ชวิน รวิทิวากุล
เขียนโดย
ชวิน รวิทิวากุล
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

รู้จักแก๊สน้ำตา สารเคมีที่ส่งผลต่อทั้งดวงตา ปอด และผิวหนัง

มาดูวิธีป้องกันและปฐมพยาบาลเมื่อสัมผัสแก๊สน้ำตา สารเคมีที่ส่งผลต่อทั้งดวงตา ปาก ลำคอ ปอด และผิวหนัง
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ต.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 14 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
รู้จักแก๊สน้ำตา สารเคมีที่ส่งผลต่อทั้งดวงตา ปอด และผิวหนัง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แก๊สน้ำตา เป็นสารประกอบทางเคมีที่ออกฤทธิ์ระคายเคืองดวงตา ปาก ปอด และผิวหนัง การป้องกันแก๊สน้ำตาทำได้โดยการปกปิดร่างกายให้มีส่วนที่สัมผัสแก๊สน้ำตาน้อยที่สุด ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย แว่นกันลม เสื้อแขนยาว 
  • เมื่อแก๊สน้ำตาสัมผัสกับร่างกาย อาจส่งผลดังนี้ น้ำตาไหล แสบตา ตาแดง เห็นภาพไม่ชัด น้ำมูกไหล แสบจมูก จมูกบวม น้ำลายไหล แน่นหน้าอก ไอ หายใจมีเสียง หอบถี่ แสบร้อนตามผิวหนัง 
  • เมื่อสัมผัสแก๊สน้ำตาควรรีบออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด หลีกเลี่ยงการวิ่งเพราะจะทำให้หายใจเร็ว และสูดเอาแก๊สน้ำตาเข้าไปมากขึ้น เมื่อมีโอกาสควรล้างหน้าล้างตาด้วยน้ำสะอาด
  • ขึ้นที่สูงเพื่อหาอากาศบริสุทธิ์ เพราะแก๊สน้ำตามักตกลงที่ต่ำ หากมีโอกาสควรถอดเสื้อผ้าที่สัมผัสแก๊สน้ำตาออก แล้วรีบอาบน้ำล้างตัวเพื่อชะล้างแก๊สน้ำตาออกโดยเฉพาะบริเวณผม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

หนึ่งในอุปกรณ์สลาย หรือควบคุมฝูงชนที่เห็นกันบ่อยทั้งในเมืองไทยเองและต่างประเทศก็คือ “แก๊สน้ำตา” หลายคนเข้าใจว่า แก๊สน้ำตาทำให้มีอาการแสบตา น้ำตาไหลจนต้องหลบออกจากหมอกควันเท่านั้น

แต่ความจริงแล้ว แก๊สน้ำตาส่งผลต่ออวัยวะอื่นๆ ได้มากมายทั้งภายนอกและภายใน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แก๊สน้ำตาคืออะไร?

แก๊สน้ำตา (Tear gas) หรือสารควบคุมฝูงชน (Riot control agent) เป็นสารประกอบทางเคมีที่ออกฤทธิ์ระคายเคืองดวงตา ปาก ลำคอ ปอด และผิวหนัง ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง

ส่วนประกอบของแก๊สน้ำตามีหลายอย่าง สารประกอบที่สำคัญ ได้แก่

  • Chloroacetophenone (CN) เป็นสารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง มีใช้มาตั้งแต่แก๊สน้ำตาในยุคสงครามโลก มีความอันตรายต่อร่างกายมากกว่าสารตัวอื่น
  • Chlorobenzylidenemalononitrile (CS) เป็นสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองเช่นกัน แต่มีอันตรายน้อยกว่า CN สามารถล้างออกได้ด้วยน้ำเปล่า

