โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ชื่อผู้สนับสนุน
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

โรคไต และวิธีบำบัดทดแทนไตที่ดีต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย

โรคไต สาเหตุ 3 แนวทางการรักษาโรคไตในปัจจุบัน เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย พร้อมคำแนะนำ ผ่าตัดปลูกถ่ายไต ที่ไหนดี?
เผยแพร่ครั้งแรก 29 ม.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 29 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคไต และวิธีบำบัดทดแทนไตที่ดีต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ตามปกติแล้ว ไตจะเริ่มเสื่อมเมื่อคนเราอายุ 30 ปี หลังจากนั้นจะค่อยๆ เสื่อมลงต่อช้าๆ
  • มีบางกรณีที่เกิดไตเสื่อมผิดปกติ ได้แก่ ไตวายเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง ไตวายระยะสุดท้าย
  • วิธีบำบัดทดแทนไตที่ใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ล้างไตทางช่องท้อง และผ่าตัดปลูกถ่ายไต
  • การผ่าตัดปลูกถ่ายไตเป็นวิธีบำบัดทดแทนไตที่ดีต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่สุด
  • ผู้สนใจสามารถปรึกษาเรื่องการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ฟรี ที่ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลบำรุงราษฎร

สถานการณ์ผู้ป่วยโรคไตในประเทศไทย พ.ศ. 2563 พบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง 17.6% ของประชากร หรือประมาณ 8 ล้านคน ป่วยเพิ่มปีละกว่า 7,800 คน มีผู้ผ่าตัดเปลี่ยนไตปีละราว 500 คน จัดว่าโรคไตเป็นโรคเรื้อรังที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก

โรคไต คืออะไร สาเหตุมาจากอะไร วิธีรักษาโรคไตมีอะไรบ้าง วิธีไหนจะดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมากที่สุด หาคำตอบได้จากบทความนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยง Stroke รพ. บำรุงราษฎร์

วันนี้ถึง 30 พ.ย. 2563 เพียงใส่ Code "BSTM5000" ลดเลย 5,000 บาท

โรคไต คืออะไร?

ตามปกติแล้ว เมื่ออายุ 30 ปี ไตจะเริ่มเสื่อมหรือค่อยๆ ทำงานลดลงอย่างช้าๆ แต่สำหรับผู้ป่วยบางคนอาจประสบภาวะไตเสื่อมผิดปกติ ดังนี้

  • ไตวายเฉียบพลัน หมายถึงไตเสื่อมอย่างรวดเร็วหรือหยุดทำงานทันที หลังจากเป็นแล้วอาจกลับมาเป็นปกติได้ ถ้าได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
  • โรคไตเรื้อรัง หมายถึงไตเสื่อมลงช้าๆ อย่างต่อเนื่อง จนเกิดความผิดปกติถาวร สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 5 ระยะตามความรุนแรง ระยะแรกหรือที่เรียกว่า “ระยะตรวจพบความผิดปกติของไต” ไตยังคงทำงานได้ แต่จะตรวจพบตะกอนในปัสสาวะ ซึ่งบ่งชี้ถึงการทำงานที่ผิดปกติของไต ระยะรุนแรงที่สุดคือ “ระยะไตวาย”
  • โรคไตวายระยะสุดท้าย หมายถึงไตเสื่อมมากจนทำงานได้ไม่ถึง 15% ของไตคนที่มีภาวะสุขภาพปกติ ทำให้ไม่สามารถขจัดของเสียออกจากร่างกาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตภายในเวลาไม่นาน

ในประเทศไทยมักพบผู้ป่วยโรคไตที่เริ่มจากเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง แล้วไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อเป็นระยะยาวก็เกิดไตวายในที่สุด

นอกจากนี้โรคไตยังอาจมาจากโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ (SLE) โรคเกาต์ นิ่วในไต ไตอักเสบ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ

การรับประทานยาหรือรับสารเคมีบางอย่างก็ส่งผลต่อไตได้เช่นกัน เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาสมุนไพร ยาจีน ซึ่งซื้อรับประทานเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

3 วิธีบำบัดทดแทนไตในปัจจุบัน

เมื่อไตเสียหายจนไม่สามารถทำหน้าที่กำจัดของเสียและน้ำได้ จึงจำเป็นต้องมีการใช้วิธีทางการแพทย์เข้ามาบำบัดทดแทนไตที่เสื่อมไป

3 วิธีบำบัดทดแทนไตที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยง Stroke รพ. บำรุงราษฎร์

