Nutrilite
ชื่อผู้สนับสนุน
Nutrilite

คอลลาเจน สารสำคัญในผิวที่ร่างกายผลิตน้อยลงเมื่ออายุ 25 ขึ้นไป

รู้จักคอลลาเจน ประโยชน์ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คอลลาเจนเสื่อมไวกว่าเดิม และอาหารที่ควรรับประทานเพื่อเสริมคอลลาเจน ให้ผิวคงความยืดหยุ่น
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มี.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 4 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
คอลลาเจน สารสำคัญในผิวที่ร่างกายผลิตน้อยลงเมื่ออายุ 25 ขึ้นไป

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คอลลาเจน เป็นโปรตีนที่มีมากที่สุดในร่างกาย คิดเป็น 1 ใน 3 ของโปรตีนทั้งหมด
  • ร่างกายคนเราผลิตคอลลาเจนได้เอง พอถึงอายุ 25 ปีจะผลิตน้อยลง ทำให้ผิวไม่ค่อยเต่งตึง เริ่มปวดตามข้อ
  • สามารถเสริมคอลลาเจนได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีวิตามินซี โพรลีน ไกลซีน ทองแดง
  • อีกทางเลือกคือเสริมคอลลาเจนด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Collagen Complex

คุณอาจเคยสังเกตว่า คนอายุน้อยๆ มักมีผิวพรรณอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น เปล่งปลั่ง แต่เมื่อเลยวัยรุ่นไปแล้ว ผิวก็มักดูหมองลง หยาบขึ้น เกิดริ้วรอยง่ายขึ้น แต่ความเสื่อมที่ว่านี้ในแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ตัวแปรหนึ่งที่ทำให้ผิวหนังเกิดความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ก็คือ “คอลลาเจน”

คอลลาเจนคืออะไร ส่งผลต่ออวัยวะอะไรในร่างกายบ้าง จะกินอะไร ปรับพฤติกรรมอย่างไรดี ถึงจะเพิ่มคอลลาเจนได้ หาคำตอบได้ในบทความนี้

คอลลาเจนคืออะไร?

คอลลาเจน (Collagen) เป็นโปรตีนที่มีมากที่สุดในร่างกาย โดยคิดเป็น 1 ใน 3 ของโปรตีนทั้งหมด เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของผิวหนัง ผม เล็บ กระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น นอกจากนี้ยังพบคอลลาเจนได้ในส่วนอื่นๆ เช่น หลอดเลือด กระจกตา และฟัน

คำว่า Collagen มาจากคำภาษากรีกว่า "kólla" ซึ่งแปลว่า “กาว” ดังนั้น แสดงถึงคุณสมบัติในการยึดเกาะสิ่งต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันนั่นเอง

ตามปกติ ร่างกายคนเราสามารถผลิตคอลลาเจนได้เอง แต่เมื่ออายุ 25 ปีขึ้นไป ร่างกายจะผลิตคอลลาเจนลดลง และเส้นใยคอลลาเจนจะอ่อนแอ ไม่แข็งแรงดังเดิม สัญญาณที่สังเกตเห็นได้เอง ได้แก่

  • ความเต่งตึง ยืดหยุ่น นุ่มเนียน ของผิว ลดน้อยลง
  • มีอาการปวดตามข้อต่อ เพราะกระดูกอ่อนซึ่งมีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบอ่อนแอลงตามอายุ

คอลลาเจนมีกี่ชนิด?

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าคอลลาเจนมีหลายชนิด แตกต่างกันไปตามหน้าที่ คอลลาเจนที่สำคัญและควรรู้จักมี 3 ชนิด ได้แก่ Collagen Type I, II, และ III แต่ละชนิดพบอยู่คนละส่วนของร่างกาย ดังนี้

  • คอลลาเจนชนิดที่ 1 (Collagen type I) เป็นชนิดที่มีมากที่สุดในร่างกาย พบที่ผิวหนัง กระดูก
  • คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen type II) ทำจากเส้นใยที่หลวมกว่า และพบได้ในกระดูกอ่อนตามข้อต่อ
  • คอลลาเจนชนิดที่ 3 (Collagen type III) พบได้ในผิวหนัง กล้ามเนื้อ อวัยวะภายใน และหลอดเลือดแดง

4 พฤติกรรมทำลายคอลลาเจน

คอลลาเจนจะถูกผลิตลงน้อยลงเรื่อยๆ ตามธรรมชาติอยู่แล้ว เมื่อเราอายุเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ พฤติกรรมบางอย่างก็เราเองก็สามารถเร่งการทำลายคอลลาเจนได้เช่นกัน ได้แก่

