ฝ้า กระ หรือจุดด่างดำบนใบหน้า เป็นปัญหาผิวที่หลายคนประสบ แม้โดยส่วนมากปัญหาเหล่านี้มักไม่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกาย แต่ก็อาจทำให้เสียความมั่นใจ ผิวหน้าไม่กระจ่างใส มีจุดด่างดำได้ สำหรับผู้ที่กำลังหาวิธีทำให้ฝ้าและรอยดำจางลง ข้อมูลต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณพิจารณาวิธีแก้ไขได้ดียิ่งขึ้น
ฝ้าคืออะไร?
ฝ้า (Melasma) คือความผิดปกติของเม็ดสีที่ปรากฎบนผิวหนัง ลักษณะเป็นหย่อมๆ สีน้ำตาลหรือเทา มีรูปทรงแตกต่างกัน มักเกิดขึ้นบนบริเวณดังต่อไปนี้
- แก้ม
- หน้าผาก
- สันจมูก
- เหนือริมฝีปาก
ฝ้ายังเกิดขึ้นได้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สัมผัสแดดบ่อยด้วยเช่นกัน จัดเป็นปัญหาผิวที่สามารถพบได้ทั่วไปแต่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
ฝ้าเกิดจากอะไร?
ฝ้า เกิดจากเซลล์ผลิตเม็ดสีเมลาโนไซต์ (Melanocyte) ผลิตเม็ดสีเมลานินออกมามากเกินไป เมื่อเม็ดสีเหล่านั้นมารวมกลุ่มกันก็จะเกิดเป็นฝ้าหรือรอยดำประเภทอื่นๆ ขึ้นมาตามผิวหนัง
ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเหตุใดเซลล์ผลิตเม็ดสีจึงผลิตเม็ดสีออกมามากผิดปกติ แต่มีปัจจัยต่างๆ ที่อาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการผลิตเม็ดสีมากขึ้น ดังนี้
- การสัมผัสแสงแดดมากๆ ทำให้รังสีอัลตร้าไวโอเลต (Ultraviolet) เข้าไปกระตุ้นเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase: TYR) ที่มีส่วนเร่งปฎิกริยาสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินที่เซลล์เมลาโนไซต์มากขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เช่น ผลข้างเคียงจากยาคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ และความเครียด
- ผู้ที่กำลังรับการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด (Hormone therapy)
- พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นฝ้ามาก่อน ก็มีโอกาสที่คนรุ่นต่อไปจะเกิดฝ้าด้วยเช่นกัน
- ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
นอกจากนี้ คนที่มีผิวขาวมักมีโอกาสเกิดฝ้ามากกว่าคนที่มีผิวคล้ำ
การรักษาฝ้าทำอย่างไร?
สำหรับบางคน ฝ้าอาจหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา เช่น ในคนที่เป็นฝ้าจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด
แต่สำหรับคนที่เป็นฝ้าจากสาเหตุอื่นที่ไม่สามารถหายได้ด้วยตัวเอง อาจพิจารณาการรักษาดังต่อไปนี้
1. รักษาฝ้าด้วยการทำเลเซอร์
การใช้เลเซอร์กำจัดฝ้าหรือปัญหาจุดสี คือการยิงเลเซอร์เข้าไปตรงจุดที่กำหนด จากนั้นแสงจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนทำลายเม็ดสีเมลานิน ทำให้จุดสีต่างๆ ดูจางลง
เลเซอร์ที่นำมาใช้ในการกำจัดฝ้าและปัญหาเม็ดสีประเภทต่างๆ มีหลายชนิด แต่กลไกการทำงานนั้นค่อนข้างใกล้เคียงกัน ดังนี้
- เลเซอร์กลุ่มคิวสวิทช์ (Q-Switched) เช่น Q-Switched Nd: YAG Laser, Alexandrite laser
- คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ (Co2 laser) เป็นเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 10,600 นาโนเมตร ความแม่นยำสูง
