ชวิน รวิทิวากุล
เขียนโดย
ชวิน รวิทิวากุล

อันตรายจากกระสุนยาง

รู้จักกระสุนยาง อุปกรณ์ควบคุมฝูงชนที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้! หากถูกยิงที่จุดสำคัญ
เผยแพร่ครั้งแรก 1 มี.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 1 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อันตรายจากกระสุนยาง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • กระสุนยาง ภาษาอังกฤษคือ Rubber bullets เป็นอุปกรณ์ที่มักใช้ในการสลาย หรือควบคุมฝูงชน ผลิตจากพลาสติก ยาง หรือวัสดุที่ใกล้เคียงกันก็ได้
  • คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights) ได้ให้คำแนะนำในการใช้กระสุนยางว่า ควรเล็งเฉพาะช่องท้องส่วนล่าง หรือขา เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายร้ายแรง
  • อันตรายที่อาจเกิดจากกระสุนยาง เช่น อาจเกิดอาการช้ำ เลือดออก อาจกระดูกหัก อาจทำให้อวัยวะภายในบาดเจ็บ หากถูกยิงที่ใบหน้า ดวงตา อาจทำให้ตาบอดได้
  • งานวิจัยจาก British Medical Journal: BMJ ได้สำรวจผู้ได้รับบาดเจ็บจากกระสุนยางกว่า 2,135 คน มีผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงถึง 71% และมีผู้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ 3%
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

การชุมนุมประท้วงในประเทศต่างๆ ทั่วโลก มีโอกาสเกิดการกระทบกระทั่งกันบ้างเป็นธรรมดา หนึ่งในวิธีควบคุมเหตุกระทบกระทั่งกันได้แก่การใช้อุปกรณ์ระงับเหตุต่างๆ เช่น แก๊สน้ำตา รถฉีดน้ำแรงดันสูง

ล่าสุดประเทศไทยเองก็มีการใช้อุปกรณ์อีกชิ้นที่หลายคนเป็นกังวลว่าจะเกิดอันตรายได้ คือ “กระสุนยาง” ในบทความนี้จะพามารู้จักกระสุนยาง อันตรายที่อาจเกิดขึ้น และวิธีป้องกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กระสุน ยาง คือ อะไร?

กระสุนยาง ภาษาอังกฤษคือ Rubber bullets เป็นอุปกรณ์ที่มักใช้ในการสลาย หรือควบคุมฝูงชน ที่มีการผลิตออกมาแล้วมากกว่า 75 ชนิดในหลายประเทศ

กระสุนยางอาจผลิตจากพลาสติก ยาง หรือวัสดุที่ใกล้เคียงกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต บางชนิดอาจมีส่วนประกอบของอะลูมิเนียมหุ้มยางด้วยบางส่วน หัวกระสุนจะเป็นพลาสติกแข็งสำหรับรับแรงปะทะ มีขนาดใหญ่กว่ากระสุนจริงเพื่อลดอันตรายจากการเจาะทะลุ ใช้กับปืนควบคุมฝูงชนแบบบรรจุกระสุนทีละ 1 นัด

ขนาดของกระสุนยางอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด แต่ส่วนมากกระสุนยางอาจมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วครึ่ง ความยาวที่ประมาณ 3 นิ้ว และมีน้ำหนักประมาณ 85 กรัม

กระสุนยาง ใช้ยิงที่ไหน?

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights) ได้ให้คำแนะนำในการใช้กระสุนยางเมื่อถูกคุกคาม เผชิญหน้ากับอันตราย และควรเล็งเฉพาะช่องท้องส่วนล่าง หรือขา เพราะหากยิงบริเวณใบหน้าอาจทำให้เกิดอันตรายได้

กระสุนยาง อันตรายอย่างไร?

