPV เพื่อป้องกันไวรัส HPV สาเหตุใหญ่ของมะเร็งปากมดลูก
  • ทาครีมกันแดดที่มีสารป้องกันรังสี UVA และ UVB เมื่อต้องออกกลางแจ้ง โดยไม่ลืมทาครีมซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันมะเร็งผิวหนัง

นอกจากนี้ เนื่องจากมะเร็งระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการใดๆ การตรวจคัดกรองมะเร็งตามความเสี่ยงด้านพฤติกรรม เพศ และวัย จึงเข้ามาเป็นตัวช่วยเพื่อให้พบโรคตั้งแต่เนิ่นๆ นำไปสู่การรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งโอกาสจะรักษาหายก็จะมีมากกว่ารักษาเมื่อเป็นระยะลุกลาม

ข้อสำคัญคือ ทุกคนควรสังเกตร่างกายของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ดูว่ามีอะไรผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนแก่แพทย์ผู้ทำการตรวจ เพื่อให้ได้ผลแม่นยำที่สุด

รับมืออาการเจ็บป่วย ด้วยประกันสุขภาพจาก พรูอีซี่แคร์

แม้จะดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ตรวจคัดกรองตามช่วงอายุ แต่การเกิดโรคมะเร็งยังมีปัจจัยภายในอย่างพันธุกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้

ดังนั้นเพื่อปิดความเสี่ยงด้านค่ารักษา ประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษามะเร็งจึงเข้ามาเป็นทางเลือกหนึ่ง กดเช็คเบี้ยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

ปิดความเสี่ยงล้มละลายเพราะรักษามะเร็ง ด้วยประกันสุขภาพ พรูอีซี่แคร์

  • อายุรับประกันภัยตั้งแต่ 20-60 ปี เหมาะสำหรับวัยทำงาน First Jobber ก็ทำได้ มี 4 แผนให้เลือก คุณบริการจัดการความเสี่ยงเองได้ตามใจ
  • ให้ผลประโยชน์รวมสูงสุด 1 ล้านบาท ตั้งแต่วันเริ่มสัญญาถึงอายุ 65 ปี
  • ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าผ่าตัด ค่าแพทย์ ค่ารถพยาบาล และค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ
  • ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกโรคมะเร็ง ค่ารักษาต่อเนื่อง ตามความจำเป็นทางการแพทย์อันเป็นผลมาจากโรคมะเร็ง

วัยเริ่มทำงานที่อายุยังน้อยที่ดูสุขภาพแข็งแรง ยังไม่เคยเกิดความปกติใดๆ บ่งบอกว่าเป็นมะเร็ง อาจคิดว่าการซื้อประกันสุขภาพไม่จำเป็น ความจริงแล้วประกันสุขภาพควรมีไว้ก่อนตั้งแต่ยังสุขภาพแข็งแรงดี เนื่องจากด้วยเงื่อนไขของบางกรมธรรม์ ถ้ามีอาการป่วยขึ้นแล้วจะไม่สามารถทำประกันได้

อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง เงื่อนไขอาจมีการเปลี่ยนแปลง สำหรับประกันสุขภาพ ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกโรคมะเร็ง พรูอีซี่แคร์ สามารถสอบถามเพิ่มเติมที่ตัวแทนประกันภัย พรูเดนเชียล ประกันชีวิต

การดูแลสุขภาพ ป้องกันก่อนเกิดโรค เป็นสิ่งสำคัญ แต่การเตรียมพร้อมเผื่อไว้กรณีเกิดเหตุไม่คาดคิด ก็เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Prudential ประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ พรูอีซี่ แคร์ (https://www.prudential.co.th/corp/prudential-th/th/health/prueasy-care/).
ผศ. ดร. คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร, มะเร็งตับ รู้เร็ว วินิจฉัยเร็ว รักษาหายได้ (https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/420/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%9A/).
นพ. วีรวุฒิ อิ่มสำราญ และคณะ, โรคมะเร็ง (Cancer) (http://training.dms.moph.go.th/rtdc/storage/app/uploads/public/59b/9e7/953/59b9e79536bef196682686.pdf), 2557.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)