กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

วัคซีน HPV อาวุธสำคัญในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ไวรัส HPV คืออะไร? รวมข้อมูลเรื่องการป้องกันและรักษาโดยแพทย์
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ต.ค. 2023 อัปเดตล่าสุด 22 ต.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
วัคซีน HPV อาวุธสำคัญในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เชื้อไวรัส HPV นอกจากจะก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ยังก่อให้เกิดโรคอื่นๆ เช่น มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งองคชาต และหูดหงอนไก่ได้ด้วย
  • มะเร็งปากมดลูก มีสาเหตุหลักมาจากเชื้อไวรัส HPV ติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์และการสัมผัสใกล้ชิดจากภายนอก
  • วัคซีน HPV เริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป เป็นวัคซีนที่ไม่ก่อให้เกิดโรค เพราะไม่ใช่เชื้อที่มีชีวิต แต่ได้มาจากการสังเคราะห์เลียนแบบเชื้อ
    • ดูรายละเอียดการฉีดวัคซีน HPV แต่ละแบบได้ที่ HDmall.co.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับแอดมิน ทักไลน์ @hdcoth

ทุกๆ 2 ชั่วโมง มีหนึ่งชีวิตที่ต้องจบลงด้วยมะเร็งปากมดลูก ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากเชื้อไวรัส HPV

ความอันตรายของเชื้อไวรัส HPV ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด

การฉีดวัคซีน HPV จึงเป็นอาวุธสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะวัคซีน HPV มีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 94% และช่วยป้องกันมะเร็งรวมถึงโรร้ายอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ได้อีกด้วย

HDmall.co.th จึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน HPV และคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน HPV มาไว้ในบทความนี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกฉีดวัคซีน

ราคาฉีดวัคซีน HPV

HPV มีกี่สายพันธุ์?

ไวรัส HPV เป็นเชื้อที่มีด้วยกันหลากหลายสายพันธุ์ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ได้ดังนี้

  • กลุ่มความเสี่ยงสูง เช่น สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33 45, 52 และ 58 ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งอื่นๆ
  • กลุ่มความเสี่ยงต่ำ เช่น สายพันธุ์ 6 และ 11 ก่อให้เกิดโรคหูดหงอนไก่

ซึ่งเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ 16, 18, 45, 52 และ 58 จะเป็นสายพันธุ์หลักที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงไทย

ไวรัส HPV อันตรายไหม?

ไวรัส HPV เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่ต้องระวัง เพราะเมื่อติดเชื้อเข้าไปแล้ว เชื้อจะซ่อนตัวอยู่และไม่แสดงอาการใดๆ กว่า 10 ปี

ซึ่งจะแสดงอาการอีกทีก็ต่อเมื่อเชื้อลุกลามไปแล้ว ทำให้ไม่รู้ว่าได้รับเชื้อมาและอาจแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว

ถึงแม้ว่าการติดเชื้อไวรัส HPV ส่วนใหญ่จะหายได้เอง แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ และเชื้อจะคงที่อยู่นานจนพัฒนาไปเป็นมะเร็งในอนาคต

Oral Sex เสี่ยงติดเชื้อ HPV ไหม?

เชื้อ HPV สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือช่องปาก ก็สามารถติดเชื้อได้ทั้งหมด

การทำ Oral Sex จึงสามารถนำไปสู่การติดเชื้อ HPV และพัฒนาเป็นมะเร็งช่องปากและลำคอได้ โดยจะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในช่องปาก

ซึ่งมะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นมะเร็งที่มีแนวโน้มพัฒนาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และส่วนใหญ่มักจะตรวจพบในระยะที่ลุกลามไปแล้ว ทำให้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและจิตใจของผู้ป่วย

Oral Sex เสี่ยงติดเชื้อ HPV ไหม?

วัคซีน HPV มีกี่ชนิด?

