4 MEGA
ชื่อผู้สนับสนุน
4 MEGA

รู้จัก "เลือดจระเข้" สรรพคุณไหนบ้างที่มีงานวิจัยรองรับ?

การสังเกตพฤติกรรมจระเข้ในธรรมชาติ นำไปสู่การวิจัยและทดลอง เพื่อหา “ความลับและประสิทธิภาพ” จากเลือดจระเข้​ ซึ่งอาจนำไปสู่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพและยารักษาโรค
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ก.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
รู้จัก "เลือดจระเข้" สรรพคุณไหนบ้างที่มีงานวิจัยรองรับ?

แรงกัดของจระเข้ไม่เพียงแต่จะแข็งแกร่งที่สุดแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันของพวกมันก็มีศักยภาพมากเช่นกัน จระเข้เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่บนโลกนี้มานานกว่า 230 ล้านปี ซึ่งจระเข้เป็นสัตว์ที่หายใจโดยใช้ปอด แต่ยังสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานกว่า 1 ชั่วโมง นานกว่าวาฬ โลมา และแมวน้ำ เป็นเพราะความสามารถในการขนส่งออกซิเจนของโปรตีนในเลือดของจระเข้นั้นสามารถเพิ่มความจุปริมาณของออกซิเจนในเลือดได้มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ 100 เท่า

ในร่างกายของจระเข้มีสารชนิดหนึ่งที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสามารถต้านทานโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส มีงานวิจัยพบว่า ฮีโมโกลบินในเลือดจระเข้สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย 23 สายพันธุ์รวมถึงสายพันธุ์ที่ทนทานหรือดื้อต่อยาปฏิชีวนะอีกด้วย จึงส่งผลให้อายุจระเข้ยืนยาวราว 70-100 ปี

ระบบภูมิคุ้มกันของจระเข้นั้นแข็งแกร่งมากเมื่อเทียบกับมนุษย์ หลักฐานนี้จึงนำไปสู่สมมติฐานที่ว่าระบบภูมิคุ้มกันของจระเข้มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นนักวิจัยส่วนใหญ่เชื่อว่าภูมิคุ้มกันโดยธรรมชาติในจระเข้นั้นแข็งแกร่งกว่ามนุษย์มาก เพราะมันสามารถอยู่รอดได้เป็นเวลานาน นักวิทยาศาสตร์จึงเห็นพ้องกันว่าจระเข้มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงที่สุดในโลก

ที่มาของการใช้เลือดจระเข้เพื่อสุขภาพคืออะไร มีงานวิจัยรองรับหรือไม่ การศึกษาจากในไทยและต่างประเทศให้ผลว่าอย่างไรบ้าง หาคำตอบได้ในบทความนี้

ที่มาของการใช้เลือดจระเข้เพื่อสุขภาพ

ตามความเชื่อของชาวจีน มีการนำเนื้อจระเข้มาทำเป็นยาตั้งแต่ในสมัยโบราณ เพื่อใช้รักษาโรคเกี่ยวกับปอดและเสริมความจำ นอกจากนี้ยังมีการนำกระดูกและเลือดของจระเข้ มาใช้เป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพร เช่น นำมาต้มเป็นน้ำซุป ด้วยเชื่อว่าสามารถบำรุงร่างกายให้แข็งแรง เสริมพละกำลัง

นักชีววิทยายังได้เฝ้าสังเกตชีวิตจระเข้ตามธรรมชาติ พบว่าจระเข้เหล่านั้นมักมีพฤติกรรมหวงถิ่น มีการต่อสู้กันเองหรือต่อสู้กับสัตว์อื่นจนบาดเจ็บ จนบางครั้งถึงกับสูญเสียอวัยวะ แต่ทั้งๆ อาศัยอยู่ในบึงที่เต็มไปด้วยแบคทีเรีย พวกมันฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วจากการบาดเจ็บ แผลของพวกมันกลับสมานแผลได้อย่างรวดเร็วและไม่ค่อยได้รับอันตรายจากการติดเชื้อ

