กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การคุมกำเนิดและแรงขับทางเพศ

มีความเชื่อว่าการคุมกำเนิดมักมีผลต่อเรื่องของแรงขับทางเพศ แต่จากผลการวิจัยการคุมกำเนิดแต่ละวิธีที่มีต่อเรื่องเพศสัมพันธ์ ก็พบผลวิจัยที่น่าสนใจมากมาย อ่านได้จากบทความนี้
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การคุมกำเนิดและแรงขับทางเพศ

ความเชื่อทั่วไปเกี่ยวกับการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน (Hormonal Birth Control) คือการลดแรงขับทางเพศลงด้วยการลดระดับ Testosterone หรือการหลอกให้ร่างกายคิดว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ แต่จริงๆ แล้วเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย

มีงานวิจัยมากมายที่ดำเนินการเพื่อศึกษาเรื่องเพศสัมพันธ์กับการคุมกำเนิด แต่ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้ก็ยังมีข้อสรุปที่ไม่ตรงกันอยู่บ้าง โดยเฉพาะวิธีการคุมกำเนิดแต่ละวิธีกับแรงขับทางเพศ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. ยาคุมกำเนิดแบบเม็ด
    จากการศึกษาในเรื่องผลกระทบของแรงขับทางเพศที่ได้รับผลกระทบจากยาเม็ดคุมกำเนิดยังคงไม่เป็นที่เห็นพ้องกัน โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
    จากการศึกษาในปี 2013 ที่ตีพิมพ์ออกมาตั้งแต่ปี 1970 นักวิจัยพบว่าผู้ที่ใช้ยากลุ่มนี้ 6 ใน 10 คนไม่มีความเปลี่ยนแปลงในเรื่องแรงขับทางเพศใดๆ มี 2 จาก 10 คนที่รู้สึกว่าแรงขับทางเพศเพิ่มขึ้น และมีประมาณ 1 ใน 10 คนที่รายงานถึงแรงขับทางเพศที่ลดลง โดยความแตกต่างของสูตรยาและกำหนดวันใช้ยาอาจส่งผลต่อการทำงานทางเพศได้
    การทดลองแบบสุ่มในปี 2016 ได้ทำการตรวจสอบว่าคนที่ใช้ยาคุมกำเนิดสูตรหนึ่งมีความแตกต่างจากกลุ่มคนที่ใช้ยาหลอก โดยได้ทำการตรวจสอบ 7 ประเด็นทางเพศ และพบว่ากลุ่มที่ใช้กลุ่มยามักรายงานว่าความปรารถนาทางเพศ ความเร้าอารมณ์ และความพอใจทางเพศลดลง
  2. แหวนและแผ่นแปะคุมกำเนิด
    ประโยชน์หนึ่งที่ทั้งยาเม็ดคุมกำเนิด วงแหวนคุมกำเนิด และแผ่นแปะคุมกำเนิดมีเหมือนกัน คือสามารถใช้เพื่อการข้ามประจำเดือนได้อย่างปลอดภัย ผู้ที่ไม่ชอบมีเพศสัมพันธ์ระหว่างมีประจำเดือน สามารถใช้วิธีเหล่านี้เพิ่มจำนวนวันที่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้
    จากการศึกษาหนึ่งพบว่าผู้ที่ใช้วงแหวนมักจะมีความชื้นของช่องคลอดมากขึ้น และมักจะมีช่องคลอดแห้งน้อยลง 3 เท่า รวมทั้งมีคะแนนในเรื่องความพอใจทางเพศ และการเข้าถึงจุดสุดยอดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ใช้วิธีคุมกำเนิดที่ไม่ใช่ฮอร์โมน
  3. การคุมกำเนิดที่มีเฉพาะ Progestin
    ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีแค่ Progestin (Progestin-Only Pills) คือยาที่ประกอบด้วย Progestin เท่านั้น มีฤทธิ์หลักคือการทำให้เมือกในปากมดลูกข้นขึ้น
    จากการศึกษาหนึ่งที่ให้ผู้เข้าทดสอบจากสองประเทศ คือสกอตแลนด์ กับฟิลิปปินส์ พบว่า ยาที่มีเฉพาะ Progestin ไม่ส่งผลต่อความสนใจหรือกิจกรรมทางเพศใดๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาหลอก แต่เป็นที่น่าสนใจว่า กลุ่มผู้เข้าร่วมทดสอบจากสกอตแลนด์ที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดผสม กลับมีความรู้สึกทางลบในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่ได้ผลเช่นเดียวกับในกลุ่มคนฟิลิปปินส์
  4. ยาฉีดคุมกำเนิด
    ยาฉีดคุมกำเนิดที่มีเฉพาะ Progestin มักจะต้องทำการฉีดทุกๆ 8 หรือ 12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับประเภทของยา โดยยาจะออกฤทธิ์ด้วยการกดกระบวนการตกไข่และทำให้เมือกในปากมดลูกข้นขึ้น
