กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ฉันควรเข้ารับการตรวจเชื้อ HPV หรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ฉันควรเข้ารับการตรวจเชื้อ HPV หรือไม่

การติดเชื้อ HPV เป็นโรคที่พบได้บ่อย และมักหายได้เอง ดังนั้นคนจำนวนมากจึงไม่รู้ตัวว่ากำลังติดเชื้อนี้อยู่

ถ้าคุณได้รับการตรวจแล้วว่าติดเชื้อ HPV นั่นเป็นเพราะว่าคุณมีผลการตรวจแป้บ (Pap) ที่ผิดปกติ การตรวจแป้บ (Pap) บางครั้งอาจเรียกว่า แป้บสเมียร์ (Pap smears) เป็นวิธีการตรวจหาเซลล์ผิดปกติบริเวณปากมดลูกที่สำคัญมาก เพราะเซลล์ผิดปกตินั้นมักมีสาเหตุจากการติดเชื้อ HPV  การตรวจแป้บ (Pap) จะช่วยให้ตรวจพบเซลล์ผิดปกติเท่านั้น แต่ไม่ได้ตรวจหาตัวเชื้อ HPV โดยตรง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การตรวจ HPV ในแต่ละช่วงอายุ

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อ HPV โดยตรง โดยเฉพาะ HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง แต่จะนิยมตรวจในบางกรณีเท่านั้น แพทย์จะเป็นผู้แนะนำการตรวจหาเชื้อ HPV ในกรณีดังนี้

  • สำหรับผู้หญิงอายุ 25 ปีขี้นไป แทนการตรวจแป้บ (Pap)
  • สำหรับผู้หญิงอายุ 30-65 ปี ร่วมกับการตรวจแป้บ (Pap)
  • ใช้ในการติดตามอาการ หลังจากที่เคยมีผลการตรวจแป้บแล้วพบว่ามีเซลล์ผิดปกติเกิดขึ้น หรือผลแป้บไม่ชัดเจน

แพทย์จะแนะนำการตรวจที่จำเป็นและแนะนำความถี่ในการตรวจซ้ำให้กับคุณ

หากเจอเชื้อ HPV เป็นมะเร็งหรือไม่?

ถ้าผลการตรวจหาเชื้อ HPV ให้ผลเป็นบวก อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะยังไม่หมายความว่าคุณจะเป็นมะเร็ง แต่หมายถึงว่าคุณกำลังติดเชื้อ HPV อยู่ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในอนาคต ข้อดีที่ตรวจพบเร็วคือจะช่วยให้คุณติดตามตัวเองและมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ โดยในช่วงแรกแพทย์จะติดตามคุณบ่อยครั้ง และค่อยๆ ห่างออกไป เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะไม่มีการพัฒนาของโรคเป็นมะเร็ง

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีตรวจหาเชื้อ HPV ที่บริเวณอวัยวะเพศชาย ดังนั้นจึงควรฉีดวัคซีนป้องกันโรค HPV ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง และตรวจร่างกายเป็นประจำ  และแน่นอนว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้จะหายจากการติดเชื้อได้เองโดยไม่มีอาการใดๆ เลย  อย่างไรก็ตามในระหว่างที่คุณไม่มีอาการ คุณสามารถแพร่เชื้อ HPV ไปยังคู่ของคุณได้

โปรดจำไว้ว่า การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ได้แก่ การใช้ถุงยางอนามัย และ/หรือ แผ่นยางอนามัยระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก และทางปาก จะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ HPV

ฉันจะตรวจการติดเชื้อ HPV ได้อย่างไร

คุณสามารถเข้ารับการตรวจแป้บ (Pap) หรือการตรวจหาเชื้อ HPV ได้ที่โรงพยาบาล หรือคลินิกชุมชนที่รับตรวจ

การตรวจสุขภาพสตรีรวมถึงการตรวจแป้บ (Pap) หรือ การตรวจหาเชื้อ HPV เป็นสิ่งจำเป็น  สำหรับความถี่ในการตรวจซ้ำขึ้นกับอายุ ประวัติทางการแพทย์ ผลการตรวจแป้บครั้งก่อน หรือผลการตรวจหาเชื้อ HPV ครั้งก่อน แพทย์จะแจ้งให้คุณทราบว่าเมื่อไรที่คุณควรเข้ารับการตรวจซ้ำ และแนะนำการวิธีในการตรวจที่เหมาะสมสำหรับคุณ

การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ไม่รวมอยู่ในการตรวจร่างกายประจำปี หรือการตรวจทางสูตินรีเวช ดังนั้นหากต้องการตรวจ จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเสมอ แพทย์จะเลือกวิธีตรวจที่เหมาะสมที่สุดให้คุณ อย่าเขินอาย แพทย์จะช่วยเหลือคุณเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีน HPV 4 สายพันธุ์ ฉีดง่ายใช้เวลาไม่นาน แต่ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 90% | HDmall
ฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ไม่เจ็บอย่างที่คิด | HDmall
รีวิวตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจหาเชื้อ HPV และอัลตราซาวด์หาเนื้องอกมดลูกและรังไข่ ที่โรงพยาบาลพญาไท 3 | HDmall


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)