หนึ่งในเรื่องที่หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังไอบีดี หรือย่อว่าโรคไอบีดี (Inflammatory bowel disease หรือ IBD) กังวล คือ ผลของการใช้ยาในการรักษาโรคไอบีดีต่อทารกในครรภ์
ตัวอย่างเช่น ยาเพรดนิโซน (Prednisone) เป็นยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ชนิดสังเคราะห์ ซึ่งเป็นยาที่มักใช้ในการรักษาโรคไอบีดีและมีความเสี่ยงต่อผู้รับประทานได้ โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงที่เป็นโรคไอบีดีและโรคของการอักเสบอื่นๆ จึงมักมีคำถามเกี่ยวกับการใช้ยาเพรดนิโซนระหว่างการตั้งครรภ์
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การรักษาโรคไอบีดีระหว่างการตั้งครรภ์
โดยทั่วไปแล้วมักไม่ควรรับประทานยาใดๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ แต่ยาบางชนิดก็จำเป็นต้องให้ในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเรื้อรังเพื่อสุขภาพของทั้งแม่และเด็ก หากแพทย์แนะนำให้ใช้ยาเพรดนิโซน แสดงว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการใช้ยานั้นน้อยกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดหากไม่ได้ใช้ยา
สำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคไอบีดี ควรเข้าสู่ในช่วงที่โรคสงบหรือสารถควบคุมอาการได้ก่อนเริ่มตั้งครรถ์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอาจตั้งครรภ์โดยที่ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าก็พบว่ามียาหลายตัวที่สามารถเลือกใช้ได้เพื่อควบคุมโรคไอบีดีสำหรับหญิงตั้งครรถ์ โดยเป้าหมายของการรักษาก็คือช่วยลดการอักเสบจากโรคและป้องกันทารกเพื่อให้ตั้งครรภ์ได้ราบรื่นที่สุด
ยาเพรดนิโซนส่งผลต่อทารกได้อย่างไร?
UpToDate คือ แหล่งข้อมูลทางการแพทย์ลำหรับแพทย์และผู้ป่วยเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับผลของยาเพรดนิโซนต่อทารกในครรภ์
"มีการศึกษาบางชิ้นที่เสนอว่า ทารกที่มารดารับประทานยาสเตียรอยด์รูปแบบกินในช่วง 13 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะเกิดปากแหว่งเพดานโหว่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย งานวิจัยอีก 2 ชิ้นพบว่า อาจมีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด และอีก 1 การศึกษาที่พบว่า จะเพิ่มความเสี่ยงของการมีทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่สามารถตัดความน่าจะเป็นของผลที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคประจำตัวเดิมของแม่ที่ต้องแยกคิดกับผลที่เกิดจากการใช้ยา"
แล้วหมายความว่าอย่างไรสำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคไอบีดี?
การใช้ยาเพรดนิโซนระหว่างการตั้งครรภ์มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดปากแหว่งเพดานโหว่ คลอดก่อนกำหนด และน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ได้ แต่พบว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ในผู้หญิงที่เป็นโรคไอบีดีพบว่ามักไม่ทำให้ทารกเกิดความผิดปกติแต่กำเนิด
- ปากแหว่ง : มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในการเกิดปากแหว่งเพดานโหว่ในทารกที่เกิดจากแม่ที่รับประทานยาเพรดนิโซนในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบว่าควมเสี่ยงนี้เกิดขึ้นจากโรคประจำตัวของแม่ที่มีอยู่เดิมมากแค่ไหน
- การคลอดก่อนกำหนด : การศึกษาบางชิ้นพบว่า ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่รับประทานยาเพรดนิโซนมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย มีการศึกษาหนึ่งในผู้หญิงที่เป็นโรค lupus ที่ยังมีอาการและผู้ที่ต้องรับประทานยาเพรดนิโซนมากกว่า 10 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่ามีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การศึกษาชิ้นหนึ่งในคนท้องที่เป็นโรคไอบีดีแสดงว่า ยาที่ใช้ในการรักษาโรค เช่น ยาเพรดนิโซน ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการคลอดก่อนกำหนดอย่างชัดเจน
- น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ : มีหลักฐานบางชิ้นที่แสดงว่า ยาเพรดนิโซนอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่ทารกจะมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม การศึกษาที่แสดงว่าไม่พบผลของการใช้ยารักษาโรคไอบีดีต่อการคลอดก่อนกำหนดยังแสดงว่ายาที่ใช้รักษาโรคไอบีดีไม่มีผลต่อน้ำหนักแรกคลอดแต่อย่างใด
โดยสรุป
หลักฐานในปัจจุบันยังคงสับสนและแสดงว่าความเสี่ยงของการใช้ยาเพรดนิโซนต่อทารกในครรภ์ยังไม่มีข้อมูลอีกมาก อย่างไรก็ตาม การศึกษาส่วนมากแสดงว่าความเสี่ยงค่อนข้างต่ำและไม่มีการศึกษาในผู้หญิงที่เป็นโรคไอบีดีที่พบว่าการใช้ยาเพรดนิโซนจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติแต่กำเนิดใหญ่ๆ ของทารก แต่ก็ยังคงแนะนำให้รับประทานยาเพรดนิโซนเฉพาะในมารดาที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโรคไอบีดี
เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทราบว่าคุณกำลังใช้ยาเพรดนิโซนอยู่ เนื่องจากการหยุดใช้ยาอย่างทันทีอาจเป็นอันตรายได้ หากคุณรู้สึกกังวลคุณสามารถสอบถามแพทย์ การตัดสินใจในการหยุดยาควรเกิดขึ้นจากการปรึกษาระหว่างสูติแพทย์และแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะผู้ที่เชี่ยวชาญด้านโรคไอบีดีและการตั้งครรภ์