โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ชื่อผู้สนับสนุน
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

รู้จักโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และแนวทางการรักษากรณีหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน (Complex PCI)

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน สาเหตุ อาการ การรักษา และข้อมูลเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อนที่ต้องใช้เทคนิครักษาแบบพิเศษ
เผยแพร่ครั้งแรก 18 พ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 19 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
รู้จักโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และแนวทางการรักษากรณีหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน (Complex PCI)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หัวใจ เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือด พาออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย อย่างไม่เคยหยุดพัก
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นอันตรายมากต่อหัวใจ เพราะทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ ทำให้เสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้
  • ผู้ป่วยบางคนไม่สามารถรับการรักษาด้วยการสอดสายสวน (PCI) ทำบอลลูนแบบปกติได้ หรือด้วยภาวะสุขภาพ ทำให้การรักษาทั่วๆ ไปมีความเสี่ยงสูง
  • โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มี ศูนย์รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน พร้อมให้คำปรึกษาโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ และให้การรักษาด้วยหลากหลายเทคนิคผสมผสานกัน

หัวใจ เป็นอวัยวะที่บีบตัวเป็นจังหวะอยู่ตลอดเวลา เพื่อสูบฉีดเลือด นำพาออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย หัวใจทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ จะสังเกตได้ว่าเราไม่เคยต้องออกแรงบังคับหัวใจให้ทำงาน แต่มีบ้างบางครั้งเมื่อเราไม่ค่อยดูแลสุขภาพเป็นระยะเวลานานๆ เกิดความเครียด หรือออกแรงหนัก ก็จะรู้สึกเจ็บปวดที่หัวใจขึ้นได้

หนึ่งในโรคสำคัญเกี่ยวกับหัวใจที่อันตรายมาก ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือหลอดเลือดหัวใจตีบตัน สำหรับประเทศไทยแล้ว โรคนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าในปี พ.ศ. 2560 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจคิดเป็น 12% จากสาเหตุของการเสียชีวิตทั้งหมด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน ทำบอลลูนไม่ได้ ไม่ต้องการผ่าตัด

มีภาวะสุขภาพที่ทำให้การรักษามีความเสี่ยงสูง ขอคำปรึกษาจากบำรุงราษฎร์ที่นี่เลย

หลอดเลือดหัวใจตีบตันคืออะไร?

หลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD) หมายถึง โรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ทำหน้าที่นำพาเลือดเข้าไปเลี้ยงหัวใจเกิดการตีบแคบลงหรืออุดตัน ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหัวใจวายเฉียบพลันได้

สาเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

การตีบตันของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ มักเกิดจากมีการสะสมของคอเลสเตอรอลซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่ง ร่วมกับสารอื่นๆ ในหลอดเลือดเป็นระยะเวลานาน เมื่อสะสมมากเข้าก็ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงเรื่อยๆ จนอุดตัน และเมื่อหลอดเลือดพยายายามซ่อมแซมตัวเองก็อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดสะสมในหลอดเลือดขึ้นอีก กระบวนการนี้เรียกว่า หลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)

ที่มาของไขมัน คอเลสเตอรอล ดังกล่าว ส่วนหนึ่งก็มาจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั่นเอง

อาการของหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

เมื่อเริ่มมีไขมันเกาะผนังหลอดเลือดด้านใน จะยังไม่มีอาการแสดงอาการใดๆ ในทันที แต่หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรค หรือไม่ได้รับการรักษา ก็สามารถพัฒนาจนเกิดอันตรายจากการปริแตกของหลอดเลือด หรือมีเกล็ดเลือดหลุดเข้าไปอุดตันทางเดินของหลอดเลือดได้

อาการแสดงของโรคจะเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดมีการอุดตันเกิน 50% อาการดังกล่าว เช่น

  • แน่นหน้าอก รู้สึกเหมือนมีของหนักๆ มาทับ ส่วนใหญ่แล้วมากเกิดบริเวณกึ่งกลางหรือค่อนไปทางซ้าย มักเกิดเมื่อมีความเครียดหรือออกกำลังกายหนัก เมื่อหยุดพักอาการจะหายไปเองภายในไม่กี่นาที ในบางคน โดยเฉพาะเพศหญิง อาจรู้สึกเจ็บแปลบที่ลำคอ แขน หรือหลัง ได้ด้วย
  • หายใจถี่กระชั้น เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้มากพอกับความต้องการของร่างกาย

หากหลอดเลือดแดงซึ่งทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจเกิดการอุดตันอย่างสมบูรณ์ จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ หัวใจวาย อาการได้แก่ แน่นหน้าอกรุนแรง เจ็บบริเวณไหล่หรือแขน บางครั้งอาจเกิดร่วมกับหายใจหอบถี่และเหงื่อออกที่ไม่ได้เกิดจากกาอากาศร้อนอบอ้าว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน ทำบอลลูนไม่ได้ ไม่ต้องการผ่าตัด

