วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ตรวจโรคมะเร็งสำหรับผู้หญิง ควรตรวจอะไรบ้าง

รวม 5 โรคมะเร็งที่ผู้หญิงเสี่ยงเป็น และรายละเอียดการตรวจโรคมะเร็งที่ควรตรวจ
เผยแพร่ครั้งแรก 5 พ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ตรวจโรคมะเร็งสำหรับผู้หญิง ควรตรวจอะไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ทั้งเพศหญิงและเพศชายต่างเป็นเพศที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้ทั้งนั้น โดยโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของผู้หญิงคือ โรคมะเร็งเต้านม
  • โรคมะเร็งอันดับสองของผู้หญิงคือ โรคมะเร็งปากมดลูก พบมากในผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้หญิงที่มีบุตรตั้งแต่อายุยังน้อย มีคู่นอนหลายคน และติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งปอด และโรคมะเร็งรังไข่ เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในเพศหญิงรองลงมาจากโรคมะเร็งเต้านม
  • รายการตรวจมะเร็งในผู้หญิงที่ควรมี ได้แก่ ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง ตรวจแปบสเมียร์หาความเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูก ตรวจหาสารบ่งชี้โรคมะเร็งรังไข่
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง

ร่างกายคนเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพศหญิง หรือเพศชายก็ย่อมมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งทั้งนั้น หากมีปัจจัยเสี่ยงมากระตุ้นให้เซลล์เนื้อเยื่อในร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดการกลายพันธุ์ 

โรคมะเร็งจัดเป็นโรคร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หากไม่สามารถตรวจพบโรคในระยะต้นๆ ที่โรคยังไม่ลุกลามไปถึงอวัยวะส่วนอื่นๆ และมีอาการแทรกซ้อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นทั้งผู้หญิงและผู้ชายทุกคนที่มีความเสี่ยง เช่น ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อาจมีสารก่อมะเร็ง สารเคมี มลพิษ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นเวลานานๆ ใช้สารเสพติด 

หรือเป็นผู้ที่มีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพ เช่น มีเนื้องอก มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับฮอร์โมน มีคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งมาก่อน จึงควรได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อหาความเสี่ยงของโรคมะเร็งเหล่านี้ตามช่วงอายุที่แนะนำ หรือตรวจตามคำแนะนำของแพทย์ 

ตามสถิติ พ.ศ. 2562 จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ชนิดของโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ชาย จะได้แก่ โรคมะเร็งในช่องปาก โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงมีอะไรบ้าง?

1. โรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer) พบมากเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย และผู้หญิงทั่วโลก เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์เนื้อเยื่อในเต้านม ต่อมน้ำนม หรือท่อน้ำนม

โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักๆ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมนั้นมาจากอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะในผู้หญิงอายุ 50-60 ปีขึ้นไป การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การมีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อยกว่า 12 ปี การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน การมีบุตรยาก หรือเป็นหมัน

ผู้หญิงที่เคยรับประทานยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง เคยรับการรักษาโรคแบบรังสีรักษา มีผู้ใกล้ชิดทางสายเลือดที่เคยมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ ก็ถือเป็นกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงทั่วไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ระยะของโรคมะเร็งเต้านมแบ่งออกได้ 4 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งยังอยู่ในขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร ยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
  • ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งอาจเติบโตขึ้นถึงประมาณ 5 เซนติเมตร และเริ่มลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกันแล้ว
  • ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และส่วนที่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกันเริ่มมีขนาดใหญ่จนไปเบียดอวัยวะใกล้เคียง
  • ระยะที่ 4 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เริ่มแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป เช่น สมอง ปอด ตับ หรือเข้าไปถึงข้างในกระดูก

2. โรคมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับ 2 ในหญิงไทยรองจากโรคมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะในผู้หญิงช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไป ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ได้แก่

  • พันธุกรรม โดยมีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งมาก่อน
  • การมีบุตรตั้งแต่อายุยังน้อย และมีบุตรหลายคน
  • มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • การมีคู่นอนหลายคน
  • การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน (Gonorrhea) โรคเริม (Herpes) โรคซิฟิลิส (Syphilis)
  • มีพฤติกรรมติดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
  • การรับประทานยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง

จากปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ทำให้เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ภายในปากมดลูก และลุกลามกลายเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกนั่นเอง

ระยะของโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถแบ่งออกได้ 4 ระยะ คือ

  • ระยะที่ 1 เชื้อมะเร็งยังอยู่ในปากมดลูกเท่านั้น
  • ระยะที่ 2 เชื้อมะเร็งเริ่มลุกลามเข้าไปในช่องคลอด เนื้อเยื่อข้างปากมดลูก รวมถึงผนังช่องคลอดส่วนบน
  • ระยะที่ 3 เชื้อมะเร็งเริ่มลุกลามไปที่เชิงกราน และผนังช่องคลอดส่วนล่าง รวมถึงอาจลุกลามไปที่ท่อไตจนเกิดการอุดตัน และทำให้เกิดอาการบวมน้ำ
  • ระยะที่ 4 เชื้อมะเร็งเริ่มลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง และอวัยวะอื่นๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ตับ ปอด รวมถึงกระดูก

3. โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal cancer) เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 50-70 ปี โดยอาจเกิดในผู้ชายได้มากกว่า แต่พบก็ได้ในผู้หญิงเช่นกัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยหลักๆ คือ อาการท้องผูกเป็นประจำ การรับประทานเนื้อสัตว์มาก แต่รับประทานผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูงน้อย ไม่ออกกำลังกาย ไม่ควบคุมน้ำหนัก บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่เป็นประจำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สำหรับผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งมาก่อน ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากกว่าคนปกติเช่นกัน

ระยะของโรคมะเร็งลำไส้แบ่งออกได้ 4 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 เชื้อมะเร็งยังอยู่ในเยื่อบุลำไส้
  • ระยะที่ 2 เชื้อมะเร็งลุกลามเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อของผนังลำไส้ และอาจรวมถึงเนื้อเยื่อบุช่องท้องด้วย
  • ระยะที่ 3 เชื้อมะเร็งลุกลามเข้าไปในต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ข้างเคียง 3-4 ต่อมขึ้นไป รวมถึงเนื้อเยื่อลำไส้ส่วนปลาย เนื้อเยื่อรอบๆ ลำไส้ และเนื้อเยื่อชั้นกลางของผนังลำไส้
  • ระยะที่ 4 เชื้อมะเร็งลุกลามเข้าไปในกระแสเลือด และแพร่กระจายไปยังอวัยวะที่ไกลออกไปอย่างตับ และปอด

4. โรคมะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอด (Lung Cancer) มีปัจจัยเสี่ยงหลักๆ มาจากการสูบบุหรี่ การรับสารพิษอื่นๆ เข้าร่างกายอย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานาน เช่น ถ่านหิน ไอระเหยนิกเกิล สารหนู ก๊าซเรดอน สารโครเมียม

นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอย่างโรคปอดอักเสบ โรคถุงลมโป่งพอง วัณโรค ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติทั่วไป

โรคมะเร็งปอดแบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่ 

  • โรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small cell lung cancer) เป็นโรคมะเร็งปอดที่รุนแรง และสามารถลุกลามออกนอกเนื้อปอดได้ เนื่องจากมีการแพร่กระจายทางระบบเลือดได้สูง
  • โรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (Non-small cell lung cancer) เป็นมะเร็งชนิดที่มีลักษณะการดำเนินโรคเป็นแบบไม่รุนแรง มักจะอยู่เฉพาะบริเวณ 

โรคมะเร็งปอดแบ่งออกได้ 4 ระยะ 

  • ระยะที่ 1 เชื้อมะเร็งจะยังเติบโตอยู่ในปอด 
  • ระยะที่ 2 เชื้อมะเร็งจะเริ่มกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณขั้วปอด 
  • ระยะที่ 3-4 เชื้อมะเร็งจะเริ่มเติบโตลุกลามออกไปยังอวัยวะข้างเคียง รวมถึงอวัยวะสำคัญอื่นๆ ที่ไกลออกไป เช่น กระบังลม เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หัวใจ ตับ

