กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ปืนเทอร์โมมิเตอร์อาจมีความคลาดเคลื่อนสูง

ปืนเทอร์โมมิเตอร์ อุปกรณ์วัดไข้ตามจุดตรวจคัดกรองที่รวดเร็ว แต่ความคลาดเคลื่อนสูง
เผยแพร่ครั้งแรก 15 พ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 7 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ปืนเทอร์โมมิเตอร์อาจมีความคลาดเคลื่อนสูง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ปืนเทอร์โมมิเตอร์ (Forehead thermometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิจากอินฟราเรดบริเวณหน้าผาก
  • ปืนเทอร์โมมิเตอร์สามารถวัดอุณหภูมิได้โดยไม่ต้องสัมผัส แต่มีโอกาสให้ผลคลาดเคลื่อนสูง
  • สิ่งสำคัญของปืนเทอร์โมมิเตอร์คือ การใช้ให้ถูกวิธี เว้นระยะห่างไม่เกิน 5 เซนติเมตร อย่าขยับเครื่อง หรือขยับศีรษะก่อนเครื่องวัดผลเสร็จ
  • ปืนเทอร์โมมิเตอร์เหมาะสำหรับใช้ในที่ร่มกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ดังนั้นหากต้องการวัดอุณหภูมิผู้ใหญ่ ควรตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ดีว่า สามารถใช้ได้หรือไม่
  • หากผู้ที่ต้องการตรวจวัดไข้เข้ามาจากนอกอาคาร ควรอยู่ในอาคารอย่างน้อย 30 นาที แล้วค่อยวัดอุณหภูมิจะช่วยให้ผลการวัดแม่นยำขึ้น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจเชื้อ COVID-19 

ปัจจุบันภาพจุดตรวจวัดไข้ด้วยปืนเทอร์โมมิเตอร์ ไม่ว่าจะตามโรงพยาบาล ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร อาคารสำนักงาน หรือสนามบิน เป็นภาพที่ทุกคนน่าจะคุ้นชินกันไปแล้ว เพราะจุดตรวจนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดกรองอาการมีไข้สูง ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการเบื้องต้นของโรค COVID-19 

แต่หลายครั้งที่ปืนเทอร์โมมิเตอร์แสดงผลอุณหภูมิออกมาต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างมาก เช่น 34-35 องศาเซลเซียส จึงทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า ปืนเทอร์โมมิเตอร์ที่นิยมใช้คัดกรองโรค COVID-19 เบื้องต้นมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รู้จักปืนเทอร์โมมิเตอร์

ปืนเทอร์โมมิเตอร์ (Forehead thermometer) คือ อุปกรณ์วัดอุณหภูมิร่างกายจากหน้าผาก โดยไม่ต้องสัมผัสกับพื้นผิว เครื่องจะวัดรังสีอินฟราเรด (Infrared) จากร่างกายผ่านเลนส์ที่ด้านหน้าของเครื่อง และแปลงเป็นตัวเลขอุณหภูมิแสดงที่หน้าจอ

ปืนเทอร์โมมิเตอร์ใช้หลักการคล้ายกับกล้องอินฟราเรดที่สนามบินใช้ โดยใช้สีในการแทนค่าอุณหภูมิความร้อน

ปืนเทอร์โมมิเตอร์เหมาะกับใคร?

วัตถุประสงค์หลักของปืนเทอร์โมมิเตอร์นิยมใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี เนื่องจากสามารถวัดไข้เด็กในขณะหลับได้โดยที่ไม่ต้องปลุกขึ้นมาวัดเหมือนอุปกรณ์วัดไข้ชนิดอื่นๆ

อุณหภูมิที่วัดได้ในเด็กต่ำกว่า 3 ปี กับผู้ใหญ่ อาจมีเกณฑ์ที่ต่างกันออกไป แต่ปัจจุบันปืนเทอร์โมมิเตอร์หลายชื่อการค้ามีการเพิ่มระบบวัดไข้สำหรับผู้ใหญ่เข้าไปด้วย ดังนั้นควรสังเกตฉลากข้างผลิตภัณฑ์ว่า "ปืนเทอร์โมมิเตอร์ชนิดนี้รองรับการวัดอุณหภูมิของคนทุกช่วงวัยหรือไม่"

ปืนเทอร์โมมิเตอร์มีใช้ได้ผลจริงหรือ?

ปืนเทอร์โมมิเตอร์สามารถใช้วัดอุณหภูมิได้จริงแต่อาจมีความคลาดเคลื่อนสูง เนื่องจากปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้อุณหภูมิไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น อากาศภายนอก ระยะห่างจากเครื่องและหน้าผาก รวมทั้งระยะเวลาในการวัด

หลายหน่วยงานพยายามตั้งจุดตรวจวัดไข้โดยใช้ปืนเทอร์โมมิเตอร์ในการวัด แต่ก็ไม่สามารถคัดกรองผู้ติดเชื้อ COVID-19 ได้ทั้งหมด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เนื่องจากผู้ติดเชื้อ COVID-19 ส่วนใหญ่มีระยะฝักตัวหลายวันจึงอาจตรวจไม่พบอาการไข้ นอกจากนี้ผู้ที่มีอุณหภูมิสูงเกิน 37.5 องศายังอาจรับประทานยาลดไข้เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจวัดอุณหภูมิตามจุดตรวจคัดกรองได้อีกด้วย

