กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ไวรัส HPV ภัยเงียบของผู้ชายที่ไม่ควรมองข้าม

รู้จักไวรัส HPV ภัยเงียบของผู้ชายที่ไม่ควรมองข้าม อันตรายไหม? ก่อโรคอะไรได้บ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ต.ค. 2023 อัปเดตล่าสุด 22 ต.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ไวรัส HPV ภัยเงียบของผู้ชายที่ไม่ควรมองข้าม

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เชื้อไวรัส HPV เป็นเชื้อที่ก่อโรคได้ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ อีกทั้งยังติดต่อได้ง่ายจากการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อ HPV
  • ไวรัส HPV สามารถแฝงตัวในร่างกายได้นานกว่า 10 ปี โดยไม่มีอาการใดๆ ทำให้อาจแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว
  • วัคซีน HPV เป็นหนึ่งในวิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ที่มีประสิทธิภาพ สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป
    • ดูรายละเอียดการฉีดวัคซีน HPV แต่ละแบบได้ที่ HDmall.co.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับแอดมิน ทักไลน์ @hdcoth

หลายคนมักคิดว่าเชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นเชื้อที่อันตรายสำหรับผู้หญิงและก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ความจริงแล้วไวรัส HPV เป็นเชื้อที่ก่อโรคได้ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และผู้ที่มีความหลากลายทางเพศ อีกทั้งยังติดต่อได้ง่ายจากการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อ HPV ด้วย

ความเข้าใจผิดนี้ ทำให้ผู้ชายหลายคนมองข้ามความอันตรายของไวรัส HPV และไม่ได้รับการป้องกันอย่างถูกวิธี HD.co.th จึงรวบรวมข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับไวรัส HPV พร้อมทั้งวิธีการป้องกันมาไว้ให้ในบทความนี้

ราคาฉีดวัคซีน HPV

ไวรัส HPV ภัยเงียบของผู้ชาย

เชื้อไวรัส HPV เป็นภัยเงียบของผู้ชาย โดยพบว่า 90% ของผู้ชายที่เคยมีเพศสัมพันธ์ เคยได้รับเชื้อ HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต

การติดเชื้อ HPV ในเพศชายจะไม่ลดลงตามช่วงอายุ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อเชื้อ HPV ได้ไม่ดี ทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ และส่งผลให้ติดเชื้อซ้ำ

ความอันตรายอย่างหนึ่งของการติดเชื้อไวรัส HPV คือ เชื้อจะแฝงตัวอยู่ในร่างกายได้นานกว่า 10 ปี โดยไม่แสดงอาการใดๆ ทำให้อาจแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ง่ายโดยไม่รู้ตัว

ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการตรวจคัดกรองมะเร็งอวัยวะเพศชาย ทำให้ส่วนมากจะตรวจพบเมื่อเป็นโรคหรือเป็นมะเร็งระยะลุกลามแล้ว

ไวรัส HPV ภัยเงียบของผู้ชาย

เชื้อ HPV ก่อให้เกิดโรคอะไรในเพศชายได้บ้าง?

เชื้อไวรัส HPV มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ ทำให้นอกจากจะก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงแล้ว ยังทำให้เกิดมะเร็งต่างๆ รวมถึงหูดหงอนไก่ในผู้ชายได้ด้วย

โดยสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส HPV จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ

  • สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง ก่อให้เกิดมะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งองคชาต เช่น สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33 45, 52 และ 58
  • สายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ เช่น สายพันธุ์ 6 และ 11

โรคมะเร็งช่องปากและลำคอคืออะไร?

โรคมะเร็งช่องปากและลำคอ เป็นมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเยื่อบุภายในบริเวณช่องปากและลำคอ รวมถึงบริเวณคอหอยส่วนช่องปากด้วย ได้แก่ ทอนซิล โคนลิ้น และเพดานอ่อน

ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งช่องปากและลำคอจากการติดเชื้อไวรัส HPV มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาจากการดื่มแอลกอฮอล์หนัก การสูบบุหรี่ และการติดเชื้อไวรัส HPV จากการทำ Oral sex

โรคมะเร็งทวารหนักคืออะไร?