มีภาวะสุขภาพที่ทำให้การรักษามีความเสี่ยงสูง ขอคำปรึกษาจากบำรุงราษฎร์ที่นี่เลย

อย่างไรก็ตาม ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือหัวใจวายสามารถเกิดได้โดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าใดๆ เช่นกัน

ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

ถ้าคุณหรือบุคคลใกล้ชิดมีอาการข้างต้น ควรรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือโทร. สายด่วนฉุกเฉิน 1669 ควรมีผู้ขับรถไปส่ง การขับไปเองควรเป็นทางเลือกสุดท้าย

สำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่แล้ว หากมีอาการใหม่ๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเกิดขึ้น หรืออาการใดที่เป็นอยู่แล้วเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าเดิม ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว โดยเฉพาะถ้าอาการจำพวกใจสั่น ใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ คลื่นไส้ เหงื่อออก

ถ้ากินไนโตรกลีเซอรีนเพื่อระงับอาการเจ็บหน้าอกไปแล้ว 2 โดส หรือเวลาผ่านไปแล้วเกิน 15 นาที อาการยังไม่ดีขึ้น ควรรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว

กลุ่มเสี่ยงต่อหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ได้แก่

  • ผู้สูงอายุ เนื่องจากหลอดเลือดเสื่อมสภาพ
  • ผู้ชาย จากสถิติพบว่าเพศชายมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันมากกว่าเพศหญิง แต่ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีโอกาสเป็นโรคนี้พอๆ กับผู้ชาย
  • ผู้ที่มีคนในครอบครัว เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ มีประวัติเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะหากเป็นโรคนี้ขณะที่อายุน้อยกว่า 50 ปี จะยิ่งมีความเสี่ยงสูง
  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน สำหรับคนเอเชีย ควรมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่เกิน 23 กิโลกรัม/ตารางเมตร
  • ผู้มีความเครียดสูง เนื่องจากเมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนและคอร์ติซอลออกมา ฮอร์โมน 2 ชนิดนี้ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว เลือดสูบฉีดมากกว่าปกติ และทำให้ตับผลิตคอเลสเตอรอลมากขึ้นด้วย คอเลสเตอรอลที่มากเกินไปนี้เองเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หลอดเลือดอุดตันได้
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท

ปฏิบัติตัวอย่างไรให้ไกลจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน?

โรคหลอดเลือดหัวใจ มีหลายปัจจัยทำให้เกิดโรคที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อายุ เพศ ประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่สามารถควบคุมได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยง Stroke รพ. บำรุงราษฎร์

วันนี้ถึง 30 พ.ย. 2563 เพียงใส่ Code "BSTM5000" ลดเลย 5,000 บาท

เราควรให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ควบคุมได้เหล่านี้ เพราะจะได้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น

  • งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อรักษาสุขภาพของหลอดเลือด
  • ตรวจสุขภาพประจำปีหรือคัดกรองความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อให้ทราบค่าความดันโลหิต คอเลสเตอรอล น้ำตาลในเลือด นำไปสู่การวางแผนปรับพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม
  • ออกกำลังกายต่อเนื่องประมาณครั้งละ 20-30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เพื่อให้เลือดสูบฉีดไหลเวียนทั่วร่างกาย ลดโอกาสการอุดตัน ผนังหลอดเลือดแข็งแรง ยืดหยุ่น ปอดและหัวใจแข็งแรงขึ้น แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวว่าสามารถออกกำลังกายได้ระดับไหนจึงจะไม่อันตราย
  • พยายามรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารหวานจัด เค็มจัด รับประทานผักและผลไม้มากๆ
  • พยายามรักษาสุขภาพจิต ไม่ให้อยู่ในภาวะเครียดนาน เช่น ทำกิจกรรมผ่อนคลาย หากรู้สึกไม่มีทางออก ต้องการคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ อย่าลังเลที่จะปรึกษาจากจิตแพทย์

แนวทางการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

เมื่อเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน อันนำไปสู่โรคอื่นๆ ที่รุนแรงต่อไปได้ สิ่งที่ต้องทำคือแก้ไขให้เลือดสามารถไหลผ่านหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงหัวใจได้ดังเดิม

