นพ. ชาคริต หริมพานิช แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์
เขียนโดย
นพ. ชาคริต หริมพานิช แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์

ฉีดผิวขาว หมายถึงฉีดอะไร ฉีดแล้วผิวจะขาวขึ้นได้จริงหรือ?

การฉีดผิวขาวด้วยกลูต้าไธโอน อาจช่วยให้ผิวขาวขึ้น แต่เป็นการวัดความขาวเชิงปริมาณ ซึ่งถ้าไม่เข้าใจรายละเอียด คุณอาจเข้าใจผิด
เผยแพร่ครั้งแรก 16 ธ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ฉีดผิวขาว หมายถึงฉีดอะไร ฉีดแล้วผิวจะขาวขึ้นได้จริงหรือ?

สีผิว เป็นสิ่งที่หลายคนให้ความสำคัญ ปัจจุบันนอกจากครีมทาผิวแล้ว ก็ยังมีการฉีดผิวขาว ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยให้สีผิวเปลี่ยนจากเดิมได้

สารที่ใช้ฉีดผิวขาวเปลี่ยนสภาพเม็ดสีได้จริงหรือไม่ มีหลักฐานทางการแพทย์หรือเปล่า HonestDocs มีคำตอบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทำไมคนเราถึงมีสีผิวแตกต่างกัน?

ก่อนจะเข้าสู่เรื่อง ฉีดผิวขาว ขออธิบายเรื่องสีผิวที่แตกต่างกันในแต่ละคนเสียก่อน

ผิวหนังของมนุษย์เป็นอวัยวะที่มีพื้นที่มากที่สุด มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ตั้งแต่ห่อหุ้มร่างกาย ป้องกันการสูญเสียความร้อน ปรับอุณหภูมิกาย รับสัมผัสเจ็บแสบและร้อนเย็น อีกหนึ่งหน้าที่ของผิวหนังคือการปกป้องร่างกายจากแสงแดด

มีเซลล์ที่ชื่อ เมลาโนไซต์ เป็นเซลล์ที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์ระบบประสาท เคลื่อนตัวมาอยู่ใต้ผิวหนังในช่วงพัฒนาการในครรภ์มารดา เซลล์นี้มีความสามารถพิเศษในการสร้างเม็ดสีเมลานิน และส่งเม็ดสีนี้ไปอยู่ที่เซลล์ชั้นนอกสุดของผิวหนัง เพื่อใช้ปกป้องรังสีจากดวงอาทิตย์

มนุษย์ในแต่ละส่วนของโลกจะมีสีผิวที่แตกต่างกันตามพันธุกรรมดั้งเดิมและสิ่งที่มากระตุ้นเม็ดสีในภายหลัง สำหรับพันธุกรรมดั้งเดิมนั้น ควบคุมจากขนาดเม็ดสีและการกระจายตัว

คนที่ผิวคล้ำจะมีเม็ดสีขนาดใหญ่และกระจายตัวอย่างเท่าๆ กัน ทำให้มองเห็นว่าผิวคล้ำ ส่วนคนผิวขาวหรือออกเหลือง เม็ดสีจะมีขนาดเล็กกว่าและอยู่จุกตัว ไม่กระจายทั่วไป ทำให้เห็นไม่คล้ำ

อีกปัจจัยที่ทำให้สีผิวแต่ละคนแตกต่างกันคือสิ่งที่มากระตุ้นภายหลัง โดยพบว่ารังสีอัลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์โดยเฉพาะส่วน UVB สามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดสีมากขึ้นได้ อิทธิพลของฮอร์โมนเพศของหญิงและชายก็ทำให้การสร้างและการกระจายเม็ดสีแตกต่างกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวิตามินวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 193 บาท ลดสูงสุด 90%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปริมาณของเซลล์สร้างเม็ดสีเมลาโนไซต์ของแต่ละคน แต่ละเชื้อชาติ จะมีปริมาณพอๆ กัน ความแตกต่างจะอยู่ที่ความสามารถในการสร้างเม็ดสี หากมีปริมาณการแบ่งตัวของเซลล์เมลาโนไซต์เพิ่มขึ้น ผิวก็จะคล้ำลง