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษา พบว่าฮีโมโกลบินในเลือดจระเข้ยังสามารถกักเก็บปริมาณของออกซิเจนได้มากกว่า 100 เท่าเมื่อเทียบกับสัตว์อื่น ร่างกายคนเราเมื่อได้รับออกซิเจนจะถูกส่งไปยังสมอง และเข้าสู่เซลล์ เมื่อระดับออกซิเจนในร่างกายมีปริมาณสูงขึ้น ร่างกายสามารถนำออกซิเจนไปใช้เป็นพลังงาน หากเซลล์ในร่างกายมีปริมาณออกซิเจนลดลงหรือขาดออกซิเจน จะทำให้อวัยวะนั้นเสื่อมลงและอาจทำให้เซลล์ตายได้

ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างให้ความสนใจในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเลือดจระเข้เพื่อพัฒนาและคิดค้นเป็นยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในร่างกายมนุษย์

งานวิจัยเกี่ยวกับเลือดจระเข้

เนื่องจากการสังเกตพฤติกรรมและการสมานแผลอย่างรวดเร็ว รวมถึงการต้านเชื้อโรคได้ ของจระเข้ในธรรมชาติดังกล่าวมาแล้ว จึงมีการศึกษาทดลองจากทีมวิจัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เลือดจระเข้กับเชื้อแบคทีเรีย

การทดลองในสหรัฐอเมริกา ได้มีการนำเลือดจระเข้ไปปั่นสกัด แยกเอาส่วนซีรัม (Serum) มาศึกษาการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย 23 สายพันธุ์ เปรียบเทียบกับเลือดมนุษย์ ผลการทดลองปรากฏว่า เลือดจระเข้สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งหมด ในขณะที่เลือดมนุษย์กำจัดเชื้อแบคทีเรียได้เพียง 8 สายพันธุ์เท่านั้น

ที่น่าสนใจคือ การวิจัยในระดับห้องทดลองยังบ่งชี้ว่า ซีรัมในเลือดจระเข้สามารถยับยั้งเชื้อก่อโรคในมนุษย์ อย่างเช่น E. Coli ได้ (Antibacterial properties of serum from the American alligator (Alligator mississippiensis), 2008)

เลือดจระเข้กับเซลล์มะเร็ง

ในจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย ซึ่งนักวิจัยศึกษาพบมีโปรตีน AMPs (Antimicrobial peptides) ที่สร้างโดยเม็ดเลือดขาว นอกจากจะมีฤทธิ์กำจัดเชื้อแบคทีเรียก่อโรค โดยจะพุ่งเป้าทำลายเยื่อบุเซลล์ของแบคทีเรียโดยตรงทันทีที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ยังมีการนำโปรตีนดังกล่าวไปทดสอบกับเซลล์มะเร็งหลายชนิดในห้องทดลอง ปรากฏว่ามันสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้โดยไม่ทำลายเซลล์ปกติข้างเคียง อีกทั้งยังส่งผลทำให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายตัวช้ากว่าปกติ

อย่างไรก็ตาม การจะนำเลือดจระเข้มาพัฒนาเป็นยารักษาโรคมะเร็งในมนุษย์โดยตรงนั้น ยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมอีก (Siamese Crocodile White Blood Cell Extract, 2018)

สำหรับประเทศไทย มีการวิจัยเลือดจระเข้สายพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) โดยศูนย์วิจัยโปรตีนและโปรติโอมิกส์เพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม (ศปพ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบเลือดจระเข้สายพันธุ์ไทย ได้แก่ พลาสมา ซีรัม เม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง มีคุณสมบัติทางชีวภาพหลายประการ เช่น ฤทธิ์ต้านจุลชีพ ต้านอักเสบ และสมานแผล (เปปไทด์ต้านจุลชีพในสัตว์เลื้อยคลาน, 2558)

จำเป็นต้องฆ่าจระเข้เพื่อนำเลือดของมันมาใช้หรือไม่?

การใช้เลือดจระเข้อาจฟังดูน่ากลัว แต่ความจริงแล้วการนำเลือดจระเข้มาใช้นั้นไม่มีการฆ่าจระเข้ แต่ใช้หลักการเจาะเลือดเช่นเดียวกับเจาะเลือดเพื่อบริจาคเลือดในคน ซึ่งจระเข้ 1 ตัวจะทำการเจาะเลือดออกมาเพียง 200 มิลลิลิตร หลังจากเจาะเลือดแล้วจระเข้จะถูกปล่อยให้กลับไปใช้ชีวิตปกติ ตามธรรมชาติ ไม่ได้ฆ่า หรือต้องล่า หรือเบียดเบียนจระเข้ในธรรมชาติ

