Invisalign
ชื่อผู้สนับสนุน
Invisalign

5 ข้อเปรียบเทียบ จัดฟันลวด Vs จัดฟันใส

เผยความแตกต่างระหว่างการจัดฟันใสกับจัดฟันลวด อุปกรณ์ที่ใช้ ระยะเวลาจัดฟัน และเทียบข้อดี-ข้อเสีย
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2021 อัปเดตล่าสุด 5 ก.พ. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
5 ข้อเปรียบเทียบ จัดฟันลวด Vs จัดฟันใส

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ปัจจุบันการจัดฟันลวดและจัดฟันใส สามารถแก้ปัญหาฟันได้หลายแบบ รวมถึงเคสที่ซับซ้อน โดยเฉพาะเทคโนโลยีจัดฟันใส Invisalign
  • การจัดฟันใสใช้แรงกระทำต่อฟันมากกว่า ทำให้เจ็บกว่า และอาจเกิดอุบัติเหตุอุปกรณ์แตกหักหรือลวดบาดเนื้อเยื่อบอบบางในปากได้
  • อุปกรณ์จัดฟันใสสามารถถอดออกมาล้างได้ รักษาความสะอาดช่องปากได้สะดวกกว่าจัดฟันลวด
  • ในแง่ราคา โดยรวมแล้วจัดฟันลวดมักประหยัดกว่า แต่ความจริงอุปกรณ์จัดฟันใสมีแยกย่อยอีกหลายรุ่น ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 69,000 บาท
  • ทำแบบประเมินเบื้องต้นเพื่อนัดหมายขอคำปรึกษากับทันตแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมจาก Invisalign ฟรี! ที่นี่

การจัดฟัน แบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ ได้แก่ การจัดฟันด้วยอุปกรณ์แบบติดแน่น กับการจัดฟันด้วยอุปกรณ์แบบถอดได้ ซึ่งหลายคนมักคุ้นเคยในชื่อว่า “จัดฟันลวด” กับ “จัดฟันใส” การเลือกว่าจะจัดฟันแบบไหน นอกจากตามความต้องการของผู้ที่จะจัดฟันแล้ว ยังขึ้นอยู่กับลักษณะหรือสภาพฟันด้วย

การจัดฟันลวด เป็นการจัดฟันโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าแบร็กเกต (Brackets) ติดไว้ที่หน้าฟัน แล้วมีเส้นลวดขึงทับแบร็กเกตแต่ละอัน แบร็กเกตบางยี่ห้อออกแบบมาให้ยึดติดกับลวด (Archwire) ได้เลย แต่บางยี่ห้อก็ต้องใช้ยาง (Elastic ties หรือ O-ring) เป็นตัวยึด ลวดที่ยึดติดกับแบร็กเก็ตรวมถึงยางรัดฟันจะสร้างแรงดึงให้ฟันค่อยๆ เคลื่อนมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

ส่วนการจัดฟันใส จะเป็นการใช้อุปกรณ์จัดฟันที่ทำจากพลาสติก (Clear plastic) หรือ อะคริลิก (Acrylic) ลักษณะบางๆ สามารถใส่-ถอดได้เอง ครอบลงบนแนวฟันของผู้รับบริการ อุปกรณ์จัดฟันที่ว่านี้พิมพ์ออกมาจากห้องปฎิบัติการให้พอดีกับฟันของแต่ละคน การจัดฟันทั้งคอร์สใช้อุปกรณ์หลายชุด ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีแรงดันซี่ฟันไปสู่ตำแหน่งที่เหมาะสมทีละนิด

บทความนี้จะให้ข้อมูลเปรียบเทียบ 5 ข้อแตกต่างระหว่างการจัดฟันลวดกับจัดฟันใส ได้แก่ ระยะเวลาที่ต้องใช้ กว่าการจัดฟันจะสำเร็จ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจแก่ใครที่ยังลังเลว่าควรเลือกแบบไหนดี