    ขณะนี้ยังคงมีงานวิจัยเกี่ยวกับผลจากการใช้ยาฉีดคุมกำเนิดกับแรงขับทางเพศอยู่น้อยมาก แต่มีการศึกษาหนึ่งพบว่า หลังจากใช้ยาประเภทนี้หกเดือน ผู้ใช้มีโอกาสที่จะขาดความสนใจทางเพศ ไปประมาณ 2 ถึง 3 เท่า ซึ่งมากกว่าผู้ที่ใช้ห่วงคุมกำเนิด IUD ชนิดทองแดงที่ไม่ได้ประกอบด้วยฮอร์โมน และอีกการศึกษาหนึ่งพบว่าผู้ใช้ประมาณ 1 ใน 10 คนจะมีแรงขับเคลื่อนทางเพศลดลง ระหว่างช่วงที่ 6 เดือนแรกที่ใช้ และมี 2 จาก 15 คนที่หยุดใช้แล้วแต่พบว่ามีแรงขับทางเพศลดลง
    ประโยชน์หนึ่งจากการใช้ยาฉีดคุมกำเนิด คือการทำให้การมีเพศสัมพันธุ์สนุกขึ้น เพราะไม่ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หากอยู่ในช่วง 8-12 สัปดาห์หลังฉีด
  5. การฝังยาคุมกำเนิด
    การคุมกำเนิดแบบฝัง เป็นการใช้อุปกรณ์ที่ประกอบด้วย Progestin เท่านั้น โดยจะทำการฝังบนต้นแขน เพื่อไปกดกระบวนการตกไข่และทำให้เมือกในปากมดลูกข้นขึ้น การฝังนี้จะคงอยู่นานสุด 3 ปี แต่ก็สามารถนำออกจากร่างกายก่อนก็ได้ตามต้องการ
    การฝังยาคุมกำเนิดอาจช่วยเพิ่มความสนุกของการมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องมากังวลกับเรื่องของการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ โดยการฝังยาคุมเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพมากสุด คือเพียง 1 จาก 2,000 คนที่ตั้งครรภ์หลังการฝัง 1 ปี จากการศึกษาหนึ่งรายงานว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจทางเพศเพิ่มขึ้นหลังผ่านการฝังคุมกำเนิดไป 3 และ 6 เดือน
  6. การใช้ห่วงอนามัย หรือห่วงคุมกำเนิด (IUD)
    ห่วงอนามัยมีอยู่สองประเภท คือประเภทฮอร์โมน กับประเภททองแดง โดยห่วงอนามัยชนิดฮอร์โมนจะปล่อย Progestin ออกมาทำให้เมือกในปากมดลูกข้น และในบางกรณีก็ช่วยกดการตกไข่ไว้ ส่วนห่วงอนามัยชนิดทองแดงจะเข้าไปรบกวนการทำงานของอสุจิไม่ให้เกิดการปฏิสนธิได้
    อุปกรณ์ทั้งสองประเภทจะถูกสอดอยู่ในมดลูก และสามารถคงอยู่ภายในนั้นได้นาน 3-10 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของอุปกรณ์ ซึ่งผู้ใช้สามารถทำการถอดได้ทุกเวลาเมื่อต้องการจะตั้งครรภ์ หรือไม่ต้องการใช้อีกแล้ว โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้ห่วงคุมกำเนิดทั้งสองชนิดได้รายงานว่า การคุมกำเนิดประเภทนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบหรือเพิ่มความพึงพอใจทางเพศมากขึ้น จากการศึกษาหนึ่งพบว่าผู้ที่ใช้ห่วงอนามัย ทั้งสองประเภท 9 ใน 10 คนไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงในเรื่องแรงขับทางเพศ
    การใช้ห่วงอนามัย เป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพมากสุด จากการเก็บข้อมูลพบว่า ผู้ใช้ชนิดฮอร์โมนที่ตั้งครรภ์ภายหลังการสอด 1 ปี มีเพียง 1 จาก 500 คน และมีผู้ใช้ชนดทองแดงที่ตั้งครรภ์ภายหลังการสอด 1 ปี มีเพียง 4 จาก 500 คน แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้ IUD ชนิดฮอร์โมน อาจมีอาการผิดปกติในช่วงแรกได้

ควรทำอย่างไร เมื่อการคุมกำเนิดที่เลือกใช้ อาจส่งผลกระทบต่อชีวิต

การเลือกวิธีคุมกำเนิด ไม่ได้เป็นตัวเลือกเดียวที่ส่งผลไปตลอดชีวิต แม้ว่าจะตัดสินใจฝังยาคุมกำเนิดหรือใช้ IUD ไปแล้ว แต่ก็สามารถเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ได้ทุกเมื่อ แม้จะไม่ถึงวันหมดอายุก็ตาม

ที่มาของข้อมูล

Maegan Boutot, Birth control and sex drive (https://helloclue.com/articles/sex/birth-control-and-sex-drive), 25 มกราคม 2019


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฉีดยาคุมกำเนิด ป้องกันได้นานกี่เดือน ไม่ฉีดแล้วจะกลับมาท้องทันทีหรือไม่? (https://hdmall.co.th/c/injectable-contraceptive).
ใส่ห่วงคุมกำเนิด คืออะไร อ้วนไหม เช็กได้ที่นี่ (https://hdmall.co.th/c/itrauterine-device).
How Does Your Choice of Birth Control Affect Sexual Desire?. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=226902)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)