กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.นันทิดา สาลักษณ
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.นันทิดา สาลักษณ

น้ำร้อนลวก ต้องปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร?

บาดแผลน้ำร้อนลวก สามารถแบ่งออกได้ 3 ระดับ การปฐมพยาบาลตามความเหมาะสมของบาดแผล อาจช่วยให้อาการทุเลาลง และไม่ต้องทรมานกับการรักษาแผลมากนัก
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
น้ำร้อนลวก ต้องปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ความรุนแรงของบาดแผลน้ำร้อนลวกมักจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำและปริมาณที่ราดรดร่างกาย ระดับความลึก พื้นที่โดยรวม รวมถึงอวัยวะที่ถูกน้ำร้อน 
  • เราสามารถแบ่งแผลน้ำร้อนลวกได้เป็น 3 ระดับ โดยใช้ฐานความลึก ขนาด และตำแหน่งของแผลเป็นเกณฑ์ 
  • แผลระดับที่ 1 จะเกิดขึ้นในระดับชั้นหนังกำพร้า แผลระดับที่ 2 เริ่มจากชั้นหนังกำพร้าที่ถูกทำลายจากความร้อนจนหมดและลึกไปถึงชั้นหนังแท้ และแผลระดับที่ 3 จะทำลายลึกทั้งหนังกำพร้า หนังแท้ และอาจลึกไปกระดูก กล้ามเนื้อ กระทั่งถึงเซลล์ประสาท
  • ไม่ว่าจะเป็นการปฐมพยาบาลระดับใดก็ตาม ห้ามทาของเหลวอื่นๆ ลงบนบาดแผล เช่น ยาสีฟัน หรือครีม เพราะอาจทำให้แผลติดเชื้อ หากมีอาการรุนแรงมากควรระมัดระวังการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นและรีบนำผู้ถูกน้ำร้อนลวกส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย

น้ำร้อนลวกเป็นอุบัติเหตุในครัวเรือนที่พบได้บ่อย ความรุนแรงของบาดแผลมักจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำและปริมาณที่ราดรดร่างกาย ระดับความลึก พื้นที่โดยรวม รวมถึงอวัยวะที่ถูกน้ำร้อน 

ถ้าหากมีความรุนแรงมากก็อาจถึงขั้นทำให้เนื้อหลุดเห็นกระดูกและเซลล์ประสาทไร้ความรู้สึกได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การปฐมพยาบาลบาดแผลน้ำร้อนลวกตามความเหมาะสมของบาดแผล อาจช่วยให้อาการทุเลาลง และไม่ต้องทรมานกับการรักษาแผลมากนัก

ดังนั้นการปฐมพยาบาลผู้ถูกน้ำร้อนลวกเบื้องต้นก่อนส่งตัวไปโรงพยาบาลจึงมีความสำคัญมาก เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องทรมานกับการรักษาบาดแผลมากนัก

แผลน้ำร้อนลวกมีกี่ระดับ

ความรุนแรงของแผลน้ำร้อนลวกสามารถจำแนกได้เป็น 3 ระดับ โดยใช้ฐานความลึก ขนาด และตำแหน่งของแผลเป็นเกณฑ์ดังนี้

  • ระดับที่หนึ่ง (First Degree Burn) เป็นแผลในระดับเบาที่สุด เพราะเกิดขึ้นในระดับชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น ผู้ถูกน้ำร้อนลวกในระดับนี้อาการผิวเปลี่ยนเป็นสีแดงและรู้สึกปวดแสบปวดร้อน คล้ายการโดนแดดกลางแจ้งการรักษาแผลจึงไม่ยาก เพียงแค่ทาครีมสม่ำเสมอ ก็จะทำให้แผลหายเป็นปกติ
  • ระดับที่สอง (Second Degree Burn) แผลน้ำร้อนลวกในระดับนี้ จะเริ่มนับตั้งแต่แผลบนหนังกำพร้าที่ทำให้เกิดตุ่มใสพุพองขึ้น ไปจนถึงชั้นหนังกำพร้าที่ถูกทำลายจากความร้อนจนหมดและลึกไปถึงชั้นหนังแท้ ซึ่งจะต้องระวังเรื่องการติดเชื้อเป็นอย่างมาก
  • ระดับที่สาม (Third Degree Burn) แผลน้ำร้อนลวกในระดับนี้จะทำลายลึกทั้งหนังกำพร้า หนังแท้ และอาจลึกไปกระดูก กล้ามเนื้อ จนกระทั่งถึงเซลล์ประสาทไร้ความรู้สึก ผิวหนังจะหลุดจนเห็นเนื้อด้านในและอาจถูกทำลายไปด้วยถือว่า เป็นการบาดเจ็บรุนแรงที่อาจถึงขั้นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกผิวหนังใหม่ และยากที่จะกลับมามีสภาพเหมือนเดิม

วิธีรักษาแผลน้ำร้อนลวกเบื้องต้น

การรักษาแผลน้ำร้อนลวกเบื้องต้น จะแตกต่างออกไปตามระดับความรุนแรงของแผลน้ำร้อนลวก ดังนี้

