โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ชื่อผู้สนับสนุน
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

คุณแม่ต้องรู้! คลอดธรรมชาติ บล็อคหลัง ผ่าคลอด ต่างกันอย่างไร มีความเสี่ยงอะไรบ้าง?

วิธีคลอดธรรมชาติ ผ่าคลอด ขนาดแผล ระยะเวลาคลอด และข้อดี-ข้อเสียของการคลอดแต่ละแบบ
เผยแพร่ครั้งแรก 31 พ.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 31 พ.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
คุณแม่ต้องรู้! คลอดธรรมชาติ บล็อคหลัง ผ่าคลอด ต่างกันอย่างไร มีความเสี่ยงอะไรบ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คลอดธรรมชาติ ถือเป็นวิธีคลอดที่ปลอดภัยที่สุด ณ ปัจจุบัน แผลเล็ก พักฟื้นไม่นาน แพทย์มักแนะนำให้ใช้วิธีนี้ก่อนวิธีอื่นๆ
  • บางครั้งคลอดธรรมชาติอาจทำร่วมกับการบล็อกหลัง ซึ่งเป็นการให้ยาชาผ่านทางไขสันหลัง ไม่มีผลข้างเคียงต่อการเบ่งและต่อทารก
  • การผ่าคลอดเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้ไม่ต้องรู้สึกตัวเลยระหว่างคลอด และไม่ต้องมีแผลที่ฝีเย็บ แต่แผลใหญ่กว่า เสียเลือดมากกว่า และพักฟื้นนานกว่าคลอดธรรมชาติ
  • จะคลอดแบบไหนควรปรึกษาแพทย์ เพราะคุณแม่แต่ละคนมีภาวะสุขภาพแตกต่างกัน
  • ตอนนี้บำรุงราษฎร์มีแพ็กเกจมัดจำค่าคลอด Happy Childbirth สำหรับจองสิทธิ์แพ็กเกจคลอดคุณภาพในราคาเหมาจ่าย ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ ซื้อวันนี้ใช้ได้ถึง 30 มิ.ย. 2564

ว่ากันว่าสำหรับผู้หญิงแล้ว สิ่งที่ทำให้เจ็บปวดมากที่สุดอย่างหนึ่งในชีวิตก็คือ “การคลอด” แต่หลังจากผ่านความเจ็บนั้นได้ ก็จะตามมาด้วยความอิ่มเอมใจที่ได้เห็นหน้าทารกน้อยที่ค่อยๆ เติบโตอยู่ในท้องของเรามาตลอด 9 เดือน

ไม่แปลกที่คุณแม่จำนวนไม่น้อยอาจลังเลว่าควรจะเลือกคลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอดดีกว่า ความเสี่ยง ผลระยะยาวของแต่ละวิธีเป็นอย่างไร หรือกังวลว่าหลังคลอดแล้วนานไหมกว่าแผลจะหาย ควรฝากครรภ์หรือทำคลอดที่ไหนดีที่ได้รับการบริการอย่างมีคุณภาพ

HD.co.th รวบรวมเรื่องการคลอด ทั้งคลอดธรรมชาติและผ่าคลอด มาให้ในบทความนี้

คลอดธรรมชาติคืออะไร น่ากลัวจริงหรือ?

การคลอดธรรมชาติคือวิธีการคลอดที่คุณแม่จะเบ่งทารกน้อยออกมาผ่านทางช่องคลอด โดยแพทย์จะกรีดผิวหนังระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก ความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร เพื่อขยายช่องทางให้ศีรษะทารกสามารถโผล่ออกมาอย่างสะดวก การเบ่งคลอดจะใช้เวลาอยู่ในช่วงประมาณ 30-60 นาที ระยะเวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลมักอยู่ที่ 1-2 วัน ถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด ณ ปัจจุบัน และแพทย์มักแนะนำให้ใช้วิธีนี้ก่อนวิธีอื่นๆ