นอกจากนี้ยังมีสารประกอบอื่นๆ ที่อาจจะพบได้ เช่น

  • Chloropicrin (PS) เป็นสารสร้างความระคายเคืองให้ปอด ตา และผิวหนัง
  • Bromobenzyl Cyanide (CA) เป็นสารที่ทำให้น้ำตาไหลและระคายเคืองตา
  • Dibenzoxazepine (CR) เป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตาและผิวหนังมากกว่าทางเดินหายใจ

ปัจจุบันมีการนำแก๊สน้ำตามาพัฒนาหลายรูปแบบเพื่อประโยชน์ในการใช้งาน เช่น กระป๋อง กระสุน ระเบิด สเปรย์ ของเหลว

วิธีป้องกันแก๊สน้ำตา

หลักการป้องกันแก๊สน้ำตาทำได้โดยการปกปิดร่างกายให้มากที่สุด เพื่อเหลือพื้นที่ให้ร่างกายสัมผัสกับแก๊สน้ำตาให้น้อยที่สุด โดยอาจทำตามข้อควรปฎิบัติดังต่อไปนี้

  • สวมหน้ากากอนามัย หรือหากหาไม่ได้ในบริเวณใกล้เคียง อาจใช้ผ้าพันคอพันรอบตั้งแต่จมูกไปจนถึงใต้คาง
  • สวมแว่นกันลม แก๊สน้ำตาส่งผลให้ระคายเคืองดวงตาค่อนข้างมาก ควรสวมแว่นกันลมขนาดใหญ่ หรือแว่นสำหรับใส่ว่ายน้ำเพื่อป้องกัน
  • สวมเสื้อผ้ามิดชิด อาจเตรียมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวและผ้าพันคอไป เพื่อปกปิดผิวกายจากแก๊สให้มากที่สุด

หากไม่ได้ใส่แว่นกันลม หรือแว่นสำหรับใส่ว่ายน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการสวมคอนแทคเลนส์ เพราะไม่สามารถป้องกันแก๊สน้ำตาได้ และอาจทำให้ระคายเคืองมากกว่าเดิม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แก๊สน้ำตามีผลต่อร่างกายอย่างไร?

เมื่อแก๊สน้ำตากระจายตัวในอากาศ สารเคมีจะจับกับความชื้นต่างๆ รวมถึงความชื้นจากร่างกายของมนุษย์ เช่น น้ำตา ไขมันที่ผิวกาย ไขมันจากเส้นผม น้ำมูก น้ำลาย

เมื่อแก๊สน้ำตาสัมผัสกับร่างกาย สารเคมีภายในแก๊สจะส่งผลต่อประสาทสัมผัสของร่างกายทำให้เกิดอาการระคายเคืองภายในไม่กี่วินาทีที่สัมผัส

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกาย มีดังนี้

  • ผลต่อดวงตา เช่น น้ำตาไหล แสบร้อน ตาแดง เห็นภาพไม่ชัด
  • ผลต่อจมูก เช่น น้ำมูกไหล แสบจมูก จมูกบวม
  • ผลต่อปาก เช่น แสบ ระคายเคือง กลืนลำบาก น้ำลายไหล
  • ผลต่อปอด เช่น แน่นหน้าอก ไอ หายใจมีเสียง หายใจหอบถี่
  • ผลต่อผิวหนัง เช่น แสบร้อน มีผื่นแดงขึ้น
  • ผลต่อหัวใจ เช่น อาจเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและเป็นอันตรายในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
  • อื่นๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน

แต่ผลข้างเคียงอาจหายไปหลังออกจากสถานที่ที่มีแก๊สน้ำตา หรือชำระล้างบริเวณที่สัมผัสแก๊สน้ำตาเรียบร้อยแล้ว ประมาณ 15-30 นาที หากอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากนั้น หรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ หรือตรวจสุขภาพ เพื่อหาสาเหตุของอาการที่แท้จริง

อย่างไรก็ตาม แก๊สน้ำตาสามารถทำอันตรายร้ายแรงต่อปอดได้เมื่อหายใจเข้าไปปริมาณมากในพื้นที่ปิด และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