  • ระดับแรก ให้ลดปริมาณความร้อนบนผิวหนังด้วยการใช้ความเย็น เช่น ให้น้ำเย็นไหลผ่านแผล ใช้น้ำแข็งประคบ หรือใช้ว่านหางจระเข้ที่มีฤทธิ์ดับความร้อน จากนั้นให้ล้างด้วยน้ำเกลือแล้วซับให้แห้งก่อนทาครีม หรือเจลเพิ่มความชุ่มชื้น และรับประทานยาแก้ปวดเมื่อจำเป็น
  • ระดับที่ 2 ควรระมัดระวังการสัมผัสกับบาดแผลโดยเฉพาะแผลลึก ให้ตัดเสื้อผ้าบริเวณบาดแผลออก ถอดเครื่องประดับ และยกบริเวณแผลขึ้นสูงกว่าระดับหัวใจ จากนั้นประคบเย็นเหมือนระดับแรกและใช้ผ้ากอซปิดบาดแผลไว้ ระหว่างไปพบแพทย์ควรให้ผู้ถูกน้ำร้อนลวกดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มเกลือแร่ เพื่อระงับอาการกระหาย รับประทานยาแก้ปวดตามจำเป็น และต้องระวังภาวะช็อกอันเนื่องมาจากภาวะขาดน้ำ
  • ระดับที่ 3 ผู้ถูกน้ำร้อนลวกจะรู้สึกเจ็บปวดทุรนทุราย เนื่องจากแผลลึกไปถึงเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ และกระดูก โดยให้ทำความสะอาดแผลเพียงชะล้างสิ่งสกปรกออกไป ควรระมัดระวังการประคบเย็น การล้างแผล และการปิดแผล ที่อาจทำให้บาดเจ็บเพิ่มขึ้นแล้วรีบนำผู้ถูกน้ำร้อนลวกส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

ไม่ว่าจะเป็นการปฐมพยาบาลระดับใดก็ตาม ห้ามทาของเหลวอื่นๆ ลงบนบาดแผลตามความเชื่อที่ฟังต่อๆ กันมา เช่น ยาสีฟัน หรือครีม เด็ดขาด เพราะอาจทำให้แผลเกิดการติดเชื้อ และอาจมีอาการรุนแรงกว่าเดิม

ข้อควรปฏิบัติหลังการรักษาแผลน้ำร้อนลวก

หลังจากที่แพทย์ทำแผลและจ่ายยาตามอาการแล้ว ควรดูแลตัวเองเพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น ด้วยการล้างแผลอย่างถูกวิธีและเปลี่ยนผ้าก๊อซตามกำหนด 1-2 วันต่อครั้ง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากถูกน้ำร้อนลวกตามอวัยวะต่างๆ ก็จะต้องมีการดูแลแผลที่แตกต่างกันไปเล็กน้อย เช่น ถ้าเป็นบริเวณข้อต่อ อาจต้องมีการบริหารข้อต่อหลังการรักษา หากเป็นบริเวณแขนควรใส่เฝือก 

ส่วนบริเวณขาควรยกให้สูง และระมัดระวังการโดนแดด เนื่องจากอาจทำให้เปิดไหม้ระคายเคืองมากขึ้นได้

กรณีแผลที่เป็นรุนแรงจนไม่สามารถหายเองได้ภายใน 3 สัปดาห์ แพทย์อาจวินิจฉัยทำการปลูกถ่ายผิวหนังใหม่ ซึ่งจะต้องมีการดูแลแผลเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เกิดรอยแผลเป็นในอนาคต

อย่างไรก็ตาม หลังบาดแผลน้ำร้อนลวกหายสนิท หากบาดแผลน้ำร้อนลวกจัดเป็นแผลระดับ 1 ซึ่งเป็นแผลที่ไม่รุนแรงในบางรายอาจไม่เหลือร่องรอย หรือแผลเป็นใดๆ ไว้เลย แต่ผู้ที่มีแผลน้ำร้อนลวกระดับ 2 ขึ้นไป อาจมีรอยแผลเป็นเกิดขึ้นได้ 

หากปัญหาแผลเป็น แผลคีลอยด์ ทำให้คุณรู้สึกหนักใจ เครียด และวิตกกังวล ไม่รู้ว่าจะหาวิธีแก้ไขอย่างไรดี สามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์ในเรื่องนี้ได้ จะเลือกโทรคุยเฉยๆ หรือวิดีโอคอล ก็ได้ เป็นบริการที่สะดวก สบาย และใช้งานได้จริง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sewon Kang, Masayuki Amagai, Anna L. Bruckner snd Alexander H. Enk, Fitzpatrick's Dermatology, 9th edition, McGraw-Hill Education, 2019.
Safety facts on scald burns, (http://www.burnfoundation.org/programs/resource.cfm?c=1&a=3), 20 May 2020.
National Health Service, Burns and scalds - Treatment (https://www.nhs.uk/conditions/burns-and-scalds/treatment/), 19 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)