พญ. สุดารัตน์ ศุภนิตยานนท์ แพทย์เฉพาะทางด้านกุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
เขียนโดย
พญ. สุดารัตน์ ศุภนิตยานนท์ แพทย์เฉพาะทางด้านกุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม

Habit-reversal training คืออะไร ใช้แก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กได้อย่างไรบ้าง

พฤติกรรมชอบดึงผม กัดเล็บ แกะเกาผิวหนัง อาจรักษาได้ด้วยพฤติกรรมบำบัดชนิด Habit-reversal training รายละเอียดของพฤติกรรมบำบัดชนิดนี้เป็นอย่างไร อ่านต่อ
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Habit-reversal training คืออะไร ใช้แก้ปัญหาพฤติกรรมเด็กได้อย่างไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการที่ติดเป็นนิสัยบางอย่าง เช่น กัดเล็บ ดึงผม กระตุกแขนขา อาจเป็นอาการของโรคทูเร็ตต์ (Tourette disorder) ที่สมองสั่งให้คลื่อนไหวกล้ามเนื้อโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • พฤติกรรมบำบัด (Habit-reversal training) เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคทูเร็ตต์
  • นอกจากนี้ พฤติกรรมบำบัดสามารถใช้รักษา โรคดึงผม (Trichotillomania) อาการกัดเล็บ (Nail biting) และโรคแกะผิวหนัง Excoriation (Skin-Picking) disorder ได้อีกด้วย
  • วิธีการบำบัด เช่น อธิบายลักษณะของตัวเองขณะทำพฤติกรรมนั้นหน้ากระจก เพื่อให้รับรู้พฤติกรรมของตัวเอง จากนั้นหาพฤติกรรมทดแทนความเคยชิน อาจเป็นการบีบลูกบอลขนาดพกพา
  • ดูแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตได้ที่นี่

รักษาโดยใช้พฤติกรรมบำบัดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษา หรือเป็นวิธีการรักษาร่วมกับการใช้ยาที่ได้ผลการรักษาที่ดีในปัจจุบัน

เทคนิค Habit-reversal training คืออะไร

พฤติกรรมบำบัด เป็นการบำบัดทางจิตเวชอย่างหนึ่งเพื่อมุ่งเน้นการควบคุมพฤติกรรม เพราะพฤติกรรมทุกพฤติกรรมล้วนมีความหมาย และบางพฤติกรรมที่เกิดขึ้นก็อาจเกิดจากการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้ตั้งใจกระทำ ทำให้เกิดเป็นพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้

พฤติกรรมบำบัดโดยใช้วิธี Habit-reversal training เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการรักษากลุ่มอาการของโรคทูเร็ตต์ (Tourette disorder) ที่สมองสั่งการให้เกิดพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้ออย่างไม่ได้ตั้งใจ เช่น กระพริบตา อ้าปาก กระตุกแขนขาหรือขยับไหล่ และมีพฤติกรรมการเปล่งเสียงในลำคอหรือจมูก กระแอม ไอ โดยไม่ได้ตั้งใจร่วมกัน

Habit-reversal training เป็นวิธีการรักษาโดยทำพฤติกรรมบำบัด ผู้ให้การบำบัดจะสอนให้ผู้ป่วยรู้เท่าทันอาการของตนเองขณะเกิดอาการ (Self-awareness) ฝึกควบคุมอาการด้วยการผ่อนคลาย (Relaxation) และตอบสนองต่อพฤติกรรมอื่นที่ทำได้ทดแทน

ตัวอย่างการใช้พฤติกรรมบำบัดชนิด Habit-reversal training

ตัวอย่างการใช้พฤติกรรมบำบัดชนิด Habit-reversal training เพื่อรักษาโรคดึงผมตนเอง

1. ฝึกการรู้เท่าทันอาการของตนเอง

ผู้ให้การบำบัดอาจให้ผู้ป่วยมองกระจกและบรรยายลักษณะพฤติกรรมของตนเองที่เกิดขึ้น เช่น ท่าทางขณะดึงผมตนเอง

นอกจากนั้นผู้ให้การบำบัดช่วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงพฤติกรรมของตนเอง สังเกตอาการและสัญญาณแรกที่เกิดขึ้นก่อนพฤติกรรมนั้นๆ จะแสดงออกมา เช่น ความรู้สึกว่ากำลังเกิดขึ้น สิ่งกระตุ้น หรือความคิดที่กำลังเกิดขึ้น และให้ผู้ป่วยแสดงการรับรู้ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการกระทำเพื่อให้รู้เท่าทันตนเอง

2. ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมใหม่ทดแทน

เมื่อผู้ป่วยรับรู้ตนเองแล้ว ขั้นต่อไปผู้ป่วยจะถูกฝึกให้หาพฤติกรรมใหม่ที่สามารถทดแทนพฤติกรรมที่เป็นปัญหาทดแทน เช่น หากจะดึงผมตนเอง ผู้ป่วยจะถือลูกบอลไว้ในมือ บีบลูกบอลแน่นๆ ข้างลำตัวตนเอง

3. สร้างแรงจูงใจในการเลิกพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

ผู้ป่วยอาจบันทึกพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ความถี่ และผลกระทบของพฤติกรรมที่ส่งต่อตนเอง บุคคลใกล้ชิดรอบตัวควรส่งเสริมให้กำลังใจและให้แรงเสริมเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเลิกพฤติกรรมที่เป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง

4. ฝึกให้ทำพฤติกรรมใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ

เช่น ที่บ้าน ที่โรงเรียน

Habit-reversal training สามารถรักษาปัญหาอะไรได้บ้าง?

ตัวอย่างพฤติกรรมที่รักษาด้วยวิธี Habit-reversal training ได้ มีดังนี้

  • Tics disorder
  • Tourette disorder
  • โรคดึงผม (Trichotillomania)
  • กัดเล็บ (Nail biting)
  • โรคแกะผิวหนัง Excoriation (Skin-Picking) disorder

อย่างไรก็ตาม การรักษาโดยการทำพฤติกรรมบำบัดด้วยวิธี Habit-reversal training นี้ ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วย และใช้ระยะเวลาหลายสัปดาห์เพื่อให้อาการของโรคดีขึ้น

หากผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์และได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ร่วมกัน เช่น การใช้ยา การทำกิจกรรมบำบัด หรือการทำจิตบำบัดเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้น ผู้ป่วยและครอบครัวควรปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำเพื่อให้ตอบสนองต่อการรักษาดีที่สุด

ดูแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Verywell Mind, Using Habit Reversal Training to Reduce Physical and Verbal Tics (https://www.verywellmind.com/habit-reversal-training-2510618), 24 January 2020.
International Journal of Trichology, Habit Reversal Training for Trichotillomania (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3358939/), January 2012.
Functional Neurology, The effectiveness of habit reversal therapy in the treatment of Tourette syndrome and other chronic tic disorders: a systematic review (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3812724/), January 2013.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)