  1. รับประทานน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีมากเกินไป เนื่องจากน้ำตาลขัดขวางความสามารถของคอลลาเจนในการซ่อมแซมตัวเอง
  2. เผชิญแสงแดดมากเกินไป โดยเฉพาะแสงแดดช่วง 10.00-14.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่รังสีอัลตราไวโอเลตรุนแรง รังสีนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำลายและลดการสร้างคอลลาเจน
  3. สูบบุหรี่ พฤติกรรมนี้ทำให้การสร้างคอลลาเจนลดลง แผลหายช้าลง และทำให้เกิดริ้วรอย
  4. เครียด ความเครียดก็สามารถทำลายคอลลาเจนได้

คอลลาเจน เสริมได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหาร

การเสริมคอลลาเจนมีความเกี่ยวข้องกับประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ ทั้งการช่วยปรับปรุงสุขภาพผิวโดยการเพิ่มความยืดหยุ่น ลดริ้วรอย และความแห้งกร้าน นอกจากนี้ยังอาจช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกและบรรเทาอาการปวดข้อ

เราสามารถช่วยให้ร่างกายผลิตโปรตีนที่สำคัญนี้มากขึ้น โดยการรับประทานสารอาหารดังต่อไปนี้

  • วิตามินซี พบมากในผลไม้รสเปรี้ยว พริกหวาน และสตรอว์เบอร์รี
  • โพรลีน พบมากในไข่ขาว จมูกข้าวสาลี ผลิตภัณฑ์จากนม กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง และเห็ด
  • ไกลซีน พบมากในหนังหมู หนังไก่ และเจลาติน หรืออาหารที่มีโปรตีนสูงต่างๆ
  • ทองแดง พบมากในเนื้อสัตว์ เมล็ดงา ผงโกโก้ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และถั่วเลนทิล

นอกจากนี้ ร่างกายของเรายังต้องการโปรตีนคุณภาพสูงที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นในการสร้างโปรตีนใหม่ เช่น โปรตีนจากพืช

ผลิตภัณฑ์เสริมคอลลาเจน อีกทางเลือกสำหรับวัยสูญเสียคอลลาเจน

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ร่างกายจะผลิตคอลลาเจนน้อยลงตามธรรมชาติ เมื่อคนเราอายุ 25 ปีขึ้นไป และสำหรับบางคน ด้วยลักษณะการดำเนินชีวิตอาจไม่สะดวกถ้าจะต้องปรับพฤติกรรมอย่างหลบเลี่ยงแสงแดด ลดน้ำตาล แป้งขัดสี ฯลฯ เพื่อชลอความเสื่อมของคอลลาเจน

การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมคอลลาเจนจึงเข้ามาเป็นอีกทางเลือก เพื่อให้ยังดำเนินชีวิตได้อย่างที่คุ้นเคย และยังได้สารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจน ที่มีคอลลาเจน คอมเพล็กซ์ ประกอบด้วยคอลลาเจนเปปไทด์จากปลาทะเล เปปไทด์จากถั่วเหลือง และสารสกัดจากดอกเก๊กฮวยขาว มีคุณสมบัติที่ส่งเสริมการทำงานของกันและกันในการเพิ่มการสร้างคอลลาเจนในร่างกาย ดังนี้

  • คอลลาเจนเปปไทด์จากปลาทะเล มีกรดอะมิโน ไกลซีน โพรลีน และไฮดรอกซีโพรลีน ที่สามารถดูดซึมนำไปสร้างเป็นคอลลาเจนภายในร่างกายได้ดี และยังมีคุณสมบัติเพิ่มการสร้างกรดไฮยาลูรอนิกที่ช่วยเก็บกักความชุ่มชื้นในผิว
  • เปปไทด์จากถั่วเหลือง มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ยอดเยี่ยมโดยธรรมชาติ และยังมีงานวิจัยพบว่าเปปไทด์จากถั่วเหลืองมีส่วนช่วยเพิ่มการสร้างคอลลาเจนชนิดที่ 1 ซึ่งพบมากที่ผิวหนัง
  • สารสกัดจากดอกเก๊กฮวยขาว เป็นสมุนไพรจีนที่มีการใช้เพื่อบำรุงสุขภาพกันมาอย่างยาวนาน ทั้งการใช้บำรุงตับ สายตา และผิวพรรณ เนื่องจากฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของดอกเก๊กฮวยขาวที่สูงมาก และเมื่อนำมาใช้ร่วมกับคอลลาเจนเปปไทด์ ก็ยังให้ผลในการลดการสร้างเม็ดสีผิวอีกด้วย

คอลลาเจนจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกย่อยออกมาเป็นกรดอะมิโนชนิดเฉพาะเจาะจง (Hydroxyproline) ซึ่งร่างกายนำไปสร้างเป็นคอลลาเจนทั่วร่างกาย รวมถึงผิวหนังด้วย

งานศึกษาความสัมพันธ์ของคอลลาเจนกับสุขภาพผิว

มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจนที่น่าสนใจ การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าการเสริมคอลลาเจนอาจช่วยดูแลสุขภาพของผิวหนัง การทำงานของกล้ามเนื้อ และลดความเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเข่าเสื่อมได้

ตัวอย่างข้อสรุปจากงานศึกษาวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ของคอลลาเจนกับสุขภาพผิว ได้แก่

  • งานวิจัยโดยแอมเวย์ประเทศจีน ให้ผู้หญิง 62 คนที่มีปัญหาฝ้าบริเวณใบหน้า รับประทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยคอลลาเจนเปปไทด์ เปปไทด์จากถั่วเหลือง และสารสกัดจากดอกเก๊กฮวย 10 กรัมทุกวัน เป็นเวลา 60 วัน พบว่ารอยดำที่ฝ้าจางลง เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทานผลิตภัณฑ์
  • การศึกษาหนึ่ง ผู้หญิงที่รับประทานคอลลาเจน 2.5–5 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าผิวแห้งน้อยลง และความยืดหยุ่นของผิวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทานคอลลาเจน
  • การศึกษาอื่น ผู้หญิงที่ดื่มเครื่องดื่มผสมกับคอลลาเจนทุกวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าผิวมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้นและความลึกของริ้วรอยลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
  • ผลการลดริ้วรอยของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจนเป็นผลมาจากความสามารถในการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตคอลลาเจนด้วยตัวเอง นอกจากนี้ การเสริมคอลลาเจนอาจส่งเสริมการผลิตโปรตีนอื่นๆ ที่ช่วยเสริมโครงสร้างผิวรวมทั้งอีลาสตินและไฟบริลลิน

โดยรวมแล้ว พบว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีคอลลาเจนอาจช่วยชะลอความแก่ของผิวได้ส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนยิ่งขึ้นจากการศึกษา เพื่อตรวจสอบผลของคอลลาเจนในตัวผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเอง

ความเสื่อมของร่างกายตามวัยเป็นเรื่องปกติ ธรรมชาติ แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณควรปล่อยตัวให้ร่วงโรยไปอย่างรวดเร็ว เพราะอายุขัยของคนปัจจุบันยิ่งจะยืนยาวขึ้น รักษาสุขภาพให้แข็งแรงไว้ ช่วยเหลือตัวเองได้ เป็นสิ่งที่ดีที่สุด

นอกจากเสริมคอลลาเจนทดแทนตามในบทความแนะนำแล้ว อย่าลืมรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รักษาความสะอาด หมั่นสังเกตภาวะสุขภาพของตนเอง พักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงฝึกจัดการความเครียด เพื่อให้ร่างกายและจิตใจดีไปพร้อมกัน

สนับสนุนข้อมูลโดย สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์

#นิวทริไลท์ #คอลลาเจนคอมเพล็กซ์

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://bit.ly/2ZmaVZQ


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hexsel D, Zague V, Schunck M, Siega C, Camozzato FO, Oesser S. Oral supplementation with specific bioactive collagen peptides improves nail growth and reduces symptoms of brittle nails. J Cosmet Dermatol. 2017 Dec;16(4):520-526. doi: 10.1111/jocd.12393. Epub 2017 Aug 8. PMID: 28786550.
Tomosugi, Naohisa et al. “Effect of Collagen Tripeptide on Atherosclerosis in Healthy Humans.” Journal of atherosclerosis and thrombosis vol. 24,5 (2017): 530-538. doi:10.5551/jat.36293
Lodish H, Berk A, Zipursky SL, et al. Molecular Cell Biology. 4th edition. New York: W. H. Freeman; 2000. Section 22.3, Collagen: The Fibrous Proteins of the Matrix. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK21582/

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)