วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์

รวมวิธีรักษาแผลคีลอยด์ จุดเด่น จุดด้อยแต่ละแบบ

รวมวิธีรักษาแผลเป็นคีลอยด์ แต่ละแบบมีจุดเด่น จุดด้อย เหมาะกับแผลแบบไหน
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ม.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
รวมวิธีรักษาแผลคีลอยด์ จุดเด่น จุดด้อยแต่ละแบบ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แผลคีลอยด์เป็นก้อนเนื้อส่วนเกินของเนื้อเยื่อร่างกายที่สร้างขึ้นมาเพื่อซ่อมแซมบาดแผลบริเวณผิวหนัง
  • วิธีรักษาแผลคีลอยด์นั้นทำได้หลายวิธี โดยวิธีที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องผ่าตัด ไม่รู้สึกเจ็บ สามารถซื้ออุปกรณ์รักษาได้ตามร้านขายยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์ คือ การใช้เจล และแผ่นแปะซิลิโคน
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เป็นวิธีรักษาแผลคีลอยด์ที่ได้รับความนิยมมาก ทั้งยังเห็นผลชัด ปลอดภัย โดยแพทย์จะนัดให้มาฉีดทุกๆ 3-4 สัปดาห์จนกว่าแผลจะยุบตัวลง
  • หากแผลคีลอยด์ไม่สามารถยุบตัวได้จากการรักษาวิธีอื่น วิธีสุดท้าย และเป็นวิธีที่สามารถกำจัดก้อนเนื้อ หรือแผลคีลอยด์ขนาดใหญ่ออกไปได้ คือ การผ่าตัด แต่วิธีนี้จะทำได้เพียงบริเวณบริเวณที่สามารถปิดแผลได้และการผ่าตัดไม่ส่งผลต่อรูปร่างอวัยวะบริเวณที่ผ่า
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจจี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์

แผลคีลอยด์ (Keloids) เป็นแผลที่เกิดจากเนื้อเยื่อของร่างกายซึ่งสร้างขึ้นใหม่เพื่อซ่อมแซมผิวหนังบริเวณที่เกิดการฉีกขาดก่อนหน้านั้น แต่เนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นใหม่กลับขยายตัวใหญ่เกินขนาดของแผลบริเวณนั้นและเกิดเป็นแผลสีชมพู หรือสีแดงปูดนูนใหญ่ขึ้น

แผลคีลอยด์เป็นแผลที่มองเห็นได้ชัด มักนูนเป็นก้อน สร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ที่เป็นแผล โดยเฉพาะหากแผลอยู่ในบริเวณที่สังเกตเห็นได้ง่าย เช่น บริเวณใบหน้า หู แขน หรือขา ส่วนที่มักอยู่นอกร่มผ้า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
จี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 192 บาท ลดสูงสุด 81%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

บริเวณของร่างกายที่เกิดแผลคีลอยด์ได้ง่าย ได้แก่ ใบหน้า ติ่งหู กระดูกอ่อนรอบใบหู แก้ม หัวไหล่ หน้าอก และแผ่นหลัง ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลคีลอยด์ได้บ่อยที่สุดคือ การเจาะหู หรือเจาะจมูก

วิธีรักษาแผลคีลอยด์แบ่งออกได้หลายวิธี โดยวิธีที่นิยมใช้กันจะแบ่งเป็น 6 วิธีหลักๆ ได้แก่

1. การใช้เจล หรือแผ่นแปะซิลิโคน

การใช้แผ่นซิลิโคนแปะ หรือทาเจลซิลิโคนลงไปที่บริเวณแผลเป็นเวลา 24 ชั่วโมงติดต่อกันประมาณ 7 วัน วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นแผลคีลอยด์ขนาดเล็ก หรือเพิ่งเริ่มเป็นแผลคีลอยด์ในระยะเริ่มต้น

ข้อดีของการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยวิธีนี้คือ สามารถซื้อแผ่นและเจลซิลิโคนด้วยตนเองได้ที่ร้านขายยาทั่วไป ราคาไม่แพง แต่วิธีนี้ไม่ได้ทำให้แผลคีลอยด์หายไปได้ เพียงแต่ช่วยหยุดการอักเสบของแผลและลดโอกาสที่แผลจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น

ดังนั้นผลลัพธ์จากการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยวิธีนี้จึงมักไม่เห็นชัด และอาจต้องไปขอรับการรักษาด้วยวิธีอื่นต่อ เพื่อให้แผลคีลอยด์หายไป

อีกจุดด้อยของการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยแผ่นแปะซิลิโคน หรือเจลซิลิโคนก็คือ อาจทำให้ผู้ใช้บางรายเกิดผื่นคันระคายเคืองได้ และผิวหนังรอบๆ แผลอาจมีสีเข้มเป็นจ้ำ (Skin maceration)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
จี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 192 บาท ลดสูงสุด 81%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. การกดแผล

