พิชญา สิทธิโชควงกมล
เขียนโดย
พิชญา สิทธิโชควงกมล

แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว สัญญาณเสี่ยงโรคกรดไหลย้อน รีบรักษาก่อนเรื้อรัง!

กรดไหลย้อน มีสาเหตุมาจากอะไร อาการเป็นอย่างไร ใครอยู่ในกลุ่มเสี่ยงบ้าง มีวิธีรักษาอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2022 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว สัญญาณเสี่ยงโรคกรดไหลย้อน รีบรักษาก่อนเรื้อรัง!

“แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว จุกแน่นลิ้นปี่” หากเริ่มมีอาการเหล่านี้ต้องระวัง เพราะคุณอาจกำลังป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อน!

รู้ไหม? จากการสำรวจประชากรทั่วโลกพบว่า ในประชากร 100 คน จะมีผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนตั้งแต่ 3-33 คน ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคกรดไหลย้อน ดูเหมือนเป็นโรคที่ไม่อันตราย จึงทำให้หลายคนคิดว่าไม่ต้องรีบรักษา แต่รู้ไหมว่า โรคที่หลายคนมองข้ามนี้ อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็ง ดังนั้นหากคุณกำลังเริ่มมีอาการใดอาการหนึ่ง ดังที่กล่าวมานี้ ต้องรีบรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งลงไปได้

โรคกรดไหลย้อนคืออะไร ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงบ้าง และต้องรักษาอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

โรคกรดไหลย้อนคืออะไร? มีสาเหตุมาจากอะไร?

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD) คือภาวะที่กรด ด่าง หรือแก๊สจากกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณลำคอ แสบร้อนกลางอก หรือจุกเสียดใต้ลิ้นปี่ ทั้งนี้ กรดไหลย้อนเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • หูรูดหลอดอาหารส่วนปลายที่ติดกับกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ โดยหูรูดนี้จะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้กรด หรืออาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร หากหูรูดทำงานผิดปกติ เช่น คลายตัวบ่อย คลายตัวทั้งๆ ที่ไม่มีการกลืน กรดและอาหารก็มีโอกาสไหลย้อนขึ้นมาได้
  • กระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้มีอาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารเป็นเวลานาน จึงมีโอกาสไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารได้
  • หลอดอาหารมีการรับรู้ความรู้สึกไวกว่าปกติ ทำให้เมื่อมีกรดไหลย้อนขึ้นมาเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้รู้สึกแสบร้อนมากกว่าปกติ
  • กระเพาะอาหารเลื่อนเข้าไปในหลอดอาหาร ทำให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลเข้าสู่หลอดอาหารได้

กรดไหลย้อนมีอาการอย่างไร

โรคกรดไหลย้อน มีอาการหลักที่แสดงเด่นชัด ดังนี้

  • แสบร้อนกลางอก มักจะเป็นหลังจากรับประทานอาหารมื้อหนักๆ ขณะที่โน้มตัวไปข้างหน้า หรือยกของหนัก
  • เรอเปรี้ยว เมื่อเรอจะมีน้ำรสเปรี้ยวหรือขม ไหลย้อนขึ้นมาในปากหรือบางครั้งจะรู้สึกว่ามีอาหารย้อนจุกขึ้นมาในลำคอ
  • กลืนติด รู้สึกว่ากลืนอาหารลำบาก
  • เจ็บ แน่นหน้าอก รู้สึกจุก คล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ ต้องพยายามกระแอมบ่อยๆ โดยมักเป็นหลังจากที่รับประทานอาหาร
  • ไอแห้งๆ เสียงแหบ เจ็บคอ เนื่องจากกรด ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณลำคอและกล่องเสียง

นอกจากอาการที่กล่าวมานี้ บางคนอาจรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร ท้องอืด แน่นท้อง ร่วมด้วย หากคุณเริ่มมีอาการบ่งชี้เหล่านี้ ควรต้องรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษาให้เหมาะสมที่สุด

ใครเสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อน?

กรดไหลย้อนสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยพบตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้สูงอายุ แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อนสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ มีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้มีแรงดันช่องท้องสูงกว่าปกติ
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมการรับประทานไม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารแล้วนอนทันที ดื่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ เป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือมีไขมันสูง
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ผู้ป่วยด้วยโรคบางชนิด เช่น โรคผิวหนังแข็ง โรคเบาหวาน โรคไส้เลื่อนกระบังลม เป็นต้น
  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากขณะตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลทำให้หูรูดหลอดอาหารทำงานผิดปกติ รวมถึงการขยายตัวของมดลูก จะเพิ่มแรงกดทับที่กระเพาะอาหาร ส่งผลให้กระเพาะอาหารบีบตัวผิดปกติ
  • ผู้ที่รับประทานยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า ยารักษาโรคกระดูกพรุน

หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังเหล่านี้ ควรเร่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน ถ้าเป็นแล้ว ต้องรักษาอย่างไร?

สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง วิธีการรักษาโดยทั่วไปคือ การรับประทานยา เช่น ยาลดกรด หรือยาบรรเทาอาการแสบร้อนบริเวณกลางอก ร่วมกับเรอเปรี้ยวและอาหารไม่ย่อย เนื่องจากกรดไหลย้อนและลดกรดในกระเพาะอาหาร

ทั้งนี้ยาบรรเทาอาการแสบร้อนบริเวณกลางอก จัดอยู่ในกลุ่มยาสามัญประจำบ้าน มีตัวยาสำคัญใน10 มิลลิกรัม ได้แก่

  • โซเดียมแอลจิเนต 500 มิลลิกรัม
  • โซเดียมไบคาร์บอเนต 213 มิลลิกรัม
  • แคลเซียมคาร์บอเนต 325 มิลลิกรัม

ยาชนิดนี้ มักนิยมใช้ในผู้ที่มีอาการโรคกรดไหลย้อนในระยะเริ่มต้น โดยสามารถช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก เนื่องจากกรดไหลย้อนได้

แต่ในผู้ที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง หรือผู้ป่วยเรื้อรัง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคเพิ่มเติม โดยอาจส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น (Esophago-Gastro-Duodenoscopy) ส่งตรวจวัดค่าความเป็นกรด ด่าง (pH) ในหลอดอาหารและคอหอยส่วนล่าง หรือวิธีอื่นๆ ตามแพทย์วินิจฉัย

ทั้งนี้ในผู้ที่มีอาการรุนแรง อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร ลำคอ หรือกล่องเสียงได้ เนื่องจากเกิดการอักเสบเรื้อรังและต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จนทำให้เซลล์บริเวณเยื่อบุผิวมีการเปลี่ยนแปลงไป และกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด

โรคกรดไหลย้อนแม้เป็นอาหารที่ดูไม่ร้ายแรง แต่ก็ควรรีบรักษาแต่เนิ่นๆ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ อาจเกิดผลร้ายแรงตามมาได้ โดยวิธีที่ดีที่สุดคือปรับพฤติกรรม เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสเกิดโรค แต่หากมีอาการหรือสัญญาณเตือนแล้ว ก็ควรรีบรักษา โดยเบื้องต้นอาจรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อการใช้ยาอย่างเหมาะสมและเพื่อความปลอดภัยสูงสุด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=995) 9 ตุลาคม 2555.
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, กรดไหลย้อน ภัยเงียบวัยทำงาน (https://si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=726) 8 พฤศจิกายน 2553.
โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์, กรดไหลย้อนป้องกันได้ ก่อนกลายเป็นเรื้อรัง (https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/497) 24 ธันวาคม 2564.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)