Yesmom fertility
ชื่อผู้สนับสนุน
Yesmom fertility

เช็กความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ เข้าใจภาวะเจริญพันธุ์ ด้วยการตรวจฮอร์โมน

ความหมายของภาวะเจริญพันธุ์ 6 ฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ และวิธีการตรวจฮอร์โมน
เผยแพร่ครั้งแรก 8 มิ.ย. 2021 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
เช็กความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ เข้าใจภาวะเจริญพันธุ์ ด้วยการตรวจฮอร์โมน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะเจริญพันธุ์ คือภาวะที่ร่างกายพร้อมในการสืบพันธุ์และมีบุตร
  • ฮอร์โมนที่บ่งชี้ภาวะเจริญพันธุ์ ได้แก่ AMH, FSH, FT4, Prolactin, Testosterone
  • การตรวจฮอร์โมนพร้อมรับคำปรึกษาจากแพทย์เกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์ทำได้ที่โรงพยาบาล
  • ปัจจุบันมีอีกทางเลือก คือ ชุดตรวจภาวะเจริญพันธุ์ เก็บตัวอย่างเลือดได้เองง่ายๆ ที่บ้าน ส่งเมสเซนเจอร์ แล้วรอผลตรวจภายใน 1 สัปดาห์
  • สนใจชุดตรวจจาก Yesmom กดที่นี่

เคยสงสัยกันไหมว่า ร่างกายของเรามีความพร้อมในการมีบุตรมากน้อยแค่ไหน การทำงานของระบบสืบพันธุ์ปกติดีหรือไม่ เข้าข่ายภาวะมีบุตรยากหรือเปล่า เราจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทองเมื่อไหร่ คุณสามารถหาคำตอบเหล่านี้ได้ ถ้าเข้าใจภาวะเจริญพันธุ์ของตัวเองด้วยการตรวจฮอร์โมน

ภาวะเจริญพันธุ์คืออะไร?

ภาวะเจริญพันธุ์ คือภาวะที่สิ่งมีชีวิตสามารถสืบพันธุ์ได้ หรืออธิบายได้ง่ายๆ ว่า ภาวะที่ร่างกายมีความพร้อมในการสืบพันธุ์หรือการมีบุตร

ทั้งนี้ร่างกายของคนจะมีภาวะเจริญพันธุ์ที่แตกต่างกัน สังเกตได้จากเด็กผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนที่ไม่พร้อมกัน บางคนประจำเดือนอาจมาเร็ว บางคนประจำเดือนอาจมาช้า หรือผู้หญิงบางคนประจำเดือนมาตรงเวลาทุกเดือน บางคนมาไม่สม่ำเสมอ ความแตกต่างเหล่านี้มีต้นเหตุมาจากหลายปัจจัย โดยหนึ่งในปัจจัยที่สามารถบ่งชี้ภาวะเจริญพันธุ์ของมนุษย์ได้คือ ฮอร์โมนในร่างกาย ดังนั้นการตรวจฮอร์โมน จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เราสามารถประเมินภาวะเจริญพันธุ์ของตนเองได้

ฮอร์โมนใดบ้างที่บ่งชี้ภาวะเจริญพันธุ์?

ฮอร์โมนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับภาวะเจริญพันธุ์ของมนุษย์นั้นมีหลากหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป แต่ชนิดสำคัญที่เป็นตัวบ่งชี้ภาวะเจริญพันธุ์มี 6 ชนิด ได้แก่

1. ฮอร์โมนแอนตี้-มูลเลอเรียน (Anti-Mullerian Hormone: AMH)

เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากไข่ที่กำลังเจริญเติบโตในรังไข่ ดังนั้นฮอร์โมนชนิดนี้จึงเป็นตัวชี้วัดความสามารถของรังไข่ โดยแสดงให้เห็นว่าเรามีจำนวนไข่ตามเกณฑ์อายุหรือไม่ หากมีมากเกินไปก็อาจเสี่ยงต่อโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ แต่ถ้ามีน้อยเกินไปก็อาจส่งผลกระทบต่อรอบเดือน หรือประสบปัญหาเรื่องการมีบุตรยาก

2. ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ (Follicle Stimulating Hormone: FSH)

มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของไข่ และกระตุ้นให้ไข่สุกจนเกิดการตกไข่ หากร่างกายมีระดับฮอร์โมนนี้ไม่สมดุล ไข่อาจไม่ตกและทำให้มีบุตรยากขึ้น นอกจากนี้หากระดับฮอร์โมน FSH สูงกว่าเกณฑ์ อาจบ่งบอกว่า รังไข่ทำงานผิดปกติ และหากฮอร์โมนชนิดนี้เริ่มสูงขึ้นยังอาจบอกได้ว่าคุณใกล้เข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนแล้วได้ด้วย

3. ฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Thyroid-Stimulating Hormone, TSH)

ฮอร์โมนชนิดนี้ผลิตในต่อมใต้สมองหรือพิทูอิทารี ทำหน้าที่กระตุ้นการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ หากมีระดับสูงหรือต่ำกว่าปกติอาจสื่อถึงภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ไข่ไม่ตก นำไปสู่ภาวะมีบุตรยาก

