โรงพยาบาลบ้านแพ้ว

ข้อมูลโรงพยาบาล

โรงพยาบาลบ้านแพ้ว เริ่มก่อตั้ง เมื่อ พ.ศ. 2508 ซึ่งในสมัยนั้นชาวบ้านมีการรวมตัวกันทั้งบริจาคที่ดินสนับสนุนด้านกำลังทรัพย์ กำลังกายและกำลังใจในการก่อสร้างโรงพยาบาล บนพื้นที่ 9 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวาผู้อำนวยการคนแรก คือ นายแพทย์สุมน แก้วปิ่นทอง ได้พัฒนาจนเป็น โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลอำเภอ จากขนาด 10 เตียง เป็นขนาด 30 เตียงตามลำดับผู้อำนวยการคนต่อมา คือ นายแพทย์พงศธร สิริภานุพงษ์ พ.ศ.2530 นายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล ได้ย้ายมาจาก จังหวัดอุตรดิตถ์มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ จากนั้นใน พ.ศ. 2550 นายแพทย์สุรพงษ์ บุญประเสริฐ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ และในปัจจุบัน คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลบ้านแพ้ว มีคำสั่งแต่งตั้งให้ นายแพทย์พรเทพ พงศ์ทวิกร เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว โรงพยาบาลบ้านแพ้วมีความเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่องทุกยุคทุกสมัย ทุกผู้อำนวยการ เนื่องจากชุมชนชาวบ้านแพ้วมีทุนทางสังคมที่ดี ในด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนา
ในยุคที่มีการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ.2540-2543 และมีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้น รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้โรงพยาบาลบางแห่งเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารจัดการ 22 มิ.ย. 2543 ได้แก้ไขชื่อโรงพยาบาลเป็น โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) และวันที่ 1 ต.ค. 2543 พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ในการออกนอกระบบของโรงพยาบาล

ข้อมูลติดต่อ

เบอร์โทรศัพท์

034419555

อีเมล

เวลาทำการ

Sat 24 hours

Sun 24 hours

Mon 24 hours

Tue 24 hours

Wed 24 hours

Thu 24 hours

Fri 24 hours

วิธีการเดินทาง

จุดสังเกต
ธนาคารออมสิน

198 หมู่ที่1
บ้านแพ้ว 74120 สมุทรสาคร

ดูแผนที่ใน Google Maps

แผนที่ในโรงพยาบาล

ขั้นตอนการให้บริการ

แผนก

  • แผนกสูตินรีเวช
  • แผนกศัลยกรรม แผนกกระดูกและข้ออายุรกรรม แผนกศัลยกรรม แผนกกุมารเวชกรรม
  • แผนก ตา หู คอ จมูก
  • แผนกทันตกรรม
  • แผนกตรวจสุขภาพ
  • ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉินที่ แผนกวิสัญญี แผนกรังสีวิทยา
แพทย์เฉพาะทางชื่อดัง

นายแพทย์พรเทพ พงศ์ทวิกร
จักษุแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจอประสาทตา
นายแพทย์ชัชวาล อุดมโภชน์ ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
นายแพทย์ปรีดี คิวตระกูล ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์, เฉพาะทางด้านผ่าตัดกระดูกสันหลังและกระดูกคอ
แพทย์หญิงเสาวนีย์ เกิดดอนแฝก กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้
นายแพทย์พรเทพ พงศ์ทวิกร จักษุแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจอประสาทตา

ค่ารักษาพยาบาล

สิทธิประกันสังคมและประกันสุขภาพ

ประกันสังคม: ได้

30 บาทรักษาทุกโรค: ได้