การกดทับแผลคีลอยด์ (Pressure Garment) เป็นวิธีการใช้เครื่องมือพิเศษกดทับ หรือรัดแผลคีลอยด์ให้แน่น เพื่อให้เซลล์เนื้อเยื่อไฟโบรบลาสต์ (Fibroblast) หยุดการสร้างตัว และลดขนาดแผลไม่ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม

ลักษณะของอุปกรณ์กดทับแผลคีลอยด์มักจะเป็นผ้ายางยืด (Elasticated garment) ไม้ดาม หรือในกรณีแผลคีลอยด์จากการเจาะหูก็จะเป็นตุ้มหูแบบหนีบ

โดยปกติวิธีการกดทับแผลเพื่อรักษาแผลคีลอยด์จะทำทันทีหลังจากแผลที่ได้รับบาดเจ็บเริ่มเปลี่ยนเป็นแผลคีลอยด์ โดยผู้ที่เป็นแผลจะต้องใส่อุปกรณ์กดทับแผลอย่างต่อเนื่อง 10-16 ชั่วโมงต่อวันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้แผลนิ่มเรียบขึ้น

ข้อดีของการรักษาแผลแบบนี้คือ ไม่เจ็บ เนื่องจากไม่มีการฉีด เจาะ หรือผ่าตัด และเป็นวิธีป้องกันการเกิดแผลคีลอยด์ซ้ำหลังจากผ่าตัดได้ แพทย์จึงนิยมใช้วิธีการรักษานี้ด้วยหลังจากมีผ่าตัดแผลคีลอยด์แล้ว และตัวอุปกรณ์ยังสามารถสั่งทำเพื่อให้เข้ากับสรีระผู้ใช้ได้

3. การฉีดยาสเตียรอยด์

การรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เหมาะสำหรับแผลคีลอยด์ที่ยังเป็นสีแดง หรือชมพู ซึ่งหมายถึง ร่างกายยังมีการสร้างเนื้อเยื่อเพื่อซ่อมแซมแผลบริเวณดังกล่าวอยู่ รวมถึงแผลคีลอยด์ที่ไม่ได้นูนมาก โดยตัวยาจะเข้าไปช่วยกระตุ้นให้แผลยุบตัว ไม่นูนเด่นกว่าเดิม

จุดเด่นของการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์คือ มักเห็นผลการรักษาชัด ปลอดภัย และได้รับความนิยมสูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
จี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 192 บาท ลดสูงสุด 81%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ระยะเวลาในการฉีดยาสเตียรอยด์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของแผลคีลอยด์ รวมถึงการตอบสนองต่อยาของตัวแผล แต่โดยปกติแพทย์จะนัดให้รับการฉีดทุกๆ 3-4 สัปดาห์ จนกว่าแผลจะเริ่มยุบตัวและสีจางลงไป

4. การพ่นความเย็น

เรียกอีกชื่อว่า “วิธี Cryosurgery” เป็นวิธีการใช้สารไนโตรเจนเหลวพ่นไปที่บริเวณแผลคีลอยด์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีแผลคีลอยด์ไม่ใหญ่ ไม่นูนมาก โดยความเย็นจากไนโตรเจนจะเข้าไปผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วของแผล ทำให้เกิดการตกสะเก็ด แล้วหลุดลอกออกไป

จุดเด่นของการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการพ่นความเย็นคือ มีขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องเตรียมตัวมาก่อนการรักษา เพียงแต่อาจรู้สึกเจ็บ หรือแสบผิวหลังจากพ่นไนโตรเจนลงไป และอาจมีอาการผิวบวมแดงในระหว่างที่แผลมีการผลัดเซลล์ผิวใหม่

ระยะเวลาในการรักษาแผลคีลอยด์ด้วยการพ่นความเย็นจะคล้ายกับวิธีฉีดยาสเตียรอยด์นั่นคือ ต้องมารับการพ่นความเย็นอย่างต่อเนื่องทุกๆ 3-4 สัปดาห์ จนกว่าแผลจะยุบตัวหายไป

แพทย์มักใช้การรักษาด้วยวิธีพ่นความเย็นร่วมกับการฉีดยาสเตียรอยด์ เพื่อให้แผลยุบตัวเร็วขึ้น

5. การใช้เลเซอร์

โดยชนิดของเลเซอร์ที่นิยมใช้รักษาแผลคีลอยด์คือ เลเซอร์ CO2 ซึ่งเป็นเลเซอร์ชนิดเดียวกับที่นิยมจี้ไฟ กระ และฝ้าในปัจจุบัน

ลักษณะแผลคีลอยด์ที่สามารถใช้เลเซอร์รักษาได้ คือ แผลคีลอยด์ที่ไม่นูนใหญ่มาก หรืออยู่ในระยะเริ่มต้น โดยเลเซอร์จะเข้าไปทำให้แผลคีลอยด์ที่แข็งกลับมาเป็นเนื้อนิ่ม สามารถยุบตัวเล็กลงได้ และมีสีจางลง