5 ข้อแตกต่างระหว่างการจัดฟันลวดกับจัดฟันใส

1. ความตอบโจทย์กับปัญหาฟันแต่ละแบบ

การจัดฟันลวด สามารถแก้ปัญหาฟันได้ทุกแบบ ส่วนการจัดฟันใสบางยี่ห้อสามารถแก้ได้เพียงปัญหาฟันที่ไม่ซับซ้อนเท่านั้น แต่จะมีการจัดฟันใสแบรนด์ Invisalign ซึ่งเป็นแบรนด์จากอเมริกา และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถแก้ฟันซ้อน เก เหยิน ปัญหาฟันที่ซับซ้อนได้เกือบทุกชนิด รวมถึงสามารถใช้แก้ปัญหาฟันได้ตั้งแต่ในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่

2. ความเจ็บ ผลข้างเคียง

การจัดฟัน คือการใส่แรงกระทำเข้าที่ซี่ฟัน ให้ค่อยๆ เคลื่อนเปลี่ยนตำแหน่ง ดังนั้นจึงทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บ ตึง ไม่สบายปากเป็นเรื่องปกติ

แต่หากต้องการทราบว่าความเจ็บระหว่างจัดฟันลวด กับ จัดฟันใส เปรียบเทียบกันแล้วแบบไหนเจ็บกว่า ย่อมเป็นจัดฟันลวด ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

  • ลักษณะอุปกรณ์ จัดฟันลวดใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะแข็ง บางชิ้นส่วนมีความคม ทำให้บาดเนื้อเยื่อที่บอบบางในปากได้ นอกจากนี้อาจเกิดอุบัติเหตุจากลวดแตกหักได้อีกด้วยส่วนอุปกรณ์จัดฟันใสเป็นพลาสติกบาง จึงมักไม่ทำอันตรายใดกับช่องปาก
  • ความถี่ของการเปลี่ยนอุปกรณ์ อย่างที่กล่าวไปในหัวข้อที่แล้วว่า สำหรับการจัดฟันลวด ทันตแพทย์จะปรับอุปกรณ์โดยดึงลวดให้ตึงขึ้นทุกๆ 1 เดือนหรือมากกว่า ส่วนอุปกรณ์จัดฟันใสนั้นจะเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ทุก 1-2 สัปดาห์ ความถี่ที่น้อยกว่าของการจัดฟันลวด หมายถึงแรงกระทำต่อฟันครั้งหนึ่งก็จะมากกว่าจัดฟันใส เป็นสาเหตุว่าวันแรกๆ ของการปรับอุปกรณ์จัดฟันลวดแต่ละครั้ง ผู้รับการจัดฟันมักจะรู้สึกไม่สบายปาก หรือมีอาการเหงือกอักเสบเล็กน้อยอยู่ช่วงหนึ่ง

ส่วนผลข้างเคียงจากการจัดฟันนั้น หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนคือ ปัญหาเหงือกร่น เหงือกอักเสบ ก็สัมพันธ์กับการจัดฟันได้ด้วย

โดยเฉพาะการจัดฟันลวดที่ใช้แรงกระทำมากกว่าอย่างที่บอกไป ประกอบกับตัวอุปกรณ์ที่ติดตั้งในช่องปากทำให้เกิดซอกเป็นที่สะสมคราบแบคทีเรีย อาการเหงือกร่น เหงือกอักเสบ จึงเกิดขึ้นได้

ในขณะที่อุปกรณ์จัดฟันใสนั้นถอดออกได้ ทำให้ทำความสะอาดได้ง่ายกว่า ลดการสะสมของคราบแบคทีเรียได้ดี โอกาสเกิดเหงือกร่นระหว่างจัดฟันใสจึงน้อยกว่าการจัดฟันลวด

3. ระยะเวลาการจัดฟัน

ระยะเวลาจัดฟัน ของจัดฟันลวด กับ จัดฟันใส ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สภาพฟัน ว่าซ้อน เหยิน เก มากแค่ไหน มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกขากรรไกรร่วมด้วยหรือเปล่า อายุของผู้ที่จะจัดฟัน ไปจนถึงโรคและอาการอื่นๆ เกี่ยวกับช่องปาก รวมทั้งความต้องการของแต่ละคน