ขั้นตอนการใช้ปืนเทอร์โมมิเตอร์อย่างถูกวิธี

เนื่องจากปืนเทอร์โมมิเตอร์มีข้อจำกัดในการวัดอุณหภูมิค่อนข้างมากและมีความคลาดเคลื่อนสูง จึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด ดังนี้

  1. ก่อนวัดอุณหภูมิ ควรแน่ใจว่า หน้าผากไม่มีผม หรือสิ่งสกปรกปิดบัง
  2. ถอดฝาปิดเลนส์ที่บริเวณปลายเครื่องวัดออก
  3. กดปุ่มเปิดเครื่อง
  4. เมื่อเครื่องพร้อมทำงาน ให้นำปลายกระบอกปืนเทอร์โมมิเตอร์จ่อหน้าผากตรงกลางระหว่างคิ้วทั้งสองข้าง โดยเว้นระยะ 2.5-5 เซนติเมตร นอกจากนี้ปืนเทอร์โมมิเตอร์บางยี่ห้ออาจมีระบบวัดตำแหน่งจากแสงที่ฉายออกมาคล้ายกับไฟฉาย ให้เว้นระยะห่างจนวงของแสงแคบลงประมาณเหรียญ 5 บาท (หรือตามที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ)
  5. กดปุ่มเริ่มวัดอุณหภูมิ
  6. อย่าเคลื่อนไหวศีรษะและปืนเทอร์โมมิเตอร์จนกว่าเครื่องจะทำการวัดอุณหภูมิจนเสร็จ

อย่างไรก็ตาม หากใช้ปืนเทอร์โมมิเตอร์ในการวัดไข้ตนเองควรปรับระบบเป็นแบบสัมผัสแนบหน้าผาก เนื่องจากง่ายต่อการใช้งานมากกว่า หากมีข้อสงสัยในเรื่องการใช้อุปกรณ์วัดไข้ให้ถูกวิธี 

ไม่ใจว่า อาการของตนเองเข้าข่ายโรค COVID-19 หรือไม่ สามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้แล้ววันนี้ โดยไม่ต้องเดินทางไปพบแพทย์ด้วยตนเอง  

ข้อควรระวังในการใช้ปืนวัดอุณหภูมิ

หลายครั้งที่จุดคัดกรองโรค COVID-19 ตรวจวัดอุณหภูมิได้ต่ำกว่าความเป็นจริง อาจเป็นเพราะมีปัจจัยภายนอกที่รบกวนการทำงานของปืนเทอร์โมมิเตอร์ ดังนี้

  • ปืนเทอร์โมมิเตอร์เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในที่ร่ม เช่น ในบ้าน อาคาร สำนักงานต่างๆ ดังนั้นการนำไปใช้กลางแจ้ง อาจส่งผลให้ปืนเทอร์โมมิเตอร์มีประสิทธิภาพลดลง
  • ควรนำปืนเทอร์โมมิเตอร์มาไว้ในห้องที่ต้องการวัดอุณหภูมิก่อนใช้จริง 10 นาที เพื่อให้อุณหภูมิของเครื่องคงที่
  • ผู้ที่จะรับการวัดไข้ควรอยู่ในที่ร่มมาแล้วอย่างน้อย 30 นาที เพื่อไม่ให้อากาศจากภายนอกมีผลในการวัดอุณหภูมิร่างกาย
  • ไม่ควรวัดอุณหภูมิขณะที่หน้าผากมีเหงื่อออก อาจใช้ผ้าสะอาดเช็ดเหงื่อออกก่อน
  • หากหน้าผากมีรอยเปื้อนให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด เช็ดให้แห้ง และรออีกอย่างน้อย 10 นาทีก่อนวัดอุณหภูมิ
  • ปืนเทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดพื้นผิวในโรงงานอุตสาหกรรม ไม่สามารถนำมาใช้วัดไข้ได้ เนื่องจากช่วงอุณหภูมิที่ใช้วัดนั้นกว้างเกินไป ตั้งแต่เย็นจัดจนถึงร้อนจัด การนำมาวัดไข้จึงถือเป็นการใช้ที่ผิดวัตถุประสงค์

อย่างไรก็ตาม แม้ปืนเทอร์โมมิเตอร์จะมีความคลาดเคลื่อนสูงและไม่อาจคัดกรองคนที่มีเชื้อ COVID-19 ได้แบบ 100% แต่การตรวจวัดอุณหภูมิเบื้องต้นนี้ ก็ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถคัดกรองและแยกตัวผู้ที่อุณหภูมิสูงเกินกว่าปกติ ซึ่งอาจเข้าข่ายอาการของโรค COVID-19 มาสอบประวัติเบื้องต้นได้ 

รวมทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ ให้ไม่ต้องสอบประวัติคนจำนวนมากเกินไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจเชื้อ COVID-19 จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
C G Teran, Clinical Accuracy of a Non-Contact Infrared Skin Thermometer in Paediatric Practice (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21651612/), 7 June 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)