การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “วัคซีน HPV” เป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งทวารหนัก รวมถึงโรคหูดที่อวัยวะเพศ
หลายคนคงทราบกันดีกว่าการฉีดวัคซีน HPV ให้มีประสิทธิภาพ ควรฉีดก่อนที่จะได้รับเชื้อ หรือก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
แต่ก็มีหลายคนที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน HPV มาก่อน และเคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วสงสัยว่าตนเองควรฉีดวัคซีน HPV ไหม? ยังจำเป็นอยู่หรือเปล่า? HDmall.co.th เลยหาคำตอบมาให้แล้ว อ่านได้เลยที่บทความนี้
วัคซีน HPV คืออะไร?
วัคซีน HPV เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papillomavirus ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวหารหนัก มะเร็งช่องปากและลำคอ รวมถึงโรคหูดหงอนไก่
ซึ่งวัคซีน HPV เป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัย เนื่องจากผลิตจากโปรตีนชนิดหนึ่งจากเชื้อไวรัส HPV ที่ไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อและไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง
นอกจากนี้วัคซีน HPV ยังสามารถออกฤทธิ์อยู่ในร่างกายได้เป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี โดยที่ประสิทธิภาพไม่ลดลงด้วย ทำให้การฉีดวัคซีน HPV จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ที่มีประสิทธิภาพ
ก่อนฉีดวัคซีน HPV ควรตรวจหาเชื้อก่อนไหม?
ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ก่อนฉีดวัคซีน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงทุกคนควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปีอยู่ แม้ว่าจะได้รับวัคซีนครบตามที่แนะนำแล้ว เนื่องจากวัคซีน HPV ไม่สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ทุกประเภท
คนที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ควรฉีดวัคซีน HPV กี่สายพันธ์ุ?
ผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว รวมถึงผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน สามารถปรึกษาแพทย์ถึงความเหมาะสมเกี่ยวกับชนิดของวัคซีน HPV ของตัวท่านได้เลย โดยปัจจุบันวัคซีน HPV มีด้วยกัน 3 ชนิด ดังนี้
- วัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ 6 และ 18 สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งปากช่องคลอด
- วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ 6, 11, 16 และ 18 สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก และหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ได้
- วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งคอหอยส่วนบน มะเร็งศีรษะและลำคอ และหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ได้
ซึ่งวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ เป็นวัคซีน HPV ที่สามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV ได้ครอบคลุมมากที่สุดในปัจจุบัน
เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ควรฉีดวัคซีน HPV ไหม?
การฉีดวัคซีน HPV ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ ควรฉีดวัคซีนก่อนที่จะได้รับเชื้อไวรัส HPV ซึ่งมักจะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์
โดยศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (CDC) แนะนำให้เริ่มฉีดวัคซีน HPV เข็มแรกตอนอายุ 11-12 ปี และฉีดเข็มที่สองหลังจากเข็มแรกไปแล้ว 6 เดือน
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว สามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับการฉีดวัคซีน HPV ได้ เพราะถึงแม้วัคซีนจะไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่เคยได้รับมาก่อนได้ แต่ก็ยังสามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธ์ุที่ยังไม่เคยรับได้อยู่
สรุปเรื่องการฉีดวัคซีน HPV ในกลุ่มคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว
อ่านมาถึงตรงนี้ หวังว่าจะช่วยคลายข้อสงสัยสำหรับคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ว่าควรฉีดวัคซีน HPV ไหม? รวมถึงได้รู้ว่าตนเองเหมาะกับวัคซีน HPV กี่สายพันธุ์
และสำหรับท่านใดที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีน HPV มาก่อน แนะนำให้ควรไปปรึกษาแพทย์และรับการฉีดวัคซีน HPV ตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนอายุเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
เพราะถึงแม้จะเลยวัยที่เหมาะสมไปแล้ว แต่การฉีดวัคซีน HPV ยังสามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้อยู่
เช็กราคาฉีดวัคซีน HPV แต่ละแบบผ่านเว็บไซต์ HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแอดมิน ทักไลน์ @hdcoth
ที่มาของข้อมูล
- Centers for Disease Control and Prevention (CDC), What Parents Should Know About HPV Vaccine Safety and Effectiveness (https://www.cdc.gov/hpv/hcp/2-dose/parents-should-know.html), 3 September 2023.
- Centers for Disease Control and Prevention (CDC), HPV Vaccination Recommendations (https://www.cdc.gov/vaccines/vpd/hpv/hcp/recommendations.html), 3 September 2023.
- Centers for Disease Control and Prevention (CDC), HPV Vaccine (https://www.cdc.gov/hpv/parents/vaccine-for-hpv.html), 3 September 2023.
- Centers for Disease Control and Prevention (CDC), HPV Vaccine Information For Young Women (https://www.cdc.gov/std/hpv/stdfact-hpv-vaccine-young-women.htm), 3 September 2023.
- Human papillomavirus types 16 and 18 vaccine (recombinant, AS04 adjuvanted adsorbed vaccine) Prescribing Information.
- Quadrivalent Human Papillomavirus (Types 6, 11, 16, 18) Recombinant Vaccine Prescribing Information, THL-V501-I-042019, Approval date: 21 Feb 2020
- Human Papillomavirus 9-valent Recombinant Vaccine Prescribing Information, LPI-V503-I-022021, Approval date: 10 Oct 2022
- Restrepo J, Herrera T, Samakoses R, et al. Ten-Year Follow-up of 9-Valent Human Papillomavirus Vaccine: Immunogenicity, Effectiveness, and Safety. Pediatrics.2023;152(4):e2022060993.
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, “วัคซีน HPV” ป้องกันโรคอะไร? ฉีดกี่ครั้งตอนไหนบ้าง? (https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/what-diseases-does-the-hpv-vaccine-protect-against-how-many-injections-and-when/), 3 กันยายน 2566.
- โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ, ข้อควรรู้ก่อนฉีด HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก (https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/112) , 1 October 2021.