รากฟันเทียม เป็นทางออกสำหรับผู้ที่สูญเสียฟันเเท้ เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวที่ดีที่สุด เพื่อทดแทนฟันที่หายไป รากฟันเทียมนั้นผลิตจากวัสดุไทเทเนียม (Titanium) ที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ ซึ่งจะทำหน้าที่แทนรากฟันธรรมชาติ มีความสามารถในการเชื่อมเข้ากับกระดูกขากรรไกรได้ดี รากฟันเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ส่วนใหญ่การทำรากฟันเทียมจะสามารถอยู่กับคุณไปตลอด
รากฟันเทียม มีทั้งหมดกี่ประเภท
รากฟันเทียม สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท หลักๆ ดังนี้
1. Single Tooth Dental Implant (รากฟันเทียมแบบซี่เดียว)
เป็นการทำการฟันเทียมทีละซี่ ใช้ในกรณีที่ฟันธรรมชาติของคนไข้หายไปเพียงซี่เดียว หรือว่าหายไปหลายซี่แต่ว่าอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ติดกัน
2. Implant Supported Dental Bridge (รากฟันเทียมร่วมกับทำสะพานฟัน)
หากต้องการทดแทนฟันที่ติดกันจำนวน 2 ซี่ขึ้นไป คุณสามารถทำรากฟันเทียมร่วมกับสะพานฟันได้ โดยปกติสะพานฟันจะใช้ฟันข้างเคียงเป็นเสาในการวางสะพานฟัน แต่หากฟันหายไปหลายซี่ก็สามารฝังรากเทียม เพื่อใช้เป็นเสาในการวางสะพานฟันได้
3. Implant Supported Denture (รากฟันเทียมทั้งปาก)
กรณีที่ฟันธรรมชาติหายไปเป็นจำนวนมาก คุณหมอมักจะทดแทนฟันด้วยการทำฟันปลอม การทำฟันปลอมร่วมกับการฝังรากฟันเทียมจะทำให้ ฟันปลอมติดแน่นมากขึ้น ลดโอกาสที่ฟันปลอมหลุดระหว่างรับประทานอาหาร เคี้ยวอาหารได้ละเอียดมากขึ้น ลดแรงที่กระทำต่อสันเหงือกทำให้เจ็บน้อยลงขณะเคี้ยว
5 ขั้นตอนในการรักษารากฟันเทียม
การทำรากฟันเทียมเป็นการผ่าตัดโดยการฝังอุปกรณ์ เพื่อใช้ทดแทนรากฟันจริง ซึ่งเป็นทันตกรรมที่ต้องใช้ความชำนาญในการรักษา จำเป็นต้องมีขั้นตอนในการรักษาที่ละเอียด เพื่อความปลอดภัย และทนทานในการใช้งานได้เหมือนกับฟันธรรมชาติ ลองมาดูกันว่าถ้าเราตัดสินใจรักษารากฟันเทียมแล้ว จะมีขั้นตอนในการเข้ารักษาอย่างไรบ้าง
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบประวัติ พร้อมตรวจประเมินช่องปาก
ในการพบคุณหมอครั้งแรกคุณหมอจะซักประวัติ รวมถึงตรวจประเมินช่องปากของคนไข้อย่างละเอียด ในการทราบปัญหาที่แท้จริง เพื่อที่จะวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง และตรงจุด
ปัจจุบันได้มีการทำเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่าง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT-Scan มาใช้เป็นตัวช่วยในการวางแผน เพื่อกำหนดตำแหน่งในการฝังรากฟันเทียม เนื่องจากสามารถเห็นรายละเอียดและอุปสรรคต่างๆ ในการรักษาได้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น มวลกระดูก รวมถึงเส้นประสาท หรือเส้นเลือดในบริเวณใกล้เคียงจุดที่จะรักษา เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 เก็บข้อมูลในช่องปาก
คุณหมอจะพิมพ์ปาก เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับนำไปวางแผนสำหรับการฝังรากฟันเทียม อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ได้มีการนำเทคโนโลยี สแกนฟัน 3 มิติเข้ามาช่วยเก็บข้อมูลแบบดิจิทัลได้ ซึ่งสามารถทำให้ถ่ายโอนข้อมูลกับห้องปฎิบัติการทางทันตกรรมได้สะดวก และยังไม่อึดอัดเหมือนกับการพิมพ์ปากแบบดั้งเดิมอีกด้วย
ขั้นตอนที่ 3 วางแผนและกำหนดตำแหน่งฝังรากฟันเทียม
