โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ชื่อผู้สนับสนุน
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

สร้างเกราะ เสริมภูมิคุ้มกัน ต้านเชื้อโรคและไวรัสเข้าสู่ร่างกาย

กลไกการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน วิธีเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงที่ทำได้ด้วยตนเอง และตัวช่วยทางการแพทย์ ทางเลือกสำหรับคนไม่มีเวลา
เผยแพร่ครั้งแรก 26 ม.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 29 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สร้างเกราะ เสริมภูมิคุ้มกัน ต้านเชื้อโรคและไวรัสเข้าสู่ร่างกาย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างจากหลายอวัยวะ เซลล์ และโปรตีน ทำงานประสานกัน
  • หลักๆ แล้วแบ่งออกเป็นภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด ร่างกายสร้างขึ้นเอง ป้องกันได้หลายโรค กับ ภูมิคุ้มกันแบบเฉพาะเจาะจง ป้องกันเชื้อบางชนิดโดยเฉพาะ
  • การกินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกาย ช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้ดี
  • ปัจจุบันมีตัวช่วยทางการแพทย์อื่นๆ เป็นทางเลือกเพิ่มเติม ได้แก่ รับประทานวิตามินเสริม ให้วิตามินบำบัดทางหลอดเลือด ใช้แสงเลเซอร์พลังงานต่ำ
  • ดูแนวทางการส่งเสริมสุขภาพเพิ่มเติม จากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ (Vital Life) 

ต้นปี พ.ศ. 2564 แม้ว่าจะมีข่าวดีเรื่องวัคซีนต้านเชื้อไวรัส COVID-19 ถูกผลิตออกมาหลากหลายยี่ห้อแล้ว แต่หลายชาติยังถกเถียงเรื่องความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสอยู่ ดังนั้น “ภูมิต้านทาน” ของร่างกายแต่ละคนจึงยังเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยต้านทานเชื้อนี้ รวมถึงอาการเจ็บไข้ได้ป่วยอื่นๆ ด้วย

ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายคืออะไร ทำงานอย่างไร?

ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) คือสิ่งที่ช่วยปกป้องตัวเราจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายของเรา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สนใจเสริมสุขภาพด้วยตัวช่วยทางการแพทย์

ปรึกษาศูนย์สุขภาพไวทัลไลฟ์ รพ. บำรุงราษฎร์

ระบบภูมิคุ้มกันสร้างขึ้นจากหลายอวัยวะ เซลล์ และโปรตีน ทำงานร่วมกัน แบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่

1. ระบบภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด

เป็นระบบภูมิคุ้มกันส่วนที่ร่างกายสร้างขึ้นเองตั้งแต่คนเราถือกำเนิดขึ้นมา สามารถป้องกันโรคได้หลายชนิด ไม่ได้คุ้มกันจำเพาะโรคใดโรคหนึ่ง เมื่อระบบนี้ตรวจพบสิ่งแปลกปลอม มันจะก่อให้เกิดอาการอักเสบขึ้นบริเวณนั้น แล้วกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวจำพวกที่ทำหน้าที่จับกินเชื้อโรคเคลื่อนมายังบริเวณที่อักเสบ

2. ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะเจาะจง

ระบบภูมิคุ้มกันเฉพาะเจาะจง เป็นกลไกที่ป้องกันเชื้อโรคบางอย่างโดยเฉพาะ เรียกว่า แอนติบอดี้ (Anti Body)

แอนติบอดี้พัฒนาขึ้นจากเซลล์ที่เรียกว่า บีลิมโฟไซต์ (B lymphocytes) โดยเมื่อร่างกายตรวจเจอเชื้อโรคที่เข้ามาใหม่ มันจะใช้เวลาพัฒนาแอนติบอดีขึ้นเพื่อต้านเชื้อดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีการจดจำเชื้อโรค เพื่อให้ต้านทานเชื้อโรคได้เมื่อตรวจจับเจออีกครั้ง

ทำไมต้องเสริมเกราะให้ระบบภูมิคุ้มกัน?

ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) จะทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย ทั้งยังมีกลไกในการกำจัดเชื้อโรค

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ดี เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงหรือความรุนแรงจากเชื้อไวรัสต่างๆ ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยง Stroke รพ. บำรุงราษฎร์

วันนี้ถึง 30 พ.ย. 2563 เพียงใส่ Code "BSTM5000" ลดเลย 5,000 บาท

4 วิธีง่ายๆ เสริมภูมิคุ้มกันร่างกายด้วยตนเอง

การดูแลตัวเองให้มีภูมิคุ้มกันแข็งแรง ป้องกันการติดเชื้อโรค มีอยู่หลายวิธีง่ายๆ ที่ทำได้เอง เช่น

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  2. นอนหลับพักผ่อนให้เต็มอิ่มและเป็นเวลา
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  4. ดูแลความสะอาดด้วยการล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำหรือสัมผัสสิ่งสกปรก

ไม่มีเวลา ก็มีทางเลือก ด้วยวิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยตัวช่วยทางการแพทย์

ทุกคนมักทราบดีว่า จะทำอย่างไรถึงจะมีภูมิคุ้มกันแข็งแรง อย่างไรก็ตาม ด้วยวิถีชีวิตและข้อจำกัดของแต่ละคน บางครั้งจึงไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำจากหัวข้อที่แล้วได้ทั้งหมด

ปัจจุบันด้วยการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้มีทางเลือกใหม่ๆ ในการเสริมสุขภาพ รวมถึงการเสริมระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรงด้วย เช่น

  • รับประทานวิตามินเสริม ประโยชน์จากวิตามิน นอกจากเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกายแล้ว ยังช่วยกระตุ้นการสร้างอนุมูลอิสระ ฟื้นฟูเซลล์ที่เสียหาย และป้องกันร่างกายจากมลพิษต่างๆ
  • ให้วิตามินบำบัดทางหลอดเลือด (Myer’s Cocktail) เป็นการให้สารน้ำทางหลอดเลือด ลักษณะคล้ายการให้น้ำเกลือ ใช้เวลาครั้งละประมาณ 30-40 นาที ช่วยป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากวิตามินช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ ยังช่วยผ่อนคลายความเครียด และฟื้นฟูร่างกายให้สดชื่นจากอาการอ่อนเพลีย
  • ใช้แสงเลเซอร์พลังงานต่ำ (Weber Laser) ประกอบด้วยแสง 2 สี สีแดงช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ลดความเสี่ยงการเกิดโรครุนแรง ส่วนแสงสีน้ำเงินมีฤทธิ์ต้านการอักเสบของร่างกาย ชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดความรุนแรงเมื่อเกิดการเจ็บป่วย

ข้อสำคัญคือ ควรเลือกรับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลที่เชื่อถือได้ มีเครื่องมือพร้อม และบุคคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะ

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ (Vital Life) เป็นแห่งหนึ่งที่มีบริการข้างต้น โดยยึดหลักให้บริการด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์อันทันสมัย ช่วยชะลอหรือป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ เพื่อให้ผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ เช่น เพศ อายุ วิถีการดำเนินชีวิต

ข้อสำคัญคือ อย่าลืมว่าไม่มีวิธีใดวิธีหนึ่งที่จะต้านทานหรือป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพโดยเบ็ดเสร็จ คุณควรดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ปรับพฤติกรรม หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พึ่งพาตัวช่วยทางการแพทย์แต่พอดี หากเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ก่อนรับบริการแพทย์ทางเลือกทุกครั้ง


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tim Newman, How the immune system works (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320101), 11 January 2018.
Harvard Medical School, How to boost your immune system (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/how-to-boost-your-immune-system), 6 April 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)