สาเหตุของการเพิ่มขึ้นส่วนมากเกิดจากเนื้องอก เช่น เมลาโนมา (Melamona) หรือหากเป็นมะเร็ง จะเป็นมะเร็งผิวหนังที่รุนแรงมาก เรียกว่า มาลิกแนนต์เมลาโนมา (Malignant melanoma) พบมากในชาวตะวันตกมากกว่าชาวเอเชีย ลักษณะสำคัญคือเป็นตุ่มก้อน เพราะโตแบบควบคุมไม่ได้ และสีก้อนผิวหนังจะคล้ำถึงดำ

ทดลองยับยั้งการสร้างเม็ดสี จุดเริ่มต้นของการฉีดผิวขาว

เมื่อมาพิจารณาถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้ผิวคล้ำที่สามารถปรับแต่งได้ คือการทำงานของเซลล์ในการสร้างเม็ดสี นักวิทยาศาสตร์พบกลไกและปฏิกิริยาการสร้างเม็ดสีในเซลล์ที่ชัดเจนว่าใช้สารใดเป็นสารตั้งต้น ใช้สารใดกระตุ้น และจะควบคุมโดยวิธีใด

ด้วยความเข้าใจนี้จึงสามารถสร้างสารที่ปรับปรุงสีผิวจากการไปควบคุมการทำงานของกระบวนการสร้างเม็ดสี เช่นการใช้ยาไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) ในการรักษาฝ้าหรือรักษาภาวะเม็ดสีเกิดปกติ (Melanosis)

เดิมทีสารกลูต้าไธโอนใช้สำหรับต้านอาการอักเสบ และลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการได้รับยาเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง โดยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของออกซิเจน เพราะตัวมันเป็นช่วยรองรับและปรับปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน ในร่างกายได้ดี

กลไกนี้สำคัญ เพราะอนุมูลอิสระหากมีมากเกินไปจะทำให้เซลล์เสียหาย แนวคิดการใช้สารกลูต้าไธโอนจึงเริ่มขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวิตามินวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 193 บาท ลดสูงสุด 90%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แรกเริ่มนั้นทำการทดลองในเซลล์เนื้อเยื่อที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลองและทดสอบกับสัตว์ทดลองก่อน ผลการศึกษาพบว่า สามารถยับยั้งการสร้างเม็ดสีได้จริงในระดับเซลล์หลอดทดลองและสัตว์ทดลอง

ต่อมาจึงเริ่มทำการศึกษาวิจัยในคน มีทั้งข้อมูลที่เก็บผลจากการใช้งานและข้อมูลจากการตั้งใจทดลอง (ทางการแพทย์จะยอมรับการทดลองแบบนี้เพื่อรับรองผลการรักษา)

ฉีดผิวขาวด้วยกลูต้าไธโอน ทำให้ผิวขาวได้อย่างไร?

กลูต้าไธโอนได้ชื่อว่าเป็นสารช่วยให้ผิวขาว มีทั้งรูปแบบยากิน ยาทา และแบบฉีด ตัวสารสามารถถูกทำลายได้ง่ายที่กระเพาะอาหาร จากสภาพที่เป็นกรด และถึงแม้จะอยู่ในรูปเม็ดยาที่ผ่านกรดในกระเพาะอาหารไปได้ การดูดซึมจากลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดก็ยังทำได้ไม่ดีนัก จึงเป็นสาเหตุที่ใช้ยาฉีดกันอย่างแพร่หลายมากกว่า

มีกลไกการทำงานของกลูต้าไธโอน คือ

  1. ยับยั้งฮอร์โมนไทโรซิเนส (Tyrosinase) ที่จะไปเปลี่ยนกรดอะมิโนไทโรซีน (Tyrosine) ให้กลายเป็นสารเริ่มต้นของการสร้างเม็ดสี ได้แก่ DOPA และ Dopaquinone ทำให้การสร้างเม็ดสีมีประสิทธิภาพไม่ดีนัก และปริมาณเม็ดสีที่ใช้งานได้จริงจะลดลง
  2. เปลี่ยนกลไกการสร้างเม็ดสีปรกติ จากที่เซลล์เมลาโนไซต์จะสังเคราะห์เม็ดสีน้ำตาลและดำที่ชื่อ ยูเมลานิน (Eumelanin) หากมีสารกลูต้าไธโอน เซลล์จะเปลี่ยนไปสร้างเม็ดสีเหลืองและแดงที่เรียกว่า ฟีโอเมลานิน (Phaeomelanin) แทน