5. โรคมะเร็งรังไข่

โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer) เกิดจากการเติบโตผิดปกติของเซลล์ในรังไข่ โดยรังไข่เป็นอวัยวะที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ และผลิตฮอร์โมนซึ่งจำเป็นต่อเพศหญิงนั่นคือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งรังไข่ หลักๆ คือ พันธุกรรม อายุที่มากขึ้น การไม่มีบุตร หรือมีบุตรยาก การตกไข่อย่างต่อเนื่องทุกเดือน เคยมีประวัติเป็นโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ มาก่อน เช่น โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งรังไข่สามารถแบ่งระยะออกได้ 4 ระยะ คือ

  • ระยะที่ 1 เชื้อมะเร็งยังอยู่ในรังไข่ข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น
  • ระยะที่ 2 เชื้อมะเร็งลุกลามไปยังรังไข่อีกข้าง และยังอาจแพร่กระจายไปที่ปีกมดลูก มดลูก ท่อนำไข่ อวัยวะอื่นๆ ในอุ้งเชิงกราน
  • ระยะที่ 3 เชื้อมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น และเริ่มลุกลามออกไปที่เยื่อบุช่องท้อง หรือท้องด้วย
  • ระยะที่ 4 เชื้อมะเร็งลุกลามออกไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ต่อมน้ำเหลือง หัวใจ ปอด ตับ

นอกจากโรคมะเร็งทั้ง 5 ชนิดที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ที่ผู้หญิงทุกคนยังมีความเสี่ยงอีก เช่น มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งในช่องปาก มะเร็งตับอ่อน

ดังนั้นผู้หญิงทุกคนที่มีความเสี่ยงและมีข้อบ่งชี้ทางสุขภาพจึงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตามช่วงวัยที่แนะนำ ซึ่งในปัจจุบันหลายๆ โรงพยาบาลก็มีแพ็กเกจตรวจโรคมะเร็งสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ 

รายการตรวจโรคมะเร็งสำหรับผู้หญิง

  • ตรวจดัชนีมวลกาย
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
  • ตรวจระดับไขมันในเลือด
  • ตรวจการทำงานของหัวใจ
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ตรวจเอ็กซเรย์ปอด
  • ตรวจปัสสาวะ
  • ตรวจการทำงานของตับ
  • ตรวจการทำงานของไต
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม (Mammogram)
  • ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
  • ตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง
  • ตรวจคัดกรองหามะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปปสเมียร์ (Pap Smear) และยังมีวิธีตรวจคัดกรองอื่นๆ อีก เช่น การตรวจตินแพร็พ (Thin Prep Pap Test) การตรวจหาเชื้อ HPV
  • ตรวจคัดกรองหาเชื้อ HPV ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่กระตุ้นทำให้เกิดโรคมะเร็งในระบบสืบพันธ์ได้ เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก
  • ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่
  • ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ใหญ่
  • ตรวจความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

จากข้อมูลรายการตรวจโรคมะเร็งสำหรับผู้หญิงที่กล่าวไปข้างต้น นอกจากคุณจะรู้ความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งชนิดต่างๆ แล้ว คุณยังจะได้รู้ความผิดปกติ และความสมบูรณ์ในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายด้วย

ปัจจุบันมีแพ็กเกจตรวจสุขภาพที่น่าสนใจหลากหลายรูปแบบ ไม่ใช่แค่เพื่อการตรวจโรคมะเร็งเท่านั้น ทั้งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายควรมองหาแพ็กเกจ หรือโปรแกรมตรวจสุขภาพที่น่าสนใจ เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองหาโรคร้ายแรงที่อาจซ่อนตัวอยู่ในร่างกายของคุณ เพียงแต่คุณอาจยังไม่ทราบเท่านั้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Reid Health, 9 cancer screening tests women need to know about (https://www.reidhealth.org/blog/9-cancer-screening-tests-women-need-to-know-about), 9 November 2020.
OncoLink Team, General Cancer Screening for Women (https://www.oncolink.org/risk-and-prevention/prevention-screening/general-cancer-screening-for-women), 9 November 2020.
Center for Disease Control and Prevention, What Are the Risk Factors for Ovarian Cancer? (https://www.cdc.gov/cancer/ovarian/basic_info/risk_factors.htm), 22 January 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)