การเลเซอร์กำจัดฝ้าอาจเห็นความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ แต่มักต้องทำหลายครั้งกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ขึ้นอยู่กับจุดสีของแต่ละคน
หลังจากทำเลเซอร์แล้วมักจะต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง เนื่องจากผิวยังคงไวต่อแสงแดดและอาจเกิดเป็นรอยดำได้
2. รักษาฝ้าด้วยวิธีลอกหน้าโดยใช้น้ำยาเคมี (Chemical peel)
การลอกหน้าด้วยน้ำยาเคมี เป็นอีกวิธีที่ช่วยรักษาฝ้าได้ วิธีการคือทาน้ำยาเคมีลงบนบริเวณที่ต้องการเพื่อให้เกิดปฎิกริยากับผิวหน้าจนเซลล์ผิวเกิดการหลุดลอก และสามารถดึงออกมาได้เป็นแผ่น เผยให้เห็นผิวที่ดูเรียบเนียนขึ้น หน้าใสขึ้นได้จริง ริ้วรอยดูลดลง แต่ผลลัพธ์ของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน
สารเคมีที่อาจพบในน้ำยาลอกผิวหน้า เช่น กรดไกลโคลิก (Glycolic acid) กรดไตรคลออะซีติก (Trichloroacetic acid) กรดซาลิไซลิก (Salicylic acid) กรดแลกติก (Lactic acid)
หลังจากลอกผิวมักจะเกิดผลข้างเคียงตามมา เช่น รู้สึกแสบร้อน บวม มีรอยแดง ซึ่งจะค่อยๆ หายไปภายใน 7-14 วัน
ในกรณีที่การลอกผิวหน้าด้วยน้ำยาเคมีชนิดรุนแรง อาจทำให้ผิวไวต่อแดดไปอีกหลายสัปดาห์ ควรทาครีมกันแดดที่ป้องกันได้ทั้งรังสียูวีเอและยูวีบีอยู่เสมอ
วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีผิวขาวมากกว่าผิวคล้ำ เพราะผู้ที่มีผิวคล้ำอาจเกิดปัญหาผิวไม่สม่ำเสมอหลังจากลอกหน้า
3. รักษาฝ้าด้วยการกรอผิวด้วยเกร็ดคริสตัล
การกรอผิวหน้าด้วยเกร็ดคริสตัล (Microdermabrasion) เป็นการใช้อุปกรณ์บรรจุเกร็ดคริสตัลขนาดเล็ก กรอผิวหน้าเพื่อผลัดเซลล์ผิวชั้นนอก จากนั้นร่างกายจะสร้างเซลล์ผิวขึ้นมาใหม่ทำให้ดูเรียบเนียน ผิวกระจ่าง หน้าใสขึ้น ฝ้าดูลดเลือนไป
การกรอผิวหน้าด้วยเกร็ดคริสตัลใช้เวลาในการทำ 30-40 นาที ผลการรักษาจะปรากฎชัดขึ้นเมื่อทำไปแล้ว 5-16 ครั้ง ควรทำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือขึ้นอยู่กับผู้ชำนาญการประเมิน
หลังจากกรอผิวหน้าด้วยคริสตัลแล้ว อาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้น เช่น ผิวบวม ผิวแดง ผิวไหม้ รู้สึกแสบร้อน มีรอยช้ำ หรือผิวไวต่อแดด ซึ่งผลข้างเคียงมักจะหายได้เองในไม่กี่วัน และไม่จำเป็นต้องพักฟื้น แต่ควรทาครีมกันแดดเพื่อไม่ให้ผลข้างเคียงส่งผลกระทบรุนแรงขึ้น
4. รักษาฝ้าด้วยวิธีทาครีมบำรุง
การใช้ครีมรักษาฝ้า คือทาครีมบำรุง เป็นวิธีที่หลายคนใช้เป็นวิธีแรกในการรักษากระ ฝ้า เพราะสามารถทำได้ด้วยตัวเองเป็นประจำทุกวัน ผลข้างเคียงน้อยกว่าวิธีอื่นๆ
ครีมรักษาฝ้าสามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายยาทั่วไป แต่ต้องเลือกที่ทดสอบแล้วว่าได้ผลจริง โดยมีทั้งรูปแบบครีมและเจล ส่วนผสมภายในที่อาจพบในครีมบำรุงรักษาฝ้า อาจมีดังนี้
- ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) เป็นตัวยารักษาฝ้าที่พบบ่อย ช่วยลดจำนวนเซลล์สร้างเม็ดสีที่ทำให้เกิดฝ้าลง ทำให้สีผิวดูสม่ำเสมอขึ้น แต่อาจต้องใช้เวลา 4 สัปดาห์ขึ้นไปจึงจะเริ่มเห็นผลที่ชัดเจน และมักมีประสิทธิภาพลดลงหากใช้กับคนที่มีสีผิวเข้ม