สัญญาณบอกว่าถึงเวลาคลอดธรรมชาติแล้ว ได้แก่ เจ็บท้องคลอด (มดลูกบีบแล้วคลายตัวต่อเนื่อง ประมาณ 2-3 ยก) มีมูกออกจากช่องคลอด มีน้ำคร่ำออกมา ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง

ช่วงมดลูกบีบตัวจะสร้างความเจ็บปวดมาก แต่หลังจากนั้นร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนออกซีโตซินออกมา ช่วยลดความเจ็บปวด และกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวแรงขึ้น ทำให้คลอดง่ายขึ้น

ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ คือ ความปลอดภัย คลอดวิธีนี้มีความเสี่ยงน้อยกว่าการผ่าคลอดทั้งด้านการเสียเลือดและการติดเชื้อ แผลก็มีขนาดเล็กกว่า ทำให้คุณแม่ฟื้นตัวได้เร็ว และในระยะยาว ปัญหาเรื่องรกติดแน่น รกเกาะต่ำ ก็จะมีน้อยกว่าผ่าคลอดด้วย

นอกจากนี้การคลอดธรรมชาติยังมีผลดีกับทารก คือขณะคลอด ผนังมดลูกคุณแม่จะช่วยรีดน้ำคร่ำออกจากปอดทารกจนหมด ทำให้ปอดขยายตัวได้ดี ไม่มีปัญหาด้านการหายใจ อีกทั้งทารกยังได้รับภูมิต้านทานจากแบคทีเรียโพรไบโอติก เข้าไปช่วยระบบขับถ่าย ทำให้ไม่ประสบปัญหาท้องอืด

อย่างไรก็ตาม บางครั้งการคลอดธรรมชาติด้วยตัวคุณแม่เองอาจไม่สำเร็จ จึงอาจมีตัวช่วยทางการแพทย์อื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

  • การเจาะถุงน้ำคร่ำ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาการเจ็บครรภ์ แต่ข้อเสียคือจะเพิ่มความเสี่ยงการติดต่อเชื้อบางอย่างจากแม่สู่ลูกได้
  • การกระตุ้นให้เจ็บครรภ์คลอด หมายถึงการให้ยาเพื่อกระตุ้นให้มดลูกบีบรัดตัว ร่วมกับทำให้ปากช่องคลอดอ่อนนุ่ม กรณีที่จะใช้วิธีนี้ เช่น ถึงกำหนดคลอดแล้วแต่คุณแม่ยังไม่มีอาการ เด็กทารกในครรภ์ตัวเล็กมาก คุณแม่น้ำเดินก่อนกำหนด คุณแม่มีภาวะความดันโลหิตสูง หรือคุณแม่มีโรคเบาหวาน
  • ใช้คีมคีบ ลักษณะเหมือนช้อนขนาดใหญ่ 2 อัน ถูกใส่เข้าไปทางช่องคลอดเพื่อจับที่ศีรษะทารกแล้วนำออกมา
  • ใช้เครื่องดูด เป็นเครื่องดูดขนาดเล็กที่จะใช้ดูดศีรษะทารกในครรภ์ เมื่อการคลอดเสร็จสิ้น ศีรษะทารกอาจยังมีรอยช้ำให้เห็น แต่รอยนี้จะหายไปภายใน 48 ชั่วโมง

ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติ คือ เจ็บ แต่ปัจจุบันมีการใช้ยาระงับความเจ็บปวดที่ช่วยให้คุณแม่เจ็บปวดน้อยลง โดยอาจเป็นลักษณะยาชาเฉพาะที่แบบฉีด หรือใช้วิธีที่เรียกกันว่า “บล็อกหลัง” วิธีนี้จะทำในขณะที่คุณแม่อยู่ในท่านั่งหรือนอนตะแคง เมื่อยาออกฤทธิ์แล้วจะรู้สึกชาตั้งแต่เอวลงมา แต่ยังรู้สึกตัวตลอดเวลา ได้เห็นวินาทีแรกที่ทารกน้อยออกจากท้อง