คุณหมอจะใช้ข้อมูลจากเอกซเรย์ CT-Scan โมเดลฟัน หรือข้อมูลจากการสแกนฟัน 3 มิติมาวางแผนในการฝังรากฟันเทียม ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น คุณหมอสามารถผลิต Surgical Guide ซึ่งเป็นเครื่องมือใช้ครอบลงไปบนฟัน และมีรูซึ่งถูกวางแผนใน Software คอมพิวเตอร์มาแล้ว โดยรู หรือ Guide นี้จะมีหน้าที่กำหนดตำแหน่ง องศา และความลึกในการฝังรากฟันเทียม ทำให้คุณหมอสามารถทำการรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
ขั้นตอนที่ 4 ศัลยกรรม เพื่อใส่รากฟันเทียม
ในขั้นตอนนี้คุณหมอจะทำการฝังรากฟันเทียมลงในกระดูกขากรรไกร หลังจากนั้นต้องใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน เพื่อรอให้รากฟันเทียมยึดติดแน่นกับกระดูก ซึ่งข้อดีของการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างข้อมูลดิจิทัล CT-Scan และ Surgical Guide นั้น ช่วยให้การวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ จึงช่วยให้แผลมีขนาดเล็กกว่า ลดการอักเสบ ติดเชื้อ และลดโอกาสการบาดเจ็บของอวัยวะข้างเคียงได้ดีกว่าการฝังรากฟันเทียมแบบดั้งเดิม
ขั้นตอนที่ 5 ครอบฟัน ให้สวยงาม
เมื่อทำการฝังรากฟันเทียมจนฐานติดแน่นแข็งแรงกับกระดูกขากรรไกรดีแล้ว คุณหมอก็จะทำขั้นตอนสุดท้าย นั่นก็คือการครอบฟันหรือทำฟันปลอม เพื่อใช้สำหรับบดเคี้ยว ซึ่งในขั้นตอนนี้เป็นส่วนที่ต้องใช้ความละเอียดและความชำนาญไม่แพ้ขั้นตอนอื่นๆ เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ต้องมีความประณีตสูง เพื่อให้ออกมาสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติมากที่สุด
ข้อดีและข้อจำกัดของการทำรากฟันเทียม
แม้วิธีนี้จะเป็นวิธีการรักษาที่สามารถทดแทนฟันธรรมชาติได้ดีที่สุด แต่หลายคนยังตั้งข้อสงสัยว่า การทำรากฟันเทียมนั้นดีจริงหรือไม่? ในหัวข้อนี้เรามาลองดูกันว่า การทำรากฟันเทียมนั้น มีข้อได้เปรียบและข้อจำกัดอย่างไรบ้าง
ข้อดีของการทำรากฟันเทียม
1. สามารถรับแรงบดเคี้ยวได้มากกว่า การฝังรากฟันเทียมจะทำให้คนไข้สามารถรับประทานอาหารได้ดีกว่า โดยรากฟันเทียมนั้นสามารถรับแรงบดเคี้ยวได้ดี ทำให้ไม่เจ็บเหงือกในขณะที่เคี้ยวอาหาร จึงส่งผลให้สามารถเคี้ยวอาหารได้ละเอียดกว่า จึงได้รับผลข้างเคียงจากโรคระบบทางเดินอาหารน้อยกว่านั่นเอง
2. ไม่จำเป็นต้องกรอฟันซี่ข้างเคียง แม้สะพานฟันจะสามารถทดแทนฟันธรรมชาติได้เหมือนการรักษาด้วยการฝังรากฟันเทียมก็จริง แต่ก็จะทำให้คุณสูญเสียเนื้อฟันซี่บริเวณข้างเคียงจากการกรอฟัน เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับใส่สะพานฟัน ในขณะที่การทำรากฟันเทียมสามารถทำได้โดยไม่ต้องสูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติ
3. ลดการละลายของกระดูกใต้สันเหงือก รากฟันเทียมนั้นช่วยลดการละลายของกระดูกบริเวณใต้สันเหงือกได้ดี เพราะสามารถกระจายแรงบดเคี้ยว ลงสู่กระดูก ได้อย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าการทำสะพานฟันหรือการทำฟันปลอม นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยให้ใบหน้าไม่แก่เร็ว และไม่หย่อนคล้อยจากการละลายของกระดูกใต้สันเหงือกด้วย
4. มีอายุการใช้งานนานกว่า รากฟันเทียมนั้นถือเป็นวัสดุแทนฟันธรรมชาติชนิดถาวร จึงทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ประมาณ 25-30 ปี ซึ่งส่วนมากแล้วคนไข้สามารถใช้งานได้ตลอดชีวิต ในขณะที่การทำสะพานฟันนั้นมีอายุการใช้งานอยู่ที่ประมาณ 10 ปีเท่านั้น
5. มีบุคลิกภาพที่ดีกว่า มั่นใจกล้ายิ้ม เนื่องจากการรักษาด้วยการฝังรากฟันนั้น เป็นการรักษาที่มีความละเอียด ประณีต และพิถีพิถัน เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมามีความกลมกลืนกับฟันธรรมชาติของคนไข้มากที่สุด ทั้งในเรื่องของสีฟัน องศา และตำแหน่งในการฝัง จึงทำให้ผลลัพธ์ออกมาสวยงาม ทำให้คนไข้มีบุคลิกภาพที่ดีกว่า มั่นใจ และกล้ายิ้มได้กว้างกว่าที่เคย