โดยปกติ ยิ่งตำแหน่งที่ต้องเคลื่อนฟันมีมาก หรือซับซ้อนมากเท่าไร ก็จะยิ่งใช้เวลานานในการจัดฟันมากขึ้น ดังนั้นผู้ที่จะให้คำตอบเรื่องระยะเวลาจัดฟันได้ชัดเจน จึงเป็นทันตแพทย์ผู้ทำการจัดฟันที่ได้ประเมินช่องปากของคุณจริงๆ

อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่สามารถบอกระยะเวลาที่แน่นอนในการจัดฟันได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วการจัดฟันลวดมักใช้เวลาประมาณ 1-3 ปี ส่วนการจัดฟันใสใช้เวลาประมาณ 10-24 เดือน หรือในกรณีเคยจัดฟันมาก่อนแล้วฟันเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมเพียงเล็กน้อย อาจเลือกชุดอุปกรณ์จัดฟันใสระยะสั้นได้ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 10 สัปดาห์เท่านั้น

4. การดูแลรักษาความสะอาด

แม้ว่าหลักๆ แล้วการรักษาความสะอาดจะอยู่ที่นิสัยส่วนบุคคล แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุปกรณ์จัดฟันลวดก็เป็นอุปสรรคต่อการทำความสะอาดฟันไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมีซอกมุมให้ต้องทำความสะอาดมากกว่า เศษอาหารติดได้ง่ายกว่า ใช้ไหมขัดฟันยากกว่า

ส่วนจัดฟันใสนั้นสามารถถอดออกได้ จึงทำความสะอาดได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะจัดฟันแบบใด ควรทำความสะอาดฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และอาจใข้น้ำยาบ้วนปากร่วมด้วยเพื่อลดการสะสมของคราบแบคทีเรียได้ดีขึ้น

5. ราคา

หลายคนคิดว่า จัดฟันลวดราคาถูกกว่าจัดฟันใส แต่ไม่เสมอไป ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของเคสจัดฟันแต่ละเคส วัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์จัดฟัน รวมถึงยี่ห้ออุปกรณ์ด้วย

ราคาจัดฟันลวดแบบธรรมดาทั้งคอร์สมักอยู่ที่หลักหมื่น ประมาณ 35,000-75,000 บาท จัดฟันลวดแบบใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น อุปกรณ์สีเหมือนฟัน ชุดอุปกรณ์ไร้ยาง ให้ฟันเคลื่อนตัวเร็วขึ้น จะแพงขึ้นมาอีกหน่อย อยู่ที่ประมาณ 90,000 บาท

ส่วนราคาจัดฟันใส Invisalign Go ที่จัดเฉพาะฟันหน้า ราคาเริ่มต้นประมาณ 69,000 บาท ส่วน Invisalign นั้นเริ่มต้นอยู่ที่ 79,000 บาท ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของสภาพฟัน ทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินความเหมาะสมให้

สามารถทำแบบประเมินเบื้องต้นฟรี เพื่อนัดหมายขอคำปรึกษากับทันตแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมจาก Invisalign ที่นี่

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเลือกการจัดฟันประเภทไหน สิ่งสำคัญที่สุดคือการดูแลรักษาความสะอาด หมั่นใช้ไหมขัดฟัน แปรงฟันอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยให้ทุกการจัดฟันเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมากขึ้น และไม่ต้องยืดเวลาการจัดฟันออกไปอีกนานๆ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Kristeen Cherney, Receding Gums, (https://www.healthline.com/health/dental-oral-health-receding-gums), 17 September 2018.
Corey Whelan, How to Treat Swollen Gums with Braces (https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/swollen-gums-with-braces), 1 June 2020.
Blodgett dental care, Can Braces Cause Gum Recession?, (https://www.blodgettdentalcare.com/can-braces-cause-gum-recession/).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)