วันนี้ถึง 30 พ.ย. 2563 เพียงใส่ Code "BSTM5000" ลดเลย 5,000 บาท

1. ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือที่เรียกกันว่า “ฟอกไต” หลักๆ แล้วคือการนำเลือดออกจากร่างกาย แล้วให้ไหลผ่านเครื่อง เครื่องนี้จะทำหน้าที่กรองของเสียแทนไต แล้วส่งเลือดดีกลับคืนเข้าสู่ร่างกาย

โดยทั่วไป การฟอกไตจะทำครั้งละ 4-5 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ทำที่โรงพยาบาลหรือศูนย์ไตเทียม

ก่อนฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ผู้ป่วยต้องรับการผ่าตัดเตรียมเส้นเลือดบริเวณแขนหรือคอ เพื่อให้เลือดมีแรงดันมากพอจะไหลเข้าสู่เครื่องไตเทียม

2. ล้างไตทางช่องท้อง

การล้างไตทางช่องท้อง จะใช้วิธีใส่น้ำยาเข้าในช่องท้องผ่านทางสายยาง (ซึ่งถูกผ่าตัดฝังไว้ที่ช่องท้องเลย) จากนั้นทิ้งไว้ระยะเวลาหนึ่ง แล้วค่อยปล่อยออก

วิธีนี้จะใช้เวลาทำครั้งละ 30 นาที เปลี่ยนน้ำยา 4-5 ครั้งต่อวัน ผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้านหรือให้คนใกล้ชิดช่วยเหลือ

วิธีนี้มีข้อดีที่ผู้ป่วยไม่ต้องไปโรงพยาบาลบ่อยๆ เพียงพบแพทย์ประมาณ 2-3 เดือนต่อครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเรื่องการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

ที่ศูนย์โรคไต รพ. บำรุงราษฎร์ ฟรี!

3. ผ่าตัดปลูกถ่ายไต

ปัจจุบันถือว่าการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเป็นวิธีรักษาโรคไตที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยไตวายทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ถ้าการปลูกถ่ายสมบูรณ์เรียบร้อย ไตใหม่จะทำหน้าที่ทดแทนไตเดิมที่เสื่อมไป ไม่ต้องฟอกไตหรือล้างไตอีก เพียงแต่ต้องรับยากดภูมิต้านทานและอยู่ในความดูแลของแพทย์ไปตลอด

การผ่าตัดปลูกถ่ายไตไม่ใช่การนำไตเก่าออกแล้วใส่ไตใหม่แทนที่ แต่เป็นการผ่าตัดนำไตใหม่ที่สุขภาพดีและได้รับการประเมินแล้วว่าสามารถเข้ากันได้ มาวางในอุ้งเชิงกรานแถวๆ ท้องน้อยของผู้ป่วย จากนั้นต่อหลอดเลือดและท่อไตใหม่เข้ากับหลอดเลือดและกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วย ตามลำดับ

การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง และพักฟื้นประมาณ 1-2 สัปดาห์

ไตที่นำมาปลูกถ่ายจะมาจาก

  • ผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต เช่น จากญาติของผู้ป่วย ซึ่งผู้ที่บริจาคไตและเหลือไตเพียงข้างเดียวยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ไตอีกข้างทำหน้าที่ได้ตามปกติ
  • ผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย ผู้ป่วยจะได้รับไตนี้ได้จากการลงทะเบียนรอรับจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

ข้อดีของการบำบัดทดแทนไตด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายไต คือ ผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี เทียบกับการบำบัดทดแทนไตอีกสองวิธีที่เหลือ ไม่ต้องมีอุปกรณ์ฟอกไตคาไว้ที่ตัวในระยะยาวซึ่งมีความเสี่ยงเรื่องการติดเชื้อ ไม่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวันนั่งหรือนอนนิ่งๆ สำหรับฟอกไต

หากการผ่าตัดปลูกถ่ายไตสำเร็จดี ผู้ป่วยจะสามารถรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย เดินทาง มีครอบครัวได้เหมือนผู้มีสุขภาพดีทั่วไป

อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยคนหนึ่งอาจใช้หลายวิธีร่วมกัน ขึ้นอยู่กับระยะของโรคไตที่เป็น รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคแทรกซ้อน อายุผู้ป่วย อวัยวะที่มีผู้บริจาคมา ฯลฯ โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีรักษาตามความเหมาะสม

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้จากการปลูกถ่ายไต

แม้ว่าการผ่าตัดปลูกถ่ายไตจะเป็นวิธีบำบัดรักษาไตที่ดีที่สุดอย่างที่กล่าวไปแล้ว แต่ก็เป็นธรรมดาของการผ่าตัด ไม่ว่า ณ บริเวณใด ที่สามารถเกิดอาการแทรกซ้อนได้

อาการแทรกซ้อนจากการปลูกถ่ายไตที่อาจเกิดขึ้น เช่น

  • เลือดออก
  • ติดเชื้อ
  • เส้นเลือดอุดตัน
  • ท่อไตรั่วหรือมีการอุดตัน
  • ไตใหม่ใช้การไม่ได้ในระยะแรก

ภาวะที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเมื่อเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ คือ ภาวะร่างกายปฏิเสธอวัยวะใหม่ ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าโจมตีอวัยวะใหม่นั้นเหมือนเป็นสิ่งแปลกปลอม แต่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ด้วยการปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์เจ้าของไข้อย่างเคร่งครัด

ความสำเร็จของการปลูกถ่ายไต ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?

การปลูกถ่ายไตจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่

  • สภาวะร่างกายของผู้ป่วย
  • ความรุนแรงของโรคที่เป็นมา
  • ภาวะหรือโรคแทรกซ้อน
  • ไตที่จะนำมาปลูกถ่าย (ว่ามาจากผู้ที่ยังมีชีวิตหรือเสียชีวิตไปแล้ว)
  • ความชำนาญ ประสบการณ์ของแพทย์ผู้ทำการปลูกถ่ายไต ความพร้อมของสถานพยาบาลที่ทำการปลูกถ่ายไต

ปลูกถ่ายไต ที่ไหนดี?

เนื่องจากปัจจุบัน ผู้บริจาคอวัยวะมีจำนวนมากกว่าเมื่อก่อน ทำให้ไม่ต้องรอไตบริจาคนานอย่างที่แล้วมา ประกอบกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ก็ก้าวหน้าขึ้น การปลูกถ่ายไตจึงเป็นวิธีรักษาโรคไตที่ค่อนข้างได้ประสิทธิภาพ

บำรุงราษฎร์ เป็นอีกโรงพยาบาลที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และยังเป็นโรงพยาบาลสมาชิกสามัญของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย มีผู้ป่วยรับการปลูกถ่ายไตแล้วกว่าร้อยราย

จากสถิติผู้ป่วยปลูกถ่ายไตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า อัตราการรอดของไตที่ทำการปลูกถ่ายใน 1 ปี สูงถึง 96% 5 ปีอยู่ที่ 83% และ 10 ปีอยู่ที่ 78%

หากคุณหรือคนใกล้ชิดอยู่ระหว่างการรักษาโรคไต ซึ่งต้องรับการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีอื่นอยู่ แต่อยากพิจารณาการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเป็นอีกทางเลือก คุณสามารถปรึกษาศูนย์โรคไต โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้ฟรี! เพียงโทร. 08 1834 3439

ส่วนผู้ที่เพิ่งตรวจพบภาวะไตเสื่อมระยะแรก ควรดูแลตัวเองเพื่อชะลอไม่ให้ไตเสื่อมรวดเร็วเกินไป โดยงดรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มจัด เพื่อลดความเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวาน ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เนื่องจากเป็นสาเหตุให้เชื้อโรคแทรกซึมสู่กระเพาะปัสสาวะได้

ใครที่ไม่เคยตรวจสุขภาพที่มีการตรวจปัสสาวะมาก่อน ควรเริ่มสังเกตตนเอง โดยเฉพาะเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป อาการที่อาจบ่งชี้ถึงโรคไต ได้แก่ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ปัสสาวะมีสีเข้มหรือขุ่นผิดปกติ มีอาการบวมหน้า รอบตา หน้าแข้ง หรือหลังเท้า มีอาการปวดหลัง ปวดเอว

หากมีอาการเหล่านี้ โดยเฉพาะร่วมกับมีภาวะความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานอยู่ก่อน ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย หากเป็นโรคไตจริงจะได้รีบรับการรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของไตโดยเร็ว


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฟอกไตเจ็บไหม ระยะไหน เตรียมตัวอย่างไร อ่านที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/kidney-dialysis).
ตรวจไต ต้องอดอาหารไหม ตรวจยังไง อ่านผลยังไง? , (https://hdmall.co.th/c/kidney-screening).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)