ข้อจำกัดของการทำรากฟันเทียม
1. ราคาค่อนข้างสูงกว่าการทดแทนฟันรูปแบบอื่น หากเปรียบเทียบกับการรักษาในรูปแบบอื่นแล้ว รากฟันเทียมนั้นมีราคาค่อนข้างสูง แต่หากลองพิจารณาจากระยะเวลาการใช้งาน ที่สามารถใช้งานได้ยาวนานตลอดชีวิต โดยไม่ต้องกังวลว่าจะชำรุดเสียหายหรือต้องซ่อมแซมใหม่ ก็ถือว่าคุ้มค่าในระยะยาว
2. เป็นการรักษาด้วยการผ่าตัด การฝังรากฟันเทียมนั้นเป็นการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างหนึ่ง จึงทำให้มีข้อจำกัดสำหรับคนไข้มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันสูง โรคเบาหวาน ที่ต้องควบคุมโรคประจำตัวให้คงที่ก่อน หรือในคนไข้บางรายที่รับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาจจะต้องหยุดรับประทานยาก่อน แล้วจึงจะสามารถเข้ารับการรักษาด้วยการฝังรากฟันเทียมได้
3. มีโอกาสเกิดความล้มเหลวในการรักษา สำหรับการรักษาด้วยการทำรากฟันเทียมนั้น ก็มีอัตราการเกิดความล้มเหลวอยู่เช่นกัน โดยอาจเกิดขึ้นจากหลายๆปัจจัย เช่น กระดูกไม่เชื่อมติดกับรากฟันเทียม หรือเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ซึ่งอัตราการล้มเหลวนั้นจะมีโอกาสเกิดขึ้นประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น
หากไม่ทำรากฟันเทียม แล้วจะส่งผลอย่างไร
เมื่อคุณสูญเสียฟันธรรมชาติไปแล้ว แต่ไม่ทำการรักษา หรือปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้ ฟันและอวัยวะอื่นๆโดยรอบมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ และอาจได้รับผลกระทบ หรือปัญหาอื่นๆตามมาภายหลังได้ ลองมาดูกันว่าหากคุณไม่ทำรากฟันเทียมแล้วจะส่งผลอย่างไรบ้าง
- ฟันล้ม สบฟันผิดปกติ เมื่อคุณสูญเสียฟันธรรมชาติไปแล้วจะทำให้เกิดช่องว่างภายในช่องปากขึ้น หากไม่ทำการรักษา เพื่อปิดช่องว่างเหล่านั้น อาจทำให้ฟันที่ข้างเคียง เคลื่อนตัวมาบริเวณช่องว่างจนทำให้เกิดภาวะฟันล้ม และทำให้การสบฟันผิดปกติตามมาได้
- กระดูกขากรรไกรละลาย การสร้างมวลกระดูกใหม่นั้นต้องอาศัยแรงเคี้ยวเป็นตัวกระตุ้นสำคัญ เมื่อฟันหายไป จึงทำให้การกระตุ้นนั้นหายไปด้วย ซึ่งจึงเป็นสาเหตุให้กระดูกโดยรอบเสื่อมหรืออาจทำให้เกิดกระดูกขากรรไกรละลายได้
- ขาดความมั่นใจ เมื่อสูญเสียฟันไปแล้วอาจทำให้ผู้อื่นเห็นได้โดยง่าย หากไม่ทำการซ่อมแซม หรือเติมเต็มทำให้คนไข้สูญเสียความมั่นใจ ไม่กล้ายิ้ม หรือพูดคุยได้อย่างเต็มที่เหมือนปกติ
- ออกเสียงไม่ชัดเจน ฟันเป็นหนึ่งในอวัยวะที่ช่วยในการออกเสียง หากสูญเสียฟันไปอาจส่งผลให้การออกเสียงคำบางคำไม่ชัดเจนเหมือนเคย
- ปัญหาทางทันตกรรมอื่นๆ นอกจากการสูญเสียฟันนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาฟันล้ม การสบฟันผิดปกติ หรือกระดูกขากรรไกรละลายแล้วยังอาจก่อให้เกิดปัญหาทางทันตกรรมอื่นๆ ตามมาได้ เช่น หินปูน เหงือกอักเสบ หรือฟันผุ เป็นต้น
วิธีการปฎิบัติตัวหลังทำรากฟันเทียม
โดยปกติแล้วเราสามารถแปรงฟันได้ทันทีในวันรุ่งขึ้น โดยงดเว้นการแปรงบริเวณแผลผ่าตัด และใช้น้ำยาบ้วนปาก หรือไหมขัดฟันร่วมด้วย เพื่อให้การทำความสะอาดช่องปากมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ช่วงระยะแรกควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีอุณหภูมิร้อนจัด อาหารรสจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด หรืออาหารที่มีความเป็นกรดสูง รวมถึงควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ และของมึนเมาทุกประเภท