โรคมะเร็งทวารหนัก มีลักษณะเป็นติ่งหรือก้อนที่ทวารหนัก บางรายอาจมีอาการถ่ายเป็นเลือด คันผิดปกติบริเวณทวารหนัก เจ็บก้น มีเลือดออกและมีก้อนเนื้อขนาดเล็ก ขับถ่ายผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต และทำให้ขาหนีบบวมได้ด้วย

โรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศชายคืออะไร?

โรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศชาย มีลักษณะเป็นติ่งเนื้องอกอ่อนๆ สีชมพู หรือสีเนื้อผิวขรุขระ โดยจะเริ่มจากรอยโรคเล็กๆ ก่อน แล้วขยายตัวลุกลามให้ใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีลักษณะคล้ายหงอนไก่หรือดอกกะหล่ำ

โรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศชาย พบว่ามีโอกาสเกิดซ้ำได้ง่ายมาก โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรกหลังสิ้นสุดการรักษา ทำให้โรคนี้จึงเป็นโรคที่สร้างความรบกวนต่อจิตใจของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

เชื้อ HPV ในผู้ชายพบได้บ่อยแค่ไหน?

ในแต่ละปีจะพบผู้ชายติดเชื้อ HPV และป่วยเป็นมะเร็งช่องปากและลำคอ 34,000 คนต่อปี มะเร็งทวารหนัก 9,000 คนต่อปี มะเร็งองคชาต 18,000 คนต่อปี และหูดหงอนไก่ 15 ล้านคนต่อปี ถือว่าเป็นจำนวนที่เยอะมากๆ

เชื้อ HPV ในผู้ชายพบได้บ่อยแค่ไหน?

วิธีป้องกันการติดเชื้อ HPV

วิธีป้องกันการติดเชื้อ HPV สามารถทำได้ง่ายมาก เช่น การงดมีเพศสัมพันธ์ ใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และฉีดวัคซีนป้องกัน HPV

โดยปัจจุบันมีวัคซีนป้องกัน HPV ทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่

  • วัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ 16 และ 18 (ยังไม่มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสำหรับผู้ชาย)
  • วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ 6, 11, 16 และ 18 ช่วยป้องกันมะเร็งทวารหนัก และหูดหงอนไก่อวัยวะเพศชาย
  • วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ช่วยป้องกันมะเร็งช่อปากและลำคอ มะเร็งทวารหนัก และหูดหงอนไก่อวัยวะเพศชาย

สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป โดยเด็กผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 9-15 ปี จะรับวัคซีนเพียงแค่ 2 เข็ม ส่วนผู้ชายที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จะรับฉีดวัคซีนทั้งหมด 3 เข็ม

ถุงยางอนามัยไม่ได้ช่วยป้องกันเชื้อ HPV ได้ทั้งหมด

ถึงแม้ถุงยางอนามัยจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ แต่เนื่องจากเชื้อ HPV สามารถติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัส ทำให้ถุงยางไม่สามารถป้องกันเชื้อ HPV ได้ 100%

อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงหรือผู้ชายก็ควรสวมถุงยางอนามัยตลอด เพื่อลดโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ HPV และเกิดโรคทางเพศอื่นๆ

เช็กราคาฉีดวัคซีน HPV แต่ละแบบผ่านเว็บไซต์​ HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแอดมิน ทักไลน์ @hdcoth

ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมก่อนรับวัคซีน

ที่มาของข้อมูล

  • รศ. ดร. นพ. อติวุทธ กมุทมาศ แพทย์เวชศาสตร์ทางเพศ American Board of Sexologis คลินิกสุขภาพเพศ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
TH-HPV-00454 10/2023

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)