ผลการศึกษาพบว่า การกินสารกลูต้าไธโอนขนาด 250-500 มิลลิกรัมต่อวัน หรือการฉีดสารกลูต้าไธโอนในขนาด 600-1200 มิลลิกรัมนั้นสามารถทำให้ผิวขาวขึ้นได้จริง ซึ่งทางผู้ผลิตและจำหน่ายได้แนะนำขนาดยานี้เช่นกัน (ยังไม่มีคำแนะนำขนาดยาที่ชัดเจน)

แต่ว่าคำจำกัดความของผิวที่ขาวขึ้นนั้นไม่ได้ใช้ภาพถ่ายหรือสายตามนุษย์ที่เปรียบเทียบก่อนหลัง เพราะไม่เป็นมาตรฐาน

คำว่า “ขาวขึ้น” เป็นการวัดเชิงปริมาณในการวิจัย ซึ่งอาจทำให้คุณเข้าใจผิด ฟังโฆษณาแล้วเข้าใจว่าหมายถึงการฉีดผิวขาวได้ผล

คำว่าขาวขึ้นในการศึกษาทดลองทางตจวิทยานิยมวัดค่าสองแบบ

  1. ใช้เครื่องมือวัดการสะท้อนและหักเหของคลื่นแสงผ่านผิวหนัง เพื่อวัดความเข้มข้นของเม็ดสีเมลานิน

    เรียกการวัดค่านี้ว่า Skin melanin index ที่มีทั้งการวัดต่อหน่วยพื้นที่หรือวัดค่าสูงสุด โดยจะวัดหลายตำแหน่งของร่างกาย สิ่งสำคัญที่ต้องระวังในการแปลผลจากกงานวิจัยคือ
    1. ผลการศึกษาที่ออกมาว่าขาวขึ้น เป็นผลที่ออกมาว่าค่า Skin melanin index มีค่าลดลงเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงขาวจนเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า
    2. ระดับ Skin melanin index ที่ลดลงจริงตามการทดลองนั้นไม่ได้ลดลงมากจนเปลี่ยนชัดเจน ตามการศึกษาที่ทำในประเทศไทยใช้ยากินกลูต้าไธโอน กลุ่มศึกษามีระดับสีผิวตามมาตรฐานสากล (Fitzpatrick's classification) อยู่ที่ระดับ 4-6 (ระดับ 1 คือขาวมาก ระดับ 6 คือน้ำตาลเกือบดำ)

      ถึงแม้ระดับความขาวจากการวัดด้วยเครื่องมือจะพบดัชนีความขาวมากขึ้นจริง แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนระดับไปจาก 4-6 ไปเป็นขาวมากกว่านี้ได้
  2. วิธีวัดค่าความขาวของผิวที่นิยมใช้ในการโฆษณา เนื่องจากเป็นการทดสอบที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจนคือการใช้แถบวัดระดับสีผิว the Taylor Hyperpigmentation Scale เป็นแถบสีมาตรฐานเอาไว้วัดผิวหนังเทียบกับแถบเหล่านั้น อาศัยสายตาของผู้วัดเทียบแถบสีโดยตรง จึงมีความแม่นยำมากขึ้นกว่าการใช้สายตาหรือภาพถ่ายเพียงอย่างเดียว

ข้อระวังที่ไม่สามารถแปลผลจากการทดลองมาใช้ได้ในชีวิตจริง

จากข้อมูลทางสรีรวิทยาการสร้างเม็ดสีและจากการทดลองใช้สารกลูต้าไธโอน พบว่าหลังจากให้สารกลูต้าไธโอนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบกินหรือฉีดหรือทา ทำให้ดัชนีความขาวจากการวัดค่าแสงนั้นขาวขึ้น แต่เป็นการวัดในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้ติดตามวัดต่อเนื่องหลังจากผลของยาหมดไปแล้วว่าเซลล์เมลาโนไซต์จะหยุดยั้งการสร้างเม็ดสีไปนานเพียงใด หรือหลังจากสิ้นสุดการทดลองแล้วค่าความขาวจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่

