กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อธิบายอาการผีอำ หรือ โรคผีอำ ในทางวิทยาศาสตร์

ผีอำ อาการที่สามารถอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ หาคำตอบเพื่อลองสังเกตตัวเองได้ที่่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อธิบายอาการผีอำ หรือ โรคผีอำ ในทางวิทยาศาสตร์

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ผีอำ เป็นคำที่หลายคนใช้เรียกอาการขยับตัวไม่ได้หลังจากนอนหลับ แต่ยังคงรู้สึกตัวอยู่ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าถูกผีอำ
  • ความจริงแล้วภาวะผีอำ คือ ช่วงที่ร่างกายเข้าสู่ช่วงอวัยวะหยุดทำงานชั่วคราว (Rem sleep) แต่ผู้นอนยังคงตื่นอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องผิดปกติ
  • ภาวะผีอำอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ โรคนอนไม่หลับ ดื่มคาเฟอีนมากไป หรือนอนไม่เป็นเวลา
  • โดยปกติแล้วภาวะผีอำจะหายไปได้เองในไม่กี่นาที แต่หากมีอาการบ่อยๆ อาจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนให้เป็นเวลา เลี่ยงคาเฟอีนหลังเที่ยง หรืออาจปรึกษาแพทย์เรื่องปัญหาการนอนไม่หลับ
  • ปรึกษาปัญหาการนอนหลับได้ที่นี่

ผีอำ ที่คนทั่วไปพูดกัน มักหมายถึงอาการนอนหลับไปแล้วเหมือนวิญญาณออกจากร่าง มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัว แต่ขยับไม่ได้ พูดไม่ได้ บางคนเชื่อว่าเกิดจากเรื่องเหนือธรรมชาติ

เช่น อาจเกิดอาการผีอำเพราะบังเอิญไปนอนทับที่ที่ไม่สมควร หรือมีวิญญาณติดตามอยู่ บางคนอธิบายอาการผีอำว่าลืมตาขึ้นมาแล้วมองเห็นคนนอนทับอยู่บนร่างด้วย แต่ความจริงแล้ว ทุกสิ่งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผีอำ เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจวงจรการนอนแบบคร่าวๆ ก่อน ซึ่งมีด้วยกัน 2 ช่วง ดังนี้

  1. Non-rem sleep คือ ช่วงเวลาที่เราหลับตื้นจนค่อยๆ นำไปสู่การหลับลึก โดยจะเกิดขึ้นสลับกันไปมาระหว่าง Rem sleep ตลอดทั้งคืน
  2. Rem sleep คือ ช่วงที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายพักผ่อนหยุดทำงาน สังเกตได้จากไตที่กลั่นปัสสาวะน้อยลงขณะนอนหลับ แต่ก็ยังมีอวัยวะบางส่วนที่ทำงานอยู่ เช่น หัวใจ กระบังลม และดวงตา

ตามปกติ ช่วงการนอนหลับ Rem sleep จะเกิดสั้นๆ ขณะหลับ แต่สมองจะทำงานอยู่ทำให้เกิดความฝันขึ้น แต่ร่างกายจะไม่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจเป็นกลไกที่สร้างมาเพื่อให้คุณไปขยับหรือลุกขึ้นทำท่าทางตามที่ฝันอยู่ 

แต่มีบางครั้งที่ร่างกายเข้าสู่ช่วงการนอนหลับแบบ Rem Sleep ทั้งๆ ที่ยังตื่นอยู่ ทำให้รู้สึกขยับตัวไม่ได้จนหลายคนเรียกว่า "ผีอำ" 

ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนว่าการเข้าสู่ภาวะ REM ทั้งที่ยังตื่นอยู่เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่พบว่ามีความสัมพันธ์กับสิ่งต่อไปนี้

  • พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือเป็นโรคนอนไม่หลับ

  • มีรูปแบบการนอนผิดปกติ เช่น ต้องทำงานเป็นกะ หรือเดินทางข้ามเส้นแบ่งเขตเวลาบ่อยๆ หรือเป็นเจ็ตแล็ก (Jet lag)

  • เป็นโรคลมหลับ (Nacolepsy)

  • ในครอบครัวมีผู้มีประวัติเป็นผีอำ

  • นอนหงาย

อาการผีอำ

อาการสำคัญของภาวะผีอำ คือ รับรู้ถึงสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว แต่ไม่สามารถขยับหรือพูดได้ ส่วนมากมักเกิดขึ้นตอนกำลังจะตื่น แต่บางครั้งก็เกิดตอนเข้านอนใหม่ๆ ได้เช่นกัน

ระหว่างที่อยู่ในภาวะผีอำ มักมีอาการต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • รู้สึกหายใจเข้าลำบาก รู้สึกเหมือนมีบางสิ่งทับอยู่บนอก

  • สามารถกลอกตาได้ บางคนสามารถลืมตาได้ด้วย

  • มีความรู้สึกว่ามีบางคนหรือบางสิ่งอยู่ในห้องด้วย ในบางรายอาจรู้สึกว่าบางคนหรือบางสิ่งนั้นจะเข้ามาทำร้าย

  • รู้สึกตกใจ

เมื่อผีอำ ทำอย่างไรดี?

ภาวะผีอำมักจะหายไปได้เอง ไม่ต้องการวิธีรักษาเป็นพิเศษ แต่การปรับปรุงพฤติกรรมการนอนก็จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น ไม่ต้องพบเจออาการผีอำได้ คำแนะนำเพื่อการนอนที่ดีมีดังนี้

  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ สำหรับผู้ใหญ่ควรอยู่ที่ 6-8 ชั่วโมง

  • ฝึกนิสัยเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา

  • จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมแก่การนอน เช่น ทำที่นอนให้สบาย ไม่มีเสียงรบกวน มืด ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน ตอนใกล้เข้านอน

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ออกกำลังกายภายในช่วง 4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

ผีอำ อันตรายหรือไม่?

แม้ว่าภาวะ ผีอำ มักจะสร้างความตกใจ แต่จริงๆ แล้วนี่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นในเวลาสั้นๆ เป็นหลักนาทีเท่านั้น และไม่เป็นอันตรายอะไร บางคนอาจเคยเข้าสู่ภาวะนี้แค่ 1-2 ครั้งในชีวิต ขณะที่บางคนอาจเป็นได้บ่อยๆ

ผีอำ เกิดได้ในทุกเพศทุกวัย พบบ่อยในวัยรุ่นหรือผู้เข้าสู่วัยผู้ใหญ่

ผีอำระดับไหน จึงควรไปหาหมอ?

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ผีอำ ไม่เป็นอันตราย และสามารถหายได้เอง แต่ถ้ามีอาการเหล่านี้ การปรึกษาแพทย์ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย

  • เป็นผีอำบ่อยๆ

  • รู้สึกว่าการพยายามหลับนั้นเหนื่อยมาก หรือไม่สามารถพักผ่อนเพียงพอได้เลย

  • ในระหว่างวันรู้สึกง่วงมาก บางครั้งอยู่ๆ ก็หลับไปเลย หรือรู้สึกควบคุมกล้ามเนื้อไม่ค่อยได้ อาการเหล่านี้อาจบ่งชี้ว่าเป็นโรคลมหลับ ซึ่งเป็นอันตราย

ดูแพ็กเกจปรึกษาปัญหาการนอนไม่หลับ เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)