4. ฮอร์โมนฟรีไทร็อกซีน (Free Thyroixine, FT4)

ฮอร์โมนชนิดนี้เป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่ต่อมไทรอยด์ผลิต ซึ่งทำงานคู่กับฮอร์โมน TSH ในการประเมินสุขภาพไทรอยด์ หากฮอร์โมนชนิดนี้ไม่สมดุล จึงอาจบ่งบอกปัญหาไทรอยด์ และอาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องการมีบุตรยากได้เช่นเดียวกัน

5. ฮอร์โมนโปรแลกติน (Prolactin)

เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการผลิตน้ำนมและหยุดการตกไข่หลังการคลอดบุตร ถ้าไม่ได้กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร แต่มีระดับฮอร์โมนชนิดนี้สูง อาจเข้าไปหยุดยั้งการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนในรังไข่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายหลายระบบ หนึ่งในนั้นคือกระทบต่อความสามารถในการตั้งครรภ์

6. ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone)

มักรู้จักในชื่อฮอร์โมนเพศชาย แต่จริงๆ แล้วผู้หญิงก็มีฮอร์โมนชนิดนี้เช่นกัน โดยช่วยด้านการเจริญเติบโต การทำงานและควบคุมประสิทธิภาพของเนื้อเยื่อ อวัยวะที่เกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ต่างๆ ช่วยควบคุมความต้องการทางเพศ เพิ่มความหนาแน่นให้กล้ามเนื้อ ฯลฯ หากมีปริมาณฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนสูงเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน ผมร่วง เป็นสิว และอาจเป็นสัญญาณของโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบได้ด้วย

จะเห็นได้ว่าฮอร์โมนทั้ง 6 ชนิดไม่ได้บ่งชี้เฉพาะความสามารถในการมีบุตรเท่านั้น แต่ยังเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมเกี่ยวกับสุขภาพโดยรวมของผู้หญิงอีกด้วย หากฮอร์โมนเหล่านี้ไม่สมดุล ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ ดังนั้นแม้ในผู้ที่ไม่ได้กำลังวางแผนจะมีบุตร ก็สามารถตรวจฮอร์โมนเพื่อประเมินความสมบูรณ์ แข็งแรง ของร่างกายได้เช่นกัน

ตรวจฮอร์โมนที่ไหนดี?

สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนครอบครัว วางแผนเรื่องการมีบุตร กำลังคุมกำเนิด วางแผนเรื่องการฝากไข่ ต้องการทราบระยะเวลาที่เหลืออยู่ก่อนเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือสงสัยว่าตัวเองอาจมีปัญหาเรื่องฮอร์โมนไทรอยด์ ปัญหาเรื่องถุงน้ำในรังไข่ และต้องการเข้ารับการตรวจฮอร์โมน สามารถเข้ารับการตรวจฮอร์โมนที่โรงพยาบาลหรือคลินิกชั้นนำทั่วไป ซึ่งมีค่าใช้จ่ายและการบริการที่แตกต่างกันออกไป หรือใช้ชุดตรวจฮอร์โมนที่บ้าน ซึ่งเข้ามาเป็นอีกทางเลือกให้ทราบข้อมูลฮอร์โมนเบื้องต้น

วิธีตรวจฮอร์โมนทำอย่างไร?

การตรวจฮอร์โมนจะใช้วิธีการเจาะเลือด แล้วส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการ โดยไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืองดอาหารก่อนตรวจ สำหรับผู้ที่ไม่ได้คุมกำเนิดด้วยวิธีที่ใช้ฮอร์โมน เช่น คุมกำเนิดด้วยห่วงอนามัย ถุงยางอนามัย ฯลฯ ช่วงที่เหมาะสมในการตรวจคือ วันที่ 2-4 ของการมีประจำเดือน แต่สำหรับผู้ที่กำลังคุมกำเนิดด้วยวิธีที่ใช้ฮอร์โมน เช่น รับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว หรือชนิดฮอร์โมนรวม สามารถตรวจในช่วงใดก็ได้ของรอบเดือน โดยช่วงเวลาการตรวจที่เหมาะสมที่สุดคือ ช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน เพราะระดับฮออร์โมนในร่างกายมักมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างวัน หากตรวจในช่วงเวลาอื่นๆ อาจทำให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนได้

ทั้งนี้หลังจากเจาะเลือดแล้วจะต้องใช้เวลารอผลตรวจค่อนข้างนาน โรงพยาบาลหรือคลินิกส่วนใหญ่จึงมักทำนัดฟังผลอีกครั้งในวันถัดไป หรือ 1 สัปดาห์หลังจากเจาะเลือด

ชุดตรวจภาวะเจริญพันธุ์ ชุดตรวจฮอร์โมนผู้หญิงด้วยตัวเอง ทางเลือกใหม่ของการตรวจฮอร์โมน