ปัจจุบันมีทางเลือกมากขึ้น เช่น คลอดลูกในน้ำ ซึ่งช่วยลดความเจ็บปวดจากการคลอดได้ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีโรงพยาบาลที่ให้บริการคลอดในน้ำมากนัก

ข้อเสียอื่นๆ ของการคลอดธรรมชาติ ได้แก่ จะเกิดแผลบริเวณฝีเย็บ ซึ่งบางคนไม่ต้องการ ส่วนข้อเสียระยะยาวคืออาจทำให้เกิดกระบังลมหย่อนได้

การบล็อกหลังมีกี่แบบ ปลอดภัยไหม มีผลกระทบต่อทารกหรือไม่?

การบล็อกหลัง คือ การระงับความรู้สึกผ่านทางช่องไขสันหลัง อาจนำมาใช้ร่วมกับการคลอดธรรมชาติเพื่อลดความเจ็บปวด

การบล็อกหลังแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ แบบ Epidural ที่จะเสียบคาท่อพลาสติกเล็กๆ ไว้บริเวณหลังคุณแม่ แล้วปล่อยยาชาซึ่งจะค่อยๆ ออกฤทธิ์ภายในประมาณ 10-20 นาที ช่วยระงับความเจ็บปวดระหว่างคลอด หากระหว่างคลอดเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือแพทย์พิจารณาแล้วว่าจำเป็นต้องผ่าคลอด ก็สามารถให้ยาระงับความเจ็บปวดที่มีฤทธิ์รุนแรงขึ้นผ่านทางท่อนี้ได้เลย กับอีกแบบคือ แบบ Spinal แพทย์จะใช้เข็มแทงเข้าไปยังหลังส่วนล่างจนถึงช่องไขสันหลังของคุณแม่ แล้วจึงฉีดยาชาเข้าไป เข็มดังกล่าวนี้มีขนาดเล็กกว่าเข็มเปิดเส้นให้น้ำเกลือ ยาที่ให้มักออกฤทธิ์อย่างรวดเร็วแทบจะในทันที ข้อดีคือใช้ยาปริมาณไม่มาก ข้อเสียคือมีฤทธิ์ค่อนข้างสั้น ทำให้หากการคลอดกินเวลานาน คุณแม่อาจรู้สึกตัวขึ้นได้ขณะการคลอดยังไม่เสร็จสิ้น

การบล็อกหลังเป็นวิธีที่ปลอดภัย ตัวยาไม่มีผลกระทบต่อทารก สำหรับคุณแม่บางคน การบล็อกหลังอาจส่งผลให้การบีบตัวของมดลูกช้าลงในช่วงเวลาสั้นๆ แต่โดยส่วนใหญ่เมื่อได้รับยาชาแล้ว คุณแม่มักรู้สึกผ่อนคลายขึ้น และอัตราการบีบตัวของมดลูกก็ดีขึ้น เมื่อถึงเวลาเบ่งคลอดก็จะมีแรงเบ่งและคลอดได้สบายขึ้น

ผ่าคลอด แผลผ่าเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงอะไรบ้าง?

การผ่าคลอด คือการผ่าตัดเพื่อนำเด็กทารกออกทางหน้าท้อง ตามปกติแพทย์มักใช้วิธีนี้ในกรณีจำเป็น เช่น

  • ทารกมีศีรษะใหญ่เกินกว่าจะออกจากช่องคลอดได้ตามปกติ
  • ทารกอยู่ในท่าขวางปากมดลูกหรือไม่ได้หันศีรษะลงตามปกติ
  • คุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำ
  • คุณแม่มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
  • คลอดทารกมากกว่า 1 คน

หรือส่วนใหญ่ หากท้องก่อนคุณแม่เคยผ่าคลอดมาแล้ว ท้องถัดมาก็มักได้รับคำแนะนำให้ผ่าคลอดอีก เนื่องจากเสี่ยงที่มดลูกจะแตกได้หากเบ่งคลอด แต่ก็ใช่ว่าจะคลอดธรรมชาติไม่ได้เลย เพียงแต่ต้องปรึกษาแพทย์ และรับการพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป

การผ่าคลอดจะใช้วิธีระงับความรู้สึกโดยให้ยาสลบ ซึ่งอาจเป็นการฉีดยาสลบเข้าทางหลอดเลือดดำ ร่วมกับให้ยาแก้ปวด ยาดมสลบ ในรูปแบบไอระเหย รวมถึงจะมีการสอดท่อช่วยหายใจทางปากเข้าไปทางหลอดลมเพื่อช่วยหายใจระหว่างผ่าตัด

แนวผ่าคลอดอาจเป็นแนวนอนหรือแนวตั้ง ความยาวประมาณ 4-6 นิ้ว กรีดผ่านชั้นผิวหนัง ไขมัน กล้ามเนื้อ เยื่อหุ้มช่องท้อง เข้าไปจนถึงผนังมดลูกที่ทารกอยู่ ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังผ่าคลอดแล้วมักต้องพักฟื้นประมาณ 2-4 วัน เนื่องจากเป็นการผ่าตัดใหญ่ ในช่วงแรกคุณแม่อาจมีปัญหาในการหายใจลึกๆ บ้าง และจะมีของเหลวไหลจากช่องคลอด ซึ่งช่วงแรกจะเป็นสีแดงก่อน แล้วภายหลังเป็นสีเหลือง อย่างไรก็ตาม ถ้ามีเลือดออกมาก หรือสังเกตว่าของเหลวนั้นมีกลิ่นเหม็น ควรปรึกษาแพทย์ทันที

ด้านแผลผ่าคลอด ตามปกติผิวชั้นนอกสุดจะเริ่มติดกันภายในสัปดาห์แรก จากนั้นจะเห็นเป็นสีแดงอมม่วงอยู่นานประมาณ 6 เดือน แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว เรียบขึ้น บางคนอาจเป็นแผลคีลอยด์หรือแผลเป็นนูนได้แต่โอกาสเกิดน้อย

ข้อดีของการผ่าคลอด คือ คุณแม่จะไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดในช่วงผ่าตัดเลย เนื่องจากอยู่ในฤทธิ์ยาสลบ และสามารถเลือกวัน-เวลาคลอดได้ อีกทั้งไม่ต้องมีแผลบริเวณฝีเย็บ

ในด้านข้อเสีย การผ่าคลอดมีความเสี่ยงมากกว่าคลอดธรรมชาติ เช่น ความเสี่ยงจากการเสียเลือด การติดเชื้อ การดมยาสลบ ผ่าตัด เช่น การดมยา บล็อกหลัง เสี่ยงติดเชื้อ เสียเลือดมากกว่าคลอดธรรมชาติ เจ็บแผลคลอดนานกว่า และใช้ระยะเวลาฟื้นตัวนานกว่า อีกทั้งในระยะยาว การผ่าคลอดยังก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะรกเกาะต่ำและรกฝังแน่นได้

ทารกก็อาจได้รับผลกระทบจากยาสลบ แม้ไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่อาจทำให้การติดตามภาวะสุขภาพของทารกทำได้ช้ากว่าทารกที่คลอดธรรมชาติเล็กน้อย

คลอดธรรมชาติ ผ่าคลอด เลือกแบบไหนให้เหมาะกับคุณ?

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันหลายโรงพยาบาลจะมีแพ็กเกจคลอดหลากหลายแบบให้เลือก นอกจากเลือกว่าจะคลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอดได้แล้ว ยังสามารถเลือกระดับความเป็นส่วนตัวของห้องพัก บริการพิเศษสำหรับคุณแม่และลูกน้อยได้อีก

อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยเป็นสำคัญ คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุด เพราะแต่ละคนอาจมีปัจจัยด้านสุขภาพแตกต่างกัน วิธีคลอดที่เหมาะสมจึงแตกต่างกันไปด้วย

