กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การผ่าตัดแปลงเพศและความสุข

ผู้คนมีความสุขมากขึ้นหลังการผ่าตัดแปลงเพศ
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 4 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การผ่าตัดแปลงเพศและความสุข

ผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศตั้งใจที่จะเปลี่ยนจากชายเป็นหญิงโดยทั่วไปนั้นมีความสุขดี โดยมีจำนวน 96% ที่ต้องการผ่าตัดศัลยกรรมเพิ่มขึ้นอีกด้วย แม้ว่างานวิจัยในหัวข้อนี้จะทำออกมาดีเพียงใด แต่ก็ยังคงมีข้อจำกัดใหญ่ ๆ บางประการ

อุปสรรค์ของงานวิจัยการแปลงเพศ

ข้อจำกัดแรกคือจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีจำนวนน้อย (small sample sizes) อย่างไรก็ตาม เราต้องระลึกไว้เสมอว่าขนาดของกลุ่มตัวอย่างแม้จะเป็นเพียงไม่กี่ร้อยคนก็สามารถให้ผลที่มีนัยสำคัญทางสถิติได้ ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนคนข้ามเพศทั่วโลกนั้นมีน้อย โดยที่มีการประมาณเพียงแค่ครั้งเดียวว่าอย่างมากที่สุดคือมีผู้หญิงข้ามเพศ 11,900 คน และมีผู้ชายข้ามเพศ 30,400 คน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผ่าตัดแปลงเพศ วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 178,200 บาท ลดสูงสุด 32,100 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ข้อจำกัดอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับงานวิจัยเรื่อง SRS คืออคติที่เกิดจากการเลือกตัวอย่าง (sampling bias) เช่น นักวิจัยแจกแบบสอบถาม และบางครั้งมีเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศแล้วเท่านั้นที่ตอบแบบสอบถาม  

มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้แนะว่ามีจำนวนผู้ที่ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงจำนวนมากที่พอใจกับการผ่าตัด และตามที่ได้กล่าวไปแล้ว หลายรายอยากได้รับการผ่าตัดเพิ่มเติม ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่ของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดยังถึงจุดสุดยอดได้อีกด้วย

ความคิดเห็นของคนที่ผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิง

ต่อไปนี้เป็นบางส่วนของการค้นพบซึ่งอ้างอิงจากตัวอย่างของงานวิจัยเกี่ยวกับการผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิง

  • มากกว่า 90 % ของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศกล่าวว่ามีความพึงพอใจกับการผ่าตัด  
  • คนส่วนใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • 78% ของผู้เข้าร่วมวิจัยพึงพอใจกับรูปลักษณ์ของอวัยวะเพศใหม่
  • ระหว่าง 56-85% ของผู้เข้าร่วมมีความสุขดีกับการใช้งานอวัยวะเพศใหม่
  • ประมาณ 82% ของผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถไปถึงจุดสุดยอดได้ระหว่างการช่วยตนเองและการมีเพศสัมพันธ์
  • การถึงจุดสุดยอดนั้นแตกต่างออกไปหลังการผ่าตัดหากกล่าวในรายละเอียด การถึงจุดสุดยอดจะสั้นกว่าและรุนแรงกว่าในผู้ที่แปลงเพศจากชายเป็นหญิง
  • หลายรายมีกิจกรรมทางเพศเพิ่มขึ้นหลังการผ่าตัด รวมถึงการร่วมเพศโดยการสอดใส่ทางช่องคลอด
  • บางคนที่ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศมีความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด
  • ผู้วิจัยชี้แนะให้ผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศได้รับการสนับสนุนทางด้านจิตใจหลังการผ่าตัด

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความก้าวหน้าของการผ่าตัดแปลงเพศเพียงใด แต่ก็ยังขาดการสนับสนุนทางด้านจิตใจอย่างเป็นระบบสำหรับประชากรกลุ่มนี้ ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา เราไม่เพียงแต่จะล้มเหลวในการสนับสนุนทุนวิจัย แต่ยังล้มเหลวในการจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อถือและพึ่งพาได้เพื่อให้เกิดการรักษาดังกล่าว

หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเกิดขึ้นในการรับรู้ของชาวอเมริกันคือ การทำให้เกิดการสนับสนุนและเข้าใจปัญหาของบุคคลข้ามเพศ ชาวอเมริกันหลายรายไม่เข้าใจว่าผู้ที่ต้องการผ่าตัดแปลงเพศ ต้องการรักษาด้วยฮอร์โมนเช่นกัน

บรูซ เจนเนอร์ เป็นคนโชคดีที่สามารถรับค่าใช้จ่ายไหว โชคไม่ดีที่ไม่ใช่ทุกคนมีเงินมากพอที่จะผ่านกระบวนการผ่าตัดแปลงเพศได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักทำที่ต่างประเทศ ถึงแม้ว่าคุณอยากจะหาเงินให้มากเพียงพอเพื่อบินไปกรุงเทพหรือยุโรปเพื่อการผ่าตัดดังกล่าว แต่ก็จะมีเงินเหลืออยู่เพียงน้อยนิดสำหรับการตรวจติดตาม รวมทั้งการดูแลและติดตามในเรื่องของสุขภาพจิต นั่นแหละ เริ่มมองเห็นปัญหาหรือยังข้อสังเกต: ในเวลาที่บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ แคธิลีน เจนเนอร์ ยังไม่ได้ประกาศให้โลกรับรู้ถึงชื่อของเธอหรือความต้องการที่จะใช้คำสรรพนามแบบผู้หญิง


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Gender dysphoria - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/gender-dysphoria/treatment/)
LGBTQ Rights, Health, and Wellness. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/lgbtq-4157189)
Quality of Life Following Male-To-Female Sex Reassignment Surgery. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6546862/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)