- กรดโคจิก (Kojic acid) เป็นกรดที่ได้จากเห็ดราหลายชนิด มีส่วนช่วยยับยั้งและป้องกันการก่อตัวของเม็ดสีเมลานิน เมื่อเม็ดสีเมลานินมีจำนวนน้อยลงจึงทำให้ผิวดูกระจ่างใสขึ้น และอาจมีฤทธิ์ช่วยต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุของการเกิดสิวได้อีกด้วย
- อาร์บูติน (Arbutin) เป็นสารที่พบได้ในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มีส่วนช่วยลดการเกิดเม็ดสีเมลานินลง นิยมนำมาใช้ลดกระ ฝ้า และจุดด่างดำบนใบหน้า
- Vitamin C (Ascorbic acid) เป็นวิตามินที่พบได้มากในหนังชั้นกำพร้าหรือหนังชั้นนอก วิตามินซีมีส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างคอลลาเจน ช่วยให้ผิวมีสุขภาพดีและซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย ครีมบำรุงหลายชนิดจึงมักมีวิตามินซีเป็นส่วนประกอบในการช่วยฟื้นบำรุงผิวด้วย
- ไทอามิดอล (Thiamidol) เป็นสารไวท์เทนนิ่งที่ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เร่งปฎิกริยาการสร้างเม็ดสีที่ผิวหนังเมื่อถูกกระตุ้นจากรังสียูวีไทโรซิเนสจะถูกผลิตออกมามากขึ้น ทำให้เกิดการสร้างเม็ดสีมากเกินไป ต้นเหตุของปัญหาสีผิวผิดปกติทั้งดำและน้ำตาลจนกลายมาเป็นฝ้า ดังนั้นการใช้ไทอามิดอลยับยั้งไทโรซิเนสจึงเป็นการขจัดเม็ดสีที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง ไทอามิดอลถูกคิดค้นโดยสถาบัน Beiersdorf จากประเทศเยอรมัน และได้รับการจดสิทธิบัตรโดย Eucerin เป็นที่เรียบร้อย จากการทดสอบสารไวท์เทนนิ่งอื่นๆ อีกกว่า 50,000 ชนิด ในเวลากว่า 10 ปี พบว่าไทอามิดอลมีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถลดเลือนรอยดำและจุดด่างดำบนใบหน้าได้ภายใน 2-12 สัปดาห์ ไทอามิดอลได้รับการตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Journal of Investigative Dermatology (2018) ที่ได้รับการยอมรับจากแพทย์ผิวหนังทั่วโลก ซึ่งหนึ่งในผลิตภัณฑ์แนะนำที่มีส่วนผสมของไทอามิดอล ได้แก่ UltraWHITE+ Spotless Double Booster Serum ที่ผ่านการทดสอบทางการแพทย์ว่าสามารถลดฝ้าได้จริงภายใน 2 สัปดาห์ อีกทั้งยังมี Hyaluronic acid ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นเพื่อพาไทอามิดอลลงลึกถึงชั้นผิวที่เป็นจุดกำเนิดของฝ้า สามารถใช้ดูแลฝ้าได้ทุกสภาพผิว รวมถึงผิวบอบบางแพ้ง่าย
แม้ฝ้าจะเป็นปัญหากวนใจใครหลายคน แต่รักษาได้ด้วย 4 วิธีรักษาฝ้าข้างต้น จะเลือกวิธีไหนให้เหมาะกับตัวเองอาจดูที่ความรุนแรงของฝ้าที่เป็น พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ถ้าต้องออกแดดทุกวัน วิธีรักษาฝ้าที่ทำได้เองง่ายๆ ที่บ้านและมีผลข้างเคียงน้อย ได้แก่ การทาครีมบำรุง อาจเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับคุณ
นอกเหนือจากใบผิวหน้าใสไร้ฝ้าแล้ว สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือผิวเปล่งปลั่ง แข็งแรง จากภายใน ซึ่งจะเป็นอย่างนั้นได้จะต้องประกอบด้วยการรับประทานอาหารที่ดี ดื่มน้ำให้ได้ปริมาณเพียงพอต่อความชุ่มชื้นในเซลล์ผิว ทำความสะอาดผิวหน้าอย่างหมดจดก่อนพักผ่อนในแต่ละวัน และพยายามจัดสรรเวลานอนให้เต็มอิ่ม วันละ 7-9 ชั่วโมง