กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

วิธีการรักษาอาการแผลพุพองบริเวณเท้าด้วยตัวเอง

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีการรักษาอาการแผลพุพองบริเวณเท้าด้วยตัวเอง

อาจยากที่จะป้องกันความเจ็บปวดจากแผลพุพอง แต่ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะไม่มีทางรักษา วิธีการที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ จะช่วยลดอาการปวดและรักษาแผลพุพองบริเวณเท้าที่เกิดขึ้นได้

วิธีบรรเทา และรักษาแผลพุพอง

1. ป้องกันแผลพุพองด้วยน้ำยาดับกลิ่นกาย

แผลพุพองจะรุนแรมากขึ้นหากมีความชื้นและถูกเสียดสี ดังนั้น ควรดูแลให้เท้าแห้งอยู่เสมอ หลังจากทำความสะอาดเท้าเสร็จแล้วให้ทาน้ำยาดับกลิ่นกายบริเวณหลังเท้าและข้างเท้า ทิ้งไว้ให้แห้งก่อนสวมรองเท้า น้ำยาดับกลิ่นกายจะช่วยบรรเทาอาการและลดการเสียดสีของเท้ากับรองเท้าที่คุณสวมใส่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. ปิดคลุมเพื่อป้องกัน

ผ้าพันแผลจะช่วยลดการเสียดสีและป้องกันแผลพุพองไม่ให้เกิดอาการระคายเคืองได้ วิธีการพันแผลที่ถูกต้องนั้นสำคัญที่จะส่งผลให้แผลหายเร็วขึ้นหรือแย่ลง วิธีที่ถูกต้องดังนี้ วางผ้าพันแผลในลักษณะรูปเต้นท์โดยให้ปลายผ้าทั้งสองด้านทบเข้าหากัน ส่วนกลางของผ้าวางบนแผล วิธีนี้จะเป็นการปล่อยแผลไม่ให้อับชื้น รักษา และป้องกันไม่ให้แผลโดนเสียดสีจากการสวมรองเท้า ป้องกันแผลจากสิ่งสกปรกและเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ

3. แช่ในน้ำชาเขียว

ชาเขียวมีส่วนประกอบของสารต้านการอักเสบที่สามารถช่วยรักษาแผลพุพองได้ วิธีการคือ ชงชา 3 ซองกับน้ำร้อน จากนั้นเทเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชาลงไปในถ้วยชา (เพื่อช่วยฆ่าเชื้อ) ทิ้งชาไว้ให้เย็น เทชาลงในชามหรือกะละมัง จากนั้นแช่เท้าที่เป็นแผลไว้ หรืออาจใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำชาแล้วพันไว้บริเวณแผลกรณีที่บริเวณดังกล่าวไม่สามารถแช่น้ำได้ นอกจากนี้ หากแผลที่เป็นอยู่ยังไม่หลุดลอกออกมา คุณสามารถเร่งการรักษาได้ด้วยการแช่เท้าที่เป็นแผลกับน้ำอุ่นเพื่อให้แผลอ่อนนุ่มขึ้นและช่วยระบายของเหลวภายใต้แผลออกมา

4. เช็ดแผลด้วยน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์

การรักษาวิธีนี้อาจเกิดกลิ่นรุนแรงจากน้ำส้มสายชู หากคุณพอจะทนกับกลิ่นได้ วิธีนี้ก็เป็นวิธีที่ง่ายและน่าลองวิธีหนึ่ง เนื่องจากน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์มีส่วนประกอบของสารที่สามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรียได้ ดังนั้นการใช้กับแผลพุพองจึงช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ด้วยเช่นกัน แต่ถ้าการใช้น้ำส้มสายชูทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดเกินไป ลองใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ล้างแผลและทาด้วยยาขี้ผึ้งทาแผลก็ช่วยได้เช่นกัน

5. วิตามินอี

วิตามินอีมีคุณสมบัติวิเศษที่สามารถฟื้นฟูผิวที่เป็นแผลได้ ซึ่งจะช่วยให้เซลล์ผิวหนังฟื้นตัวและสามารถป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็น คุณสามารถหาซื้อน้ำมันหรือครีมที่มีส่วนประกอบของวิตามินอีได้จากร้านขายยาทั่วไป หรือใช้แคปซูลวิตามินอี โดยการแกะแคปซูลแล้วเทผงวิตามินลงบนแผลโดยตรง   

6. ทาแผลด้วยน้ำมันละหุ่ง

เป็นที่ทราบกันดีว่า น้ำมันละหุ่งเป็นยาที่ดีชนิดหนึ่งที่สามารถรักษาอาการแผลพุพองได้ วิธีการคือ ทาแผลด้วยน้ำมันละหุ่งทุกวันก่อนเข้านอนจะช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น นอกจากนี้ คุณสามารถผสมน้ำมันละหุ่งกับน้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์ แล้วทาบริเวณแผลจะช่วยป้องกันเชื้อโรค ทำให้แผลแห้งและหายเร็วขึ้น

7. น้ำมันดอกวิชฮาเซล

เนื่องจากดอกวิชฮาเซลมีส่วนประกอบของสารแทนนินที่ทำให้เกิดรสฝาด จะช่วยล้างแผล ทำให้แผลแห้ง และหายเร็วขึ้น ใช้สำลีชุบน้ำมันวิชฮาเซลแล้วทาบริเวณแผล ทำทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้น

8. ทาด้วยเจลว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้มีคุณสมบัติที่สามารป้องกันอาการอักเสบและสามารถลดอาการปวดบวมของแผลให้ทุเลาลงได้ การศึกษาวิจัยยืนยันว่าว่านหางจระเข้สามารถใช้เป็นยารักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกระดับที่สองและระดับที่สามได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9. ปล่อยให้แผลได้ระบายอากาศ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า แผลพุพองจะหายเร็วขึ้นหากไม่ถูกปิดทับด้วยผ้าหรือเทปพันแผลใดๆ ดังนั้นพยายามเปิดแผลเมื่อคุณอยู่บ้านเพราะเมื่อแผลได้รับการระบาย แผลจะแห้งและหายเร็วขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธภาพสูงสุดเมื่อเปิดแผลจากผ้าที่พันไว้แล้ว ให้ใช้ขี้ผึ้งทาแผลทาบางๆ จะทำให้แผลยิ่งหายเร็วขึ้น  


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Get Rid of a Blister on Your Feet, Hands, Lips, and Other Areas. Healthline. (https://www.healthline.com/health/how-to-get-rid-of-a-blister)
Blisters on Feet: Causes and Treatments. Healthline. (https://www.healthline.com/health/blisters-on-feet)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)