วิธีแก้ไขดังกล่าว ได้แก่

  • ใช้ยา ใช้ในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจยังตีบไม่มาก โดยแพทย์จะเป็นผู้ตรวจวินิจจัยก่อนว่าสาเหตุที่ทำให้คุณมีหลอดเลือดหัวใจตีบนั้นเกิดจากอะไร แล้วจึงสั่งยาให้ ยาทีจะได้รับอาจได้แก่ สแตตินส์ ไนอะซิน สำหรับลดคอเลสเตอรอล หรือยาสำหรับลดการจับตัวของแคลเซียม ฯลฯ
  • ทำบอลลูน เป็นการรักษาแบบไม่ผ่าตัด แต่จะใช้วิธีเจาะเส้นเลือดของร่างกาย แล้วใส่สายสวน (PCI) ซึ่งมีบอลลูนอยู่ที่ส่วนปลาย เข้าไปในหลอดเลือดแดง จากนั้นเมื่อเข้าไปถึงตำแหน่งที่หลอดเลือดมีการอุดตันแล้ว บอลลูนที่ตอนแรกมีลักษณะแฟบจะถูกทำให้พองขึ้น จนสามารถดันไขมันที่อุดตันให้ไปชิดกับผนังหลอดเลือด หลอดเลือดที่เคยอุดตันก็จะขยายตัวออก ส่วนใหญ่จะมีการใส่ขดลวดที่บอลลูนด้วย เพื่อลดโอกาสที่หลอดเลือดจะกลับมาตีบใหม่
  • ผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจ หรือที่เรียกกันว่า การทำบายพาสหัวใจ เป็นการเอาหลอดเลือดจากส่วนอื่นของร่างกาย มาทำทางเบี่ยงการไหลเวียนของเลือด จากที่จะต้องไหลผ่านจุดอุดตันก็จะไหลผ่านหลอดเลือดที่ต่อขึ้นใหม่นี้แทน

แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรใช้วิธีใด โดยผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้หลายวิธีประกอบกัน และในบางกรณีอาจรักษาด้วยวิธีการข้างต้นไม่ได้ผล หรือมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ เรียกว่าหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน

เทคนิคการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน หมายถึง ผู้มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันชนิดรักษาได้ยาก หรือมีความเสี่ยงบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถใช้การรักษาแบบทั่วไปได้ เช่น

  • ผนังหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยมีหินปูนมาเกาะด้วยปริมาณมาก จนหลอดเลือดตันโดยสิ้นเชิง
  • หลอดเลือดหัวใจตีบบริเวณหลอดเลือดแตกแขนง
  • หลอดเลือดหัวใจตีบหลายเส้น
  • เคยรักษาด้วยวิธีทำบอลลูนหรือทำบายพาสมาก่อนแล้ว
  • มีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือมีโรคอื่นร่วม
  • อายุมากจนมีความเสี่ยงสูงหากรักษาแบบทั่วไป

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อนทำให้ผู้ป่วยอาจต้องรับการรักษาโดยใช้หลากหลายเทคนิคร่วมกัน เช่น

  • หาตำแหน่งหลอดเลือดที่อุดตันโดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์ที่มีหัวอัลตราซาวด์พิเศษสอดเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ
  • ใช้เครื่องกรอหินปูน (Rotablator) สำหรับหลอดเลือดหัวใจตีบที่มีสาเหตุจากการสะสมของหินปูนในหลอดเลือด
  • ใช้สายสวนหลอดเลือดหัวใจแบบพิเศษ (Complex PCI) ซึ่งมีการเคลือบตัวยาที่ช่วยลดโอกาสการกลับมาตีบซ้ำของหลอดเลือด และออกแบบมาเพื่อรองรับหลอดเลือดแยกทางโดยเฉพาะ

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เช่น มีภาวะปอดหรือหัวใจล้มเหลว อาจต้องใช้เครื่องมือช่วย ได้แก่ เครื่องพยุงหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดด้วยบอลลูน (Intra-aortic Balloon Pump: IABP) หัวใจและปอดเทียม (Extracorporeal Membrane Oxygenation: ECMO)

จะเห็นว่าแม้มีอาหารรุนแรง แต่ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ปัจจุบันก็ทำให้มีทางเลือกในการรักษามากมาย เพียงแต่ต้องอาศัยผู้ชำนาญการในแต่ละสาขา เพื่อให้มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงสุด

ปรึกษาแพทย์ รับการรักษาสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อนโดยเฉพาะ ที่บำรุงราษฎร์

หนึ่งในสถานพยาบาลที่มี ศูนย์รักษาโรคหัวใจตีบแบบซับซ้อน โดยเฉพาะ คือ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในศูนย์นี้มีทีมแพทย์เฉพาะทางคอยให้คำปรึกษา วินิจฉัยและตรวจคัดกรองด้วยกระบวนการที่ให้ความแม่นยำสูง เช่น ตรวจ ECHO ตรวจ EST ทำ CT Scan ทำ MRI

ตลอดจนให้การรักษาและมีห้องสำหรับพักฟื้น ครบจบในที่เดียว สำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบตันแบบซับซ้อน ที่มองหาวิธีรักษาอื่นๆ นอกเหนือจากการผ่าตัด

สำหรับผู้ที่อาจสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ไปจนถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบบซับซ้อน หรือมีอาการบางอย่างที่ไม่ทราบว่าเป็นสัญญาณอันตรายบ่งถึงภาวะใดๆ เกี่ยวกับหัวใจหรือไม่

ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลาใด ก็สามารถรับคำปรึกษาได้ทันที ด้วยวิธีแชตผ่านไลน์ ทาง Bumrungrad International Heart Center Hotline ศูนย์หัวใจบำรุงราษฎร์คอยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
CDC, Heart Disease: Coronary artery disease (https://www.cdc.gov/heartdisease/coronary_ad.htm), 9 December 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)