ถ้ามีอาการปวด บวม เบื้องต้นสามารถประคบด้วยน้ำเย็นได้ แต่ห้ามอมน้ำแข็งเด็ดขาด เพราะเหลี่ยมคมของน้ำแข็งอาจบาดถูกแผลผ่าตัด อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แฝงตัวอยู่ในก้อนน้ำแข็ง และหากรู้สึกปวดมากกว่าปกติ แนะนำให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์อีกครั้ง เพื่อการตรวจทันที
รักษารากฟันเทียมที่ Smile Seasons ดีกว่าอย่างไร
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าการทำรากฟันเทียมนั้นเป็นหัตถการทางทันตกรรมที่ต้องใช้การผ่าตัดในการรักษา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำโดยคุณหมอฟันเฉพาะทาง ที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ รวมถึงคลินิกที่มีเครื่องมือที่ทันสมัย ซึ่งทาง Smile Seasons มีทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เพื่อรองรับความต้องการของคนไข้ ไม่ว่าจะเป็น
- ประสบการณ์ของทีมทันตแพทย์ ในการดูแลและการรักษารากฟันเทียมนั้นจำเป็นต้องทีมคุณหมอเฉพาะทางที่มีความรู้ความสามารถในการทำรากเทียม และมีประสบการณ์ในการผ่าตัดและดูแลคนไข้จำนวนมากมาก่อน
- เครื่องมือที่ทันสมัย การใช้เครื่องมือทางการแพทย์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะช่วยให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างแม่นยำ และรวดเร็ว จึงสามารถลดการเกิดความล้มเหลวในการผ่าตัดรากฟันเทียม และลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงลงได้
- มีการรักษารากฟันเทียมแบบดิจิทัลให้เลือก การทำรากฟันเทียมแบบดิจิทัล เป็นเทคโนโลยีทางทันตกรรมที่ทันสมัย ที่นำข้อมูลจากการสแกน 3 มิติในช่องปาก ร่วมกับภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ มาสร้างไกด์สำหรับกำหนดตำแหน่ง องศา ทิศทาง และความลึกของการฝังรากฟันเทียม ทำให้มีความแม่นยำสูง ลดโอกาสความผิดพลาด แผลเล็ก เจ็บน้อย และฟื้นตัวไว ไม่ต้องพักนาน
- ราคาสมเหตุสมผล สำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษารากฟันเทียมนั้นก็แตกต่างกันไปในแต่ละคลินิก ซึ่งนอกจาก Smile Seasons จะมีราคาที่สมเหตุสมผลแล้ว ยังมีการแจกแจงค่าใช้จ่ายในการรักษาอย่างโปร่งใส และมีช่องทางการชำระ รวมถึงแผนการผ่อนชำระที่หลากหลายตามความสะดวกของคนไข้อีกด้วย
หากคุณมีคำถามสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อเรา และทำนัดเข้ามาปรึกษากับทันตแพทย์ของ Smile Seasons เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการรักษา รวมทั้งพูดคุยเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นก่อนจะตัดสินใจทำรากฟันเทียม ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
แหล่งที่มาของข้อมูล
- Bernard J. Hennessy, Pulpitis (https://www.msdmanuals.com/professional/dental-disorders/common-dental-disorders/pulpitis), 29 nov 2023.
- Cleveland Clinic, Pulpitis (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/23536-pulpitis), 29 nov 2023.
- Colgate, Reversible And Irreversible Pulpitis: Causes And Treatment (https://www.colgate.com/en-us/oral-health/mouth-sores-and-infections/reversible-and-irreversible-pulpitis-causes-and-treatment), 29 nov 2023.
- Corey Whelan, What Is Pulpitis? (https://www.healthline.com/health/pulpitis), 29 nov 2023.
- Smile Seasons, รากฟันอักเสบ จนปวดฟัน หายขาดได้ ด้วยการรักษารากฟัน อ่านข้อมูลได้ที่นี่ (https://www.smileseasons.com/pulpitis-root-canal/), 29 nov 2023.
- WebMD Editorial Contributors, What Is Pulpitis? (https://www.webmd.com/oral-health/what-is-pulpitis), 29 nov 2023.