กระสุนยางมีระยะหวังผลประมาณ 50-100 เมตร อาการที่พบได้บ่อยคือทำให้ผู้ถูกยิงรู้สึกตกใจ หยุดชะงัก และไม่ได้หมายเอาชีวิต

แต่กระสุนยางอาจถูกยิงออกจากกระบอกปืนด้วยความเร็วใกล้เคียงกับกระสุนจริง จึงมีโอกาสเกิดอันตรายได้เช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อถูกยิงจุดสำคัญ หรือยิงในระยะใกล้เกินไป ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • อาจเกิดอาการช้ำ เลือดออก
  • อาจกระดูกหัก
  • อาจทำให้อวัยวะภายในบาดเจ็บ เลือดออก
  • อาจมีส่วนทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • อาจเกิดการติดเชื้อ
  • อาจเกิดการบาดเจ็บเกี่ยวกับระบบประสาท
  • หากถูกยิงที่ใบหน้า หรือดวงตา อาจทำให้เลือดออกในตา กระจกตาบาดเจ็บ หรือตาบอดได้
  • หากถูกยิงบริเวณศีรษะ อาจทำให้กระดูกบริเวณกระโหลกแตกหัก หรือมีเลือดออกในสมองได้

อาการบาดเจ็บหลายชนิดสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตัวเอง แต่ไม่ควรปล่อยปะละเลยหากถูกยิงด้วยกระสุนยาง เพราะบางรายอาจไม่แสดงอาการใดๆ หลังถูกยิงด้วยกระสุนยางใหม่ๆ แต่ความบาดเจ็บภายในอาจนำไปสู่อันตรายร้ายแรงภายหลังได้ โดยเฉพาะเมื่อถูกยิงบริเวณศีรษะ และลำคอ

เคยมีคนบาดเจ็บรุนแรงจากกระสุนยางไหม?

งานวิจัยจาก British Medical Journal: BMJ ได้สำรวจผู้ได้รับบาดเจ็บจากกระสุนยางกว่า 2,135 คน มีรายละเอียดหลักๆ ดังต่อไปนี้

  • มีผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงถึง 71%
  • มีผู้ได้รับบาดเจ็บจนเกิดความพิการถาวร 15% (อาจมีการบาดเจ็บจากอุปกรณ์อื่นในระหว่างการประท้วงด้วย)
  • มีผู้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ 3%

ดังนั้น อุปกรณ์ควบคุมฝูงชนเกือบทุกชนิดสามารถทำอันตรายได้ โดยเฉพาะกระสุนยางที่ควบคุมทิศทางการปล่อยกระสุนได้ยาก และไม่สามารถคาดเดาได้ จึงควรหลีกเลี่ยง หรือหาวิธีป้องกันอย่างดีที่สุด

กระสุนยาง ป้องกัน อย่างไร?

การป้องกันเบื้องต้นสำหรับพื้นที่ที่มีการใช้กระสุนยาง อาจมีดังนี้

  • ควรสวมหน้ากาก (Face shield) หมวกกันน็อก หรือแว่นตากันลม เพื่อป้องกันกระสุนยางโดนอวัยวะสำคัญบนใบหน้า
  • ควรสวมเสื้อกันกระสุน หรือเสื้อผ้าที่ปกคลุมร่างกายให้มากที่สุด ก็สามารถลดแรงกระแทกจากกระสุนได้เช่นกัน
  • หากโดนยิงด้วยกระสุนยาง ควรออกจากสถานที่ และพบแพทย์ที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะหากโดนบริเวณลำคอ เนื่องจากความบาดเจ็บอาจส่งผลกระทบโครงสร้างในร่างกาย เช่น เส้นเลือด กระดูก และกล้ามเนื้อ จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
  • หากมีเลือดออก มีแผล ควรออกแรงกดบริเวณที่มีเลือดออก และใช้น้ำแข็งประคบ

อย่างไรก็ตาม แม้จะเตรียมการป้องกันมาแล้ว หากถูกยิงด้วยกระสุนยาง ก็ยังควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กอาการที่อาจมองไม่เห็น เช่น การเอกซ์เรย์กระดูก

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Claire Gillespie, Why Rubber Bullets Are So Dangerous, and What to Do if You're Shot With One, (https://www.health.com/mind-body/rubber-bullets), 1 March 2021.
The New York times, Rubber Bullets and Beanbag Rounds Can Cause Devastating Injuries, (https://www.nytimes.com/2020/06/12/health/protests-rubber-bullets-beanbag.html?auth=login-google1tap&login=google1tap), 12 June 2020.
National Geographic, From tear gas to rubber bullets, here’s what ‘nonlethal’ weapons can do to the body, (https://www.nationalgeographic.com/science/article/what-nonlethal-weapons-can-do-to-the-body-george-floyd), 6 June 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)