กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ฝากครรภ์พิเศษและไม่พิเศษแตกต่างกันอย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ฝากครรภ์พิเศษและไม่พิเศษแตกต่างกันอย่างไร

นับตั้งแต่เริ่มต้นที่ตั้งครรภ์นั้น การดูแลเอาใจใส่ในเรื่องต่างๆ รอบด้านของคนเป็นแม่ก็ต้องตามมาด้วยเช่นกัน อย่างเช่นเรื่องอาหารหรือการดูแลสุขภาพที่มีความสำคัญอย่างมาก รวมทั้งอาจมีปัญหาเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ทั้งนี้ยังมีเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “การฝากครรภ์” ว่าควรจะฝากแบบใดจึงจะเหมาะสม ซึ่งคุณแม่บางรายมักมีคำถามที่ว่าการฝากครรภ์พิเศษและไม่พิเศษแตกต่างกันอย่างไรกันอยู่เสมอ

เหตุผลของการฝากครรภ์

การฝากครรภ์เป็นขั้นตอนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไปพบสูตินรีแพทย์ เพื่อรับการดูแลและได้รับการรักษาสุขภาพที่เหมาะสม ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอดบุตรเพื่อจุดประสงค์ดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ตรวจสุขภาพโดยรวมของคุณแม่ว่ามีสุขภาพที่แข็งแรงดี หรือมีโรคประจำตัวและมีความเสี่ยงใดๆ อย่างเช่นตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ เป็นต้น
  • ตรวจการเจริญเติบโตของทารกว่าเป็นไปด้วยดีและแข็งแรงหรือไม่
  • ตรวจดูหรือติดตามภาวะเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการตั้งครรภ์ รวมถึงพิจารณาการคลอดที่เหมาะสมของคุณแม่อีกด้วย

ข้อแตกต่างของการฝากครรภ์พิเศษและการฝากครรภ์ธรรมดา

การฝากครรภ์มี 2 แบบ คือ การฝากครรภ์พิเศษและการฝากครรภ์ธรรมดา โดยมีข้อแตกต่างกันดังนี้

1. การฝากครรภ์พิเศษ

  • สามารถฝากครรภ์ได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน แต่ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนจะเป็นการฝากครรภ์พิเศษแบบอัตโนมัติทันที
  • เป็นการฝากครรภ์ที่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเลือกหรือระบุแพทย์ได้ว่า ต้องการให้แพทย์ท่านใดเป็นผู้ดูแลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการสิ้นสุดของการตั้งครรภ์
  • หากเป็นโรงพยาบาลรัฐจะได้แพทย์ที่เป็นเจ้าของไข้ดูแลไปตลอดจนคลอด และหากมีปัญหาในขณะการตั้งครรภ์ แพทย์ที่เป็นเจ้าของไข้มีสิทธิ์ตัดสินใจว่าควรส่งต่อให้หรือควรยุติการฝากครรภ์พิเศษ และมีค่าใช้จ่ายปกติที่ต้องจ่ายให้กับแพทย์ตามที่ตกลงกัน
  • การฝากครรภ์พิเศษที่โรงพยาบาลของรัฐ แพทย์มีสิทธิ์ที่จะเลือกคนไข้ว่าสมควรรับฝากหรือไม่ อย่างเช่นรับเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ปกติหรือไม่มีความเสี่ยงใดๆ รวมถึงกรณีที่ต้องผ่าตัดคลอด เนื่องจากเป็นหน้าที่ที่อยู่นอกเหนือหน้าที่ตามปกตินั่นเอง
  • สามารถฝากครรภ์พิเศษได้ตามคลินิก โดยคุณแม่ก็จะได้รับการดูแลจากแพทย์ท่านเดิมตลอด และเมื่อครบกำหนดคลอดก็จะไปคลอดที่โรงพยาบาลตามที่แพทย์ท่านนั้นประจำอยู่
  • มีค่าใช้จ่ายมากกว่าการฝากครรภ์ธรรมดา ระหว่างการตรวจครรภ์ในการนัดตรวจแต่ละครั้ง เช่น ค่ายา ค่าอัลตราซาวด์ หรือแม้แต่การกำหนดการคลอด หากเป็นความต้องการการผ่าคลอดโดยคุณแม่เอง อาจมีค่าใช้จ่ายจากการบริการเพิ่มขึ้นจากแพ็คเกจที่ในโรงพยาบาลกำหนดไว้ และในแต่ละโรงพยาบาลก็ไม่ได้กำหนดราคาไว้เท่ากัน ซึ่งเราควรสอบถามจากแพทย์ที่ดูแลได้โดยตรง

2. การฝากแบบธรรมดา

  • ไม่สามารถระบุหรือกำหนดแพทย์ตามที่ต้องการได้ เพราะการได้รับการตรวจจะขึ้นอยู่กับว่าเป็นเวรของแพทย์ท่านใด บางครั้งอาจมีนักศึกษาแพทย์มาดูแลในการรักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้การบริการก็ยังคงได้มาตรฐานของการแพทย์เช่นกัน อีกทั้งจะต้องทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลจากอาจารย์แพทย์อีกด้วย
  • การทำคลอดอาจได้รับการบริการจากพยาบาลผดุงครรภ์ที่ได้รับการอบรมมาแล้วอย่างดี มีความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานข้อชี้บ่งทางการแพทย์
  • ไม่มีการผ่าคลอดและไม่รักษานอกเหนืออื่นใดตามคำร้องของคนไข้ ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นตามข้อกำหนดมาตรฐานทางการแพทย์
  • สามารถใช้สิทธิการเบิกจ่ายตามบัตรที่มีอยู่ได้ เช่น บัตรประกันสังคม บัตรทอง 30 บาท ก็จะไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือคุณแม่บางท่านที่ไม่มีสิทธิ์ใดๆ ก็ยังเสียค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการฝากครรภ์พิเศษอีกด้วย   

โดยรวมแล้วถือว่าการฝากครรภ์ดีทั้งสองแบบ ขึ้นอยู่กับว่าคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นมีความต้องการอย่างไร หากมีกำลังทรัพย์ที่มากพอเพื่อซื้อความสะดวกสบายและความสบายใจ การฝากครรภ์พิเศษก็จะตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี ส่วนการฝากครรภ์ธรรมดาก็สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ไม่น้อย เพื่อความเหมาะสมของคุณแม่แต่ละท่านที่เป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลพึงจะกระทำได้


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฝากครรภ์ ต้องไปพบแพทย์กี่ครั้ง? แต่ละครั้งทำอะไรบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/how-often-do-you-need-prenatal-visits).
ฝากครรภ์กี่เดือน? ควรฝากตอนไหน?, (https://hdmall.co.th/c/what-you-need-to-know-about-antenatal-care).
ต้องเริ่มฝากครรภ์เมื่อท้องกี่สัปดาห์ กี่เดือน ช้าที่สุดที่จะฝากครรภ์ได้คือกี่เดือน?, (https://hdmall.co.th/c/when-should-antenatal-care-be-better).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)