อย่างไรก็ตาม วิธีการใช้เลเซอร์รักษาคีลอยด์ก็มีจุดด้อยตรงที่ผู้เข้ารับบริการบางรายอาจมีรอยแผลแดงเข้มขึ้น และรู้สึกแสบแผลกว่าเดิม ซึ่งผลข้างเคียงนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ที่แผลคีลอยด์ยังมีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่อยู่

นอกจากนี้วิธีการใช้เลเซอร์รักษาแผลคีลอยด์ก็มักไม่ได้ทำให้แผลจางหายไปหมด แพทย์จึงมักรักษาด้วยเลเซอร์ร่วมกับการฉีดยาสเตียรอยด์ เพื่อให้แผลยุบตัว และจางหายไปได้มากที่สุด

หลังจากกำจัดแผลคีลอยด์ด้วยเลเซอร์สำเร็จแล้ว ผิวของคุณยังอาจมีรอยแดงจากการรักษา หรือเกิดความหมองคล้ำ จึงอาจเป็นไอเดียที่ดีก็ได้หากคุณจะลองไปเข้ารับการทำทรีตเมนต์ใบหน้า หรือสครับผิวร่างกายดู หรืออาจปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมถึงวิธีขจัดรอยแดง หรือรอยคล้ำจากเลเซอร์

6. การผ่าตัด

เป็นวิธีรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีแผลคีลอยด์ขนาดใหญ่ แผลนูนมาก เนื้อเยื่อแผลหยุดการสร้างตัวแล้วจนไม่สามารถใช้ยาสเตียรอยด์ทำให้แผลยุบตัวได้ และไม่สามารถใช้วิธีรักษาอื่นเพื่อกำจัดแผลคีลอยด์ได้ด้วย

การผ่าตัดแผลคีลอยด์จึงจะเป็นการผ่าเพื่อตัดก้อนเนื้อส่วนที่เป็นแผลคีลอยด์ออกไป จากนั้นแพทย์ก็จะเย็บปิดแผลให้เรียบร้อย วิธีรักษานี้ค่อนข้างได้รับความนิยมเช่นกัน เนื่องจากเป็นการตัดก้อนแผลออกไปเลย ทำให้จบปัญหาแผลคีลอยด์ได้ง่าย

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดเพื่อรักษาแผลคีลอยด์ก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคน หากมีแผลคีลอยด์ในบริเวณที่ไม่สามารถผ่า หรือเย็บปิดได้ หรือการผ่าตัดส่งผลถึงรูปร่าง และโครงสร้างของอวัยวะ กรณีเช่นนี้ก็จำเป็นจะต้องใช้การรักษาด้วยวิธีอื่นแทน

นอกจากนี้หลังจากการผ่าตัดเพื่อรักษาแผลคีลอยด์แล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่า แผลบริเวณนั้นจะหายไป เพราะต้องอย่าลืมว่า การผ่าตัดก็ถือเป็นการสร้างแผลใหม่ขึ้นอีก และมีโอกาสที่แผลผ่าตัดจะกลายเป็นแผลคีลอยด์ใหญ่กว่าเดิมได้

ดังนั้นแพทย์จึงอาจพิจารณาการผ่าตัดเพื่อนำก้อนคีลอยด์ส่วนที่นูนออกไปเท่านั้น แล้วเย็บปิดให้เหลือเพียงแผลคีลอยด์ที่แบน หรือเหลือแค่ขอบแผลเอาไว้

วิธีรักษาแผลคีลอยด์แต่ละวิธีมีจุดเด่น จุดด้อย และความเหมาะสมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ผู้ที่มีแผลคีลอยด์จะต้องให้แพทย์เป็นผู้ประเมินว่า แผลดังกล่าวเหมาะสำหรับวิธีการรักษาแบบใด ต้องใช้ระยะเวลารักษานานขนาดไหน

อย่าปล่อยให้แผลคีลอยด์ที่เกิดขึ้นไม่ได้รับการรักษา เพราะมีโอกาสที่แผลจะมีขนาดนูนปูดใหญ่ขึ้นจนส่งผลต่อภาพลักษณ์ และบั่นทอนความมั่นใจของคุณให้ลดลงไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ผ่าคีลอยด์ที่หู กับ GROW&GLOW Clinic | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจจี้ไฝ กระ รักษาแผลเป็นคีลอยด์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฉีดคีลอยด์ ผลข้างเคียงเป็นยังไง กี่ครั้งหาย?, (https://hdmall.co.th/c/keloid-injection).
Cynthia Cobb, Everything You Need to Know About Keloid Scars (https://www.healthline.com/health/keloids), 11 December 2020.
สุพจน์ ฉัตรทินกร, แนวทางการรักษาแผลเป็นคีลอยด์ในปัจจุบัน (http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1913), 11 ธันวาคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)