ปัจจุบันการตรวจฮอร์โมนสามารถทำได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้นด้วย ชุดตรวจภาวะเจริญพันธุ์ด้วยตัวเอง ของ Yesmom ที่สามารถตรวจฮอร์โมนทั้ง 6 ชนิดที่บ่งชี้ภาวะเจริญพันธุ์ของคนได้อย่างแม่นยำเทียบเท่ากับการตรวจที่โรงพยาบาลหรือคลินิก ภายในชุดตรวจฮอร์โมนจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์การตรวจที่ครบถ้วน ได้แก่

  1. เข็มเจาะเลือดขนาดเล็ก ชนิดใช้ครั้งเดียว สำหรับเจาะที่ปลายนิ้วเพื่อเก็บตัวอย่างเลือด โดยวิธีการเก็บตัวอย่างเลือดนี้ค่อนข้างง่าย สามารถทำได้ด้วยตัวเอง สะดวก รวมทั้งเจ็บน้อยกว่าการเก็บตัวอย่างเลือดโดยทั่วไป ที่มักใช้เข็มที่มีขนาดใหญ่เจาะทางเส้นเลือด
  2. กล่องแท่งเก็บเลือด ใช้สำหรับเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ
  3. อุปกรณ์ทำความสะอาดแผล ได้แก่ แผ่นแอลกอฮอล์ ผ้าก๊อซ พลาสเตอร์ปิดแผล
  4. บัตรข้อมูลประจำตัว สำหรับบันทึกข้อมูลส่วนตัวของผู้เข้ารับการตรวจ
  5. คู่มือวิธีเก็บตัวอย่างเลือดด้วยตัวเอง ซึ่งจะอธิบายขั้นตอนการเก็บตัวอย่างเลือดโดยละเอียด
ชุดตรวจฮอร์โมนที่บ้าน Yesmom Fertility
กล่องชุดตรวจฮอร์โมนที่บ้าน จาก Yesmom Fertility
ตรวจฮอร์โมน Yesmom
อุปกรณ์ในชุดตรวจฮอร์โมนที่บ้าน

เมื่อเก็บตัวอย่างเลือดตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว จะมีบริการรับกลับเพื่อส่งเข้าห้องปฏิบัติการ ทำการตรวจวิเคราะห์ต่อไป

หลังจากตรวจวิเคราะห์เลือดแล้ว ระบบจะส่งรายงานผลการตรวจทางอีเมล ซึ่งมาพร้อมกับคำอธิบายผลการตรวจโดยละเอียด เพื่อช่วยให้เข้าใจว่าผลตรวจฮอร์โมนแต่ละชนิดมีความหมายว่าอย่างไร และเชื่อมโยงกันอย่างไรบ้าง เพื่อให้ผู้เข้ารับการตรวจสามารถนำผลนี้ไปปรึกษาแพทย์เพื่อการมีบุตรต่อไปในอนาคต

สำหรับการตรวจฮอร์โมนด้วยวิธีนี้ผู้ที่ต้องการตรวจฮอร์โมน ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปโรงพยาบาลหรือคลินิก ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมทั้งยังสามารถจัดสรรเวลาการตรวจที่เหมาะสมกับตัวเองได้ง่ายยิ่งขึ้น

เมื่อได้ผลตรวจแล้ว ควรทำอย่างไรต่อไป?

หลังจากที่ได้รับผลการตรวจแล้ว สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนครอบครัว ต้องการมีบุตร หรือต้องการฝากไข่ ฯลฯ สามารถนำผลการตรวจนี้ไปปรึกษาแพทย์เพื่อประกอบการวิเคราะห์และวางแผนอนาคตต่อไปได้

สำหรับผู้ที่ผลการตรวจบ่งชี้ว่ามีสัญญาณความผิดปกติของร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์ โดยสามารถนำผลการตรวจไปประกอบการวินิฉัยความผิดปกติ เพื่อรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจฮอร์โมนไม่ได้เป็นการวินิจฉัยโรคหรือเป็นตัวชี้วัดภาวะเจริญพันธุ์ทั้งหมดหรือตลอดไป จึงต้องมีการตรวจและติดตามผล ควบคู่กับการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอย่างสม่ำเสมอ

ผลการตรวจฮอร์โมน นอกจากจะช่วยให้เราสามารถวางแผนครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดความสมบูรณ์แข็งแรงของระบบต่างๆ ในร่างกายอีกด้วย ดังนั้นการทำความเข้าใจภาวะเจริญพันธุ์ด้วยการตรวจฮอร์โมน จึงเป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนควรให้ความสำคัญ


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฮอร์โมนผิดปกติ อาการเป็นอย่างไร? ตรวจฮอร์โมน สำคัญไหม? (https://hdmall.co.th/c/hormone-check-up).
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ฮอร์โมนเพศชายต่ำ คืออะไร ใครเสี่ยง? (https://hdmall.co.th/c/andropause-testosterone-deficiency-syndrome).
การตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย ตรวจฮอร์โมนชนิดใดบ้าง? ตรวจที่ไหนดี? (https://hdmall.co.th/c/what-hormones-are-tested-in-male-hormone-testing).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)