โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ชื่อผู้สนับสนุน
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

การดูแลสุขภาพเฉพาะทางสำหรับ LGBTQ+

เข้าใจทุกการดูแลสุขภาพสำหรับ LGBTQ+ แบบครบรอบด้าน และรู้จัก Pride Clinic ของบำรุงราษฎร์ คลินิกสำหรับ LGBTQ+ โดยเฉพาะ
เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 12 ก.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การดูแลสุขภาพเฉพาะทางสำหรับ LGBTQ+

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • LGBTQ+ คือกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ
  • นอกจากการดูแลสุขภาพทั่วๆ ไปแล้ว สำหรับ LGBTQ+ ที่ต้องการเปลี่ยนเพศสภาพให้ตรงกับเพศวิถี ยังต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านสภาพจิตใจ การปรับสมดุลฮอร์โมน ไปจนถึงการศัลยกรรมเพื่อปรับลักษณะทางกายภาพอื่น
  • โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีบริการ Pride Clinic โดยเฉพาะ ให้บริการครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่เตรียมความพร้อมด้านจิตใจ แนะนำเรื่องใช้ฮอร์โมนบำบัด การทำหัตถการ และการใช้ศัลยกรรมช่วยปรับแต่งลักษณะทางกายภาพ รวมถึงการผ่าตัดเปลี่ยนเพศภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ

LGBTQ+ หรือกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ เป็นกลุ่มที่ต้องมีการดูแลสุขภาพเฉพาะทาง เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้รองรับกับการดำเนินชีวิตในรูปแบบที่ต้องการ

หลายคนอาจเข้าใจว่า การดูแลสุขภาพของ LGBTQ+ นั้นมักเกี่ยวข้องกับการเตรียมร่างกายเพื่อการผ่าตัดศัลยกรรมเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว ยังมีการดูแลสุขภาพด้านอื่นๆ ที่ควรรู้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมด้านสภาพจิตใจ การปรับสมดุลฮอร์โมน ไปจนถึงการศัลยกรรมเพื่อปรับลักษณะทางกายภาพอื่นๆ ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้นับว่ามีความสำคัญมาก เพื่อให้การดำเนินชีวิตมีความสมบูรณ์ที่สุด ทั้งนี้กระบวนการดูแลสุขภาพเฉพาะทางสำหรับ LGBTQ+ นั้นมีรายละเอียดดังนี้

1. การเตรียมความพร้อมด้านสภาพจิตใจ

สภาพจิตใจที่แข็งแรงเป็นพื้นฐานสำคัญของการดำเนินชีวิตอย่างมั่นคงและสมบูรณ์ LGBTQ+ หลายๆ คนอาจมีความรู้สึกสับสน กังวล หรือกดดัน เนื่องจากได้รับแรงเสียดทานจากเพื่อน ครอบครัวหรือสังคมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งด้านคำพูดและการกระทำ ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจอย่างร้ายแรงได้ ดังนั้นการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพจิตใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ LQBTQ+ ที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าวสามารถก้าวผ่านปัญหาเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ต้องการศัลยกรรมเพื่อปรับลักษณะทางกายภาพหรือปรับเพศสภาพ ตามข้อบังคับแพทยสภาระบุว่า ผู้ที่ต้องการเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศ จำเป็นจะต้องได้รับคำปรึกษาจากจิตแพทย์จำนวน 2 ท่าน เพื่อประเมินและรับรองว่าสภาวะจิตใจมีความพร้อมต่อการผ่าตัดแปลงเพศ เพราะหากดำเนินการผ่าตัดแปลงเพศไปแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขได้อีก ดังนั้นการเตรียมความพร้อมด้านสภาพจิตใจของ LQBTQ+ จึงเป็นสิ่งสำคัญ

2. การดูแลเรื่องการใช้ฮอร์โมน

LQBTQ+ หลายคน มีการใช้ฮอร์โมนเพื่อปรับลักษณะทางกายภาพภายนอก ให้ใกล้เคียงกับเพศสภาพที่ต้องการมากที่สุด ซึ่งมีทั้งการรับประทาน การฉีดและการใช้ภายนอก เช่น แผ่นแปะผิวหนัง เจลทาผิวหนัง เป็นต้น

แต่ปัญหาที่พบคือ ผู้ที่ใช้ฮอร์โมนส่วนใหญ่มักไม่ได้เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้ฮออร์โมน แต่มักจะได้รับคำแนะนำจากเพื่อนหรือคนรู้จัก ซึ่งบางวิธีอาจไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง ทั้งนี้การใช้ฮอร์โมนที่ผิดวิธีอาจส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อร่างกายได้ เช่น เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง การทำงานของตับหรือไตผิดปกติ เป็นต้น

ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ฮอร์โมนเพื่อปรับลักษณะทางกายภาพของร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวางแผนการใช้ฮอร์โมนอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยต้องมีการติดตามผลของการใช้ฮอร์โมนอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในแง่ของประสิทธิผลและผลข้างเคียงจากการใช้ฮอร์โมนทุกรูปแบบ

3. การศัลยกรรมเพื่อปรับลักษณะทางกายภาพ

การศัลยกรรมเพื่อปรับลักษณะทางกายภาพมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การตกแต่งปรับเปลี่ยนโครงหน้า การปรับแต่งสรีระร่างกาย การศัลยกรรมหน้าอก การผ่าตัดกล่องเสียง การผ่าตัดแปลงเพศ ตลอดจนกระบวนการหัตถการอื่นๆ เพื่อปรับเปลี่ยนลักษณะกายภาพให้เป็นไปตามต้องการ

ทั้งนี้กระบวนการที่กล่าวมานั้น จำเป็นต้องกระทำโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่พร้อมให้คำปรึกษาด้านข้อมูลและมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดใดๆ อาจไม่สามารถแก้ไขกลับคืนมาได้ หรือบางครั้งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

4. การดูแลเรื่องรูปร่างและผิวพรรณ

อีกหนึ่งสิ่งที่คนทุกเพศ ทุกวัย ให้ความสำคัญคือการดูแลรูปร่างและผิวพรรณให้สวยงามและมีสุขภาพดีอยู่เสมอ เช่น การสลายไขมัน ยกกระชับสัดส่วน การฉีดสารเติมเต็ม การกำจัดขนทั้งบริเวณใบหน้าและร่างกาย การลดรอยแผลเป็น รอยแดง รอยนูนจากการผ่าตัด ฯลฯ เช่นเดียวกับการศัลยกรรม การบริการเหล่านี้จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและเพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้รับบริการ

5. การตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศ

การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งเพศและช่วงวัยที่ต่างกัน ย่อมต้องการโปรแกรมตรวจสุขภาพที่แตกต่างกันด้วย สำหรับกลุ่ม LQBTQ+ อาจต้องการโปรแกรมตรวจสุขภาพที่เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า บางคนอาจมีการใช้ฮอร์โมนในรูปแบบต่างๆ เพื่อปรับลักษณะทางการภาพของร่างกาย หรือเคยมีการผ่าตัดศัลยกรรม ทำหัตถการต่างๆ ที่จะต้องมีการตรวจเช็คร่างกายอย่างเฉพาะเจาะจง

ทั้งนี้โปรแกรมตรวจสุขภาพทั่วไปมักไม่ครอบคลุมความต้องการ จึงต้องมีการออกแบบโปรแกรมตรวจสุขภาพที่เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น เพื่อจะได้ทราบการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายได้

จะเห็นได้ว่าการดูแลสุขภาพของ LQBTQ+ นั้นมีรายละเอียดที่ต้องให้ความสำคัญค่อนข้างมาก หากมองข้ามข้อใดข้อหนึ่งไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในอนาคตได้ จากความต้องการดังกล่าว ส่งผลให้ปัจจุบันโรงพยาบาลชั้นนำหลายแห่ง เปิดบริการคลินิกเพื่อรองรับความต้องการของกลุ่ม LQBTQ+ โดยเฉพาะ

ทั้งนี้หนึ่งในโรงพยาบาลที่มีการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของกลุ่ม LGBTQ+ คือ โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ ซึ่งมีบริการ Pride Clinic เปิดให้บริการครอบคลุมในทุกมิติ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมด้านสภาพจิตใจ การใช้ฮอร์โมนบำบัด การทำหัตถการ และการใช้ศัลยกรรมช่วยปรับแต่งลักษณะทางกายภาพ รวมถึงการผ่าตัดเปลี่ยนเพศภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคลให้มากที่สุด

สุขภาพ เป็นสิ่งสำคัญเราที่จำเป็นต้องใส่ใจ ฉะนั้นการดูแลสุขภาพอย่างเฉพาะเจาะจงตามความต้องการร่างกายตนเอง จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ที่สำคัญต้องอยู่บนพื้นฐานของความปลอดภัยและภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เราสามารถเลือกใช้ชีวิตได้ในแบบที่ต้องการได้อย่างอิสระ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศูนย์สุขภาพชุมชนแทนเจอรีน ศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทย, การใช้ฮอร์โมนบําบัดเพื่อ การข้ามเพศ, http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000150/sti/060661/4.%20Hormones%206%20Jun%202018%20FINAL%20MARKED.pdf
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, คลินิก Pride, https://www.bumrungrad.com/th/centers/pride-clinic.
ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม, เรื่อง เกณฑ์การแปลงเพศ พ.ศ.2552, https://www.tmc.or.th/download/jul09-02.pdf.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)