หากพิจารณาตามอัตราการเกิดของเซลล์และสร้างเม็ดสีในทุกๆ 1-2 สัปดาห์ น่าจะเป็นไปได้ว่าหากไม่ใช้ยาต่อเนื่อง เม็ดสีจะกลับมาเป็นดังเดิมก่อนให้ยา และตำแหน่งที่มีค่าดัชนีเมลานินที่ลดลง (ขาวขึ้น) ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าจะเป็นบริเวณใด และแต่ละบริเวณมีการเปลี่ยนแปลงความขาวที่ไม่เท่ากัน จากการศึกษาบางบริเวณไม่ขาวขึ้นแต่ผลรวมในทุกๆ บริเวณดูว่าขาวขึ้น จึงยังไม่สามารถคาดเดาผลการรักษาได้อันเป็นข้อจำกัดที่สำคัญของการให้สารกลูต้าไธโอน

ความจริงทางสรีรวิทยาของเซลล์และการศึกษาที่มี ยังมีข้อมูลไม่มากพอที่จะระบุชัดเจนว่าสารกลูต้าไธโอนทั้งการฉีดและการกินจะทำให้ผิวขาวขึ้นได้ แม้จะมีหลายประเทศใช้ในการรักษาโรคเม็ดสีเกินปกติหลังจากผิวหนังอักเสบ (เมื่อเทียบกับผิดปกติ) แต่ยังไม่มีการใช้เพื่อทำให้สภาพผิวที่ไม่มีโรคหรือเม็ดสีไม่เกินให้แปรสภาพขาวขึ้นกว่าเดิม

ผลข้างเคียงของการฉีดผิวขาว กลูต้าไธโอน

สำหรับผลการศึกษาเรื่องผลข้างเคียงและอันตรายจากการใช้สารกลูต้าไธโอน รายงานเรื่องพิษในระยะยาวมีน้อยมาก เพราะการศึกษาติดตามทำในระยะสั้น ข้อมูลยังไม่เพียงพอที่จะประกาศเรื่องพิษหรืออันตรายจากกลูต้าไธโอน

กลูต้าไธโอนแบบกินยังไม่มีรายงานผลข้างเคียง แต่การฉีดกลูต้าไธโอนมีรายงานผลข้างเคียงมาบ้าง ได้แก่

  • ผื่นแพ้ผิวหนัง ตั้งแต่ผื่นคันเเล็กน้อยจนแพ้รุนแรง
  • มีอาการปวดจุกท้อง
  • รบกวนการทำงานของต่อมไทรอยด์ การทำงานของตับและไต แต่ไม่ถึงตับวายหรือไตวาย
  • อันตรายจากการฉีด เช่น ปฏิกิริยาที่ผิวหนัง การติดเชื้อจากเข็มฉีดไม่สะอาด

ดังนั้นการฉีดหรือกินสารกลูต้าไธโอนเพื่อทำให้สีผิวเดิมขาวขึ้น จึงยังไม่มีที่ใช้ในทางคลินิก ข้อมูลเรื่องขนาดของยาที่เหมาะสมและการบริหารที่เหมาะสมยังไม่ชัดเจน ข้อมูลผลข้างเคียงของยายังน้อยเกินไป และราคายาที่ยังแพงมาก ไม่คุ้มทุนคุ้มค่ากับประโยชน์ที่ไม่ชัดเจน จึงยังไม่แนะนำให้ใช้อย่างเป็นทางการในปัจจุบัน


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฉีดวิตามินซี เข้าเส้นเลือด ดีไหม? ฉีดบำรุงร่างกาย ช่วยอะไร? | HDmall (https://hdmall.co.th/c/iv-nutritional-therapy).
การฉีดวิตามินผิว ดีไหม ควรรู้อะไรก่อนฉีดบ้าง? | HDmall (https://hdmall.co.th/c/hdinsight-vitamin-injection-at-gangnam-clinic).
การให้วิตามินทางเส้นเลือด ช่วยอะไร? ผิวขาวไหม อันตรายไหม?.co.th | HDmall (https://hdmall.co.th/c/vitamin-infusion-vitamin-drip).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)