สำหรับวัคซีนป้องกัน HPV ปัจจุบันมีด้วยกัน 3 ชนิด ดังนี้

  • วัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ 6, 18 ช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 70%
  • วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ 6, 11, 16, 18 ช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 70% รวมถึงช่วยป้องกันมะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก และหูดหงอนไก่ได้ด้วย
  • วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 94% รวมถึงช่วยป้องกันมะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก และหูดหงอนไก่ได้ด้วย

วัคซีน HPV ดีจริงไหม?

วัคซีน HPV เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่บรรจุในวัคซีนได้มากกว่า 94%

โดยวัคซีน HPV เป็นวัคซีนที่ไม่ก่อให้เกิดโรค เพราะไม่ใช่เชื้อที่มีชีวิต แต่ได้มาจากการสังเคราะห์เลียนแบบเชื้อ และมีการใช้อย่างแพร่หลายกว่า 270 ล้านเข็มทั่วโลกด้วย

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน HPV

1. วัคซีน HPV ควรฉีดตอนอายุเท่าไหร่?

วัคซีน HPV สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป หากใครที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์นี้ให้รีบคว้าโอกาสป้องกันไว้ตั้งแต่ตอนนี้เลย

2. ไม่ใช่เด็ก ฉีดวัคซีน HPV ได้ไหม?

ผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ยังสามารถฉีดวัคซีน HPV ได้อยู่ โดยจะต้องฉีดวัคซีนทั้งหมด 3 เข็ม

3. เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วและมีแฟนเพียงคนเดียว มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ HPV ไหม?

ผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วและมีแฟนเพียงคนเดียว ก็มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ HPV ได้เช่นกัน

เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่แฟนของคุณอาจเคยได้รับเชื้อมาก่อนอยู่แล้ว และเชื้อ HPV สามารถติดต่อได้ง่าย ทำให้อาจเกิดการติดเชื้อได้โดยไม่รู้ตัว

4. เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ฉีดวัคซีน HPV ได้ไหม?

ผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว การฉีดวัคซีน HPV ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์อยู่ เพียงแต่อาจจะได้รับประโยชน์น้อยกว่าผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์หรือติดเชื้อมาก่อน

และสำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้ว การฉีดวัคซีน HPV จะช่วยป้องกันสายพันธุ์อื่นๆ หรือการติดเชื้อซ้ำได้อีกด้วย โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนชนิดที่สามารถครอบคลุมได้หลายสายพันธุ์

5. เข้ารับการตรวจคัดกรองแป๊ปสเมียร์แล้ว สามารถฉีดวัคซีนในวันเดียวกันได้ไหม?

ผู้ที่เข้ารับการตรวจคัดกรองแป๊ปสเมียร์และต้องการฉีดวัคซีน HPV ในวันเดียวกัน สามารถทำได้เลย

โดยการฉีดวัคซีน HPV จะไม่มีผลกระทบใดๆ ไม่จำเป็นต้องรอผล และยังเพิ่มความสะดวกสบาย ประหยัดเวลาได้ด้วย

เข้ารับการตรวจคัดกรองแป๊ปสเมียร์แล้ว สามารถฉีดวัคซีนในวันเดียวกันได้ไหม?

6. ถุงยางอนามัยสามารถป้องกันเชื้อ HPV ได้ไหม?

ถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันเชื้อ HPV ได้ 100% เพราะความจริงแล้ว เชื้อ HPV มีอยู่ที่อวัยวะอื่นๆ นอกการครอบคลุมของถุงยางอนามัยด้วย

สำหรับใครที่อ่านบทความมาถึงตรงนี้แล้ว และต้องการฉีดวัคซีน HPV เพื่อป้องกันไวรัสร้ายที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ในอนาคต สามารถเข้าไปเช็กราคาฉีดวัคซีน HPV แต่ละแบบผ่านเว็บไซต์​ HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแอดมิน ทักไลน์ @hdcoth ได้เลย

ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมก่อนรับวัคซีน

ที่มาของข้อมูล

  • ผศ. นพ. ณัฐวุฒิ กันตถาวร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งวิทยานรีเวช หัวหน้างานศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ วิทยาลัยแพทย์ศาตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
TH-HPV-00451 10/2023

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)