วิธีปฏิบัติตัวเมื่อสัมผัสแก๊สน้ำตา

เมื่อสัมผัสถูกแก๊สน้ำตา ควรทำตามข้อปฎิบัติดังต่อไปนี้

  • ออกจากพื้นที่ทันที ผลข้างเคียงของแก๊สน้ำตาจะมากขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณและเวลาที่สัมผัสแก๊ส
  • เดินเร็วได้แต่ไม่ควรวิ่ง การวิ่งจะทำให้หายใจเร็วขึ้นมาก และสูดเอาแก๊สน้ำตาเข้าไปมากขึ้น ดังนั้นควรใช้วิธีการเดินเร็วออกจากพื้นที่
  • ล้างหน้าล้างตาด้วยน้ำสะอาด หากรู้สึกระคายเคืองดวงตา ตาพร่า ให้ล้างด้วยน้ำสะอาด 10-15 นาที ไม่ควรใช้สิ่งแปลกปลอม เช่น เบคกิ้งโซดา หรือนมในการล้างออก เพราะยังมีหลักฐานน้อยเกินกว่าจะยืนยันความปลอดภัย
  • พยายามขึ้นที่สูงเพื่อหาอากาศบริสุทธิ์ แก๊สน้ำตามักจะลอยตัวอยู่ที่ต่ำ การขึ้นที่สูงจึงเป็นวิธีที่ดีในการหลีกเลี่ยงแก๊ส
  • อาบน้ำล้างสบู่ หากมีโอกาสควรถอดเสื้อผ้าที่สัมผัสแก๊สน้ำตาออก แล้วรีบอาบน้ำล้างตัวเพื่อชะล้างแก๊สน้ำตาออกโดยเฉพาะบริเวณผม
  • ไม่ควรจับกระป๋องแก๊สน้ำตาด้วยตัวเอง การจับกระป๋องแก๊สเพื่อโยนออกไปห่างๆ อาจทำให้ได้รับผลข้างเคียงรุนแรงขึ้นกว่าเดิม วิธีที่ดีที่สุดคือ การออกจากพื้นที่
  • แยกเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนแก๊ส สารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองอาจอยู่ได้นานหลายวัน ดังนั้นควรตากเสื้อผ้าที่โดนแก๊สน้ำตาไว้ในที่อากาศถ่ายเทอย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนนำมาซัก

หากทำตามข้อควรปฎิบัติต่างๆ แล้วอาการยังไม่หายไปหลัง 30 นาที หรือมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับปอดและดวงตามากขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรับการตรวจตาและตรวจปอด รวมทั้งตรวจรายการที่จำเป็นต่อไป 

โดยรวมแล้วแก๊สน้ำตาเป็นอาวุธที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ แต่ผลข้างเคียงมักเกิดในระยะสั้นและไม่รุนแรง ส่วนหัวใจสำคัญของป้องกันแก๊สคือ สัมผัสกับแก๊สน้ำตาให้น้อยที่สุดและระยะเวลาสั้นที่สุด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ
จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rothenberg C, Achanta S, Svendsen ER, Jordt SE. Tear gas: an epidemiological and mechanistic reassessment. Ann N Y Acad Sci. 2016 Aug;1378(1):96-107. doi: 10.1111/nyas.13141. Epub 2016 Jul 8. PMID: 27391380; PMCID: PMC5096012.
Hysician for human right, Preparing for, Protecting Against, and Treating Tear Gas and Other Chemical Irritant Exposure: A Protester’s Guide (https://phr.org/our-work/resources/preparing-for-protecting-against-and-treating-tear-gas-and-other-chemical-irritant-exposure-a-protesters-guide/), 10 December 2020.
Daniel Yetman, How Does Tear Gas Affect the Human Body? (https://www.healthline.com/health/tear-gas-effects), 10 December 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)