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เลือดแห้งจระเข้สกัด ซึ่งได้จากฟาร์มจระเข้ที่ยึดหลักจริยธรรม และจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและได้รับการรับรอง CITES เพื่อการส่งออก

สิ่งที่ควรศึกษาก่อนเลือกบริโภคเลือดจระเข้

เนื่องจากผลการศึกษาต่าง ๆ ปัจจุบันจึงมีการนำเลือดจระเข้มาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งถือเป็นอีกทางเลือกสำหรับการดูแลสุขภาพ

ข้อสำคัญคือ ควรเลือกผลิตภัณฑ์เลือดจระเข้ที่ได้จากฟาร์มที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีกระบวนการผลิตที่สะอาดปราศจากเชื้อ ได้มาตรฐาน และมีการจดรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.)

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเลือดจระเข้ในประเทศไทย ซึ่งผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในรูปแบบแคปซูล ExtraPotent IMMUNE BOOSTER จาก 4MEGA Dietary Supplement Product

นอกจากผลิตภัณฑ์นี้มีเลือดจระเข้สกัดแห้งเป็นส่วนประกอบแล้ว ยังมีส่วนผสมจากวัตถุดิบธรรมชาติซึ่งมีคุณประโยชน์ด้านเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น

  • สารสกัดจากขมิ้น มีสารเคอร์คูมิน (Curcumin) ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบจึงอาจช่วยบรรเทาอาการข้อเสื่อม ข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาการคัน มีคุณสมบัติช่วยป้องกันเซลล์สมองจากการจับกับโปรตีนที่ผิดปกติจึงอาจช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ทั้งยังมีสรรพคุณช่วยลดระดับไขมันในเลือดจึงดีต่อสุขภาพหัวใจ นอกจากนี้เคอร์คูมินยังมีอิทธิพลต่อกลไกทางชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคนี้ และสรรพคุณที่รู้จักกันดีอีกอย่างคือ เคอร์คูมินในขมิ้นช่วยลดอาการจุกเสียดและลดการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
  • สารสกัดจากต้นอ่อนข้าวสาลี สารสำคัญคือคลอโรฟิลล์ นอกจากนี้ยังมีวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และแร่ธาตุต่างๆ เช่น เหล็ก แคลเซียม แมกนีเซียม และกรมอะมิโนกว่า 17 ชนิด จากการวิจัยพบว่า ต้นอ่อนข้าวสาลีมีสรรพคุณช่วยเพิ่มปริมาณฮีโมโกลบินในเลือด ป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจางซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการได้รับเคมีบำบัดได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันการเกิดอันตรายจากอนุมูลอิสระ รักษาอาการลำไส้อักเสบ มีการทดลองในคนและสัตว์พบว่า ต้นอ่อนข้าวสาลีอาจช่วยลดคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด ส่งเสริมการลดน้ำหนัก และที่น่าสนใจคือ การทดลองระดับห้องปฏิบัติการบ่งชี้ว่าต้นอ่อนข้าวสาลีทำให้เซลล์มะเร็งลดลง และยับยั้งการพัฒนาของเซลล์ได้ด้วย

แม้จะมีการศึกษาคุณสมบัติและประโยชน์ของ เลือดจระเข้ มาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ ก็อาจให้ผลแตกต่างไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้รับประทานด้วย

หากเป็นผู้มีโรคประจำตัว หรือได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้จำกัดการรับประทานอาหารบางชนิดอยู่ ก่อนจะรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรปรึกษาแพทย์เสียก่อน นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารมื้อหลักให้ครบทุกหมู่ ออกกำลังกายให้เสมาะกับสภาพร่างกาย และพักผ่อนให้เพียงพออยู่เสมอ


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ. ดร. สมปอง คล้ายหนองสรวง, เปปไทด์ต้านจุลชีพในสัตว์เลื้อยคลาน (https://sc5.kku.ac.th/sciIT/doc/2015-Sep-21-140935.pdf), มิถุนายน 2558
กนกพร อะทะวงษา, น้ำวีทกราส … น้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลี (https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/125/น้ำวีทกราส-น้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลี/), 22 ธันวาคม 2555.
The Sciences Times, Crocodile Blood: Could be the New Source for Antibiotics and HIV Cure (https://www.sciencetimes.com/articles/20390/20190421/crocodile-blood-could-be-the-new-source-for-antibiotics-and-hiv-cure.htm), 21 April 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)