คลอดแบบไหนก็มั่นใจ ด้วยแพ็กเกจคลอดคุณภาพจากบำรุงราษฎร์

คุณแม่ที่กำลังหาข้อมูลคลอด ไม่ว่าคลอดธรรมชาติ ผ่าคลอด แล้วยังไม่แน่ใจว่าจะคลอดที่ไหนดี ตอนนี้บำรุงราษฎร์มีแพ็กเกจมัดจำค่าคลอด Happy Childbirth ราคา 50,000 บาท สำหรับจองสิทธิ์แพ็กเกจคลอดคุณภาพในราคาเหมาจ่าย ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์

4 แพ็กเกจคลอดที่มีให้เลือก ได้แก่

  1. แพ็กเกจคลอดปกติ (Normal Delivery) ราคา 85,000 บาท
  2. แพ็กเกจคลอดปกติ โดยฉีดยาชาที่ไขสันหลัง (Normal Delivery with Epidural Block) ราคา 99,000 บาท
  3. แพ็กเกจผ่าตัดคลอด (Cesarean Section) ราคา 109,000 บาท
  4. แพ็กเกจผ่าตัดคลอดในครรภ์แฝด (Twin Cesarean Section) ราคา 199,000 บาท

ซื้อแพ็กเกจมัดจำค่าคลอด Happy Childbirth ไว้ เพื่อล็อกราคาแพ็กเกจคลอดตามราคาข้างต้น ได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 สามารถนำเงินมัดจำมาหักลบกับค่าแพ็กเกจคลอดที่แพทย์แนะนำได้เต็มจำนวน หรือหากมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ตามเวลาที่กำหนด ก็สามารถนำวงเงิน 50,000 บาทนี้ ไปใช้ชำระค่าบริการและค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ ในโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้เต็มจำนวนเช่นกัน

แพ็กเกจคลอดของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น

  • การดูแลคุณแม่ในขณะคลอด ในห้องคลอดที่มีความเป็นส่วนตัวเสมือนห้องพักผู้ป่วยใน
  • การให้บริการดูแลทารกแรกคลอดโดยกุมารแพทย์ทารกแรกเกิด
  • การให้บริการใช้เครื่องปั้มนมเพื่อสนับสนุนการให้นมแม่
  • เมนูอาหารพิเศษสําหรับคุณแม่หลังคลอด
  • ผ้าคลุมให้นม
  • ภาพแรกของลูก ภาพครอบครัวในห้องคลอด และปั๊มรอยเท้าทารก
  • ชุดของขวัญสําหรับทารก
  • บริการจัดทําสูติบัตร (ภาษาไทย)
  • รับสิทธิ์สมาชิก Baby Club โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อรับส่วนลด 10% สําหรับค่ายาผู้ป่วยนอก ค่ายาผู้ป่วยใน และค่าห้องพักผู้ป่วยใน (สิทธิประโยชน์นี้จะสิ้นสุดเมื่อลูกน้อยอายุครบ 12 ปี)

ทำคลอดแบบคุณภาพ พร้อมความสบายกระเป๋ายิ่งขึ้น ด้วยโปรแกรมผ่อนชำระร่วมกับบัตรเครดิตได้สูงสุด 10 เดือน* ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและกดจองแพ็กเกจได้ ที่นี่

สำคัญที่สุดคืออย่าลืมสังเกตอาการต่างๆ ทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ของตัวเอง เพื่อแจ้งแก่แพทย์อย่างครบถ้วน และไม่ลืมปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงของทั้งคุณแม่และทารก


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไรให้ถูกวิธี ? , (https://hdmall.co.th/c/how-to-healing-cesarean-section).
คลอดธรรมชาติ ทำให้ช่องคลอดหลวมจริงหรือ?, (https://hdmall.co.th/c/is-natural-child-birth-made-vagina-loose).
ข้อดี-ข้อเสียของการผ่าคลอดคืออะไร? , (https://hdmall.co.th/c/what-